backup og meta

นกเขาไม่ขัน อาการ สาเหตุ การรักษา

นกเขาไม่ขัน อาการ สาเหตุ การรักษา

นกเขาไม่ขัน หรืออาการหย่อนสมรรถภาพทางเพศของผู้ชาย มักส่งผลต่อการแข็งตัวของอวัยวะเพศ ภาวะนี้อาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น การสูบบุหรี่ การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ภาวะซึมเศร้า การหย่อนสมรรถภาพทางเพศอาจส่งผลให้ความมั่นใจในตนเองลดลง เกิดความเครียด และบางครั้งอาจนำไปสู่ปัญหาความสัมพันธ์ ดังนั้น หากมีภาวะนกเขาไม่ขันเป็นเวลานาน ควรไปปรึกษาคุณหมอเพื่อรับการตรวจวินิจฉัยและรักษาตามขั้นตอน

[embed-health-tool-bmr]

คำจำกัดความ

นกเขาไม่ขัน คืออะไร 

นกเขาไม่ขัน คือ ภาวะสุขภาพที่อวัยวะเพศชายไม่สามารถแข็งตัวได้ตามปกติ หรือที่เรียกว่า หย่อนสมรรถภาพทางเพศ ซึ่งอาจมีอาการอวัยวะเพศไม่แข็งตัว หรือแข็งตัวไม่นานพอ รวมถึงอาจมีอาการหลั่งเร็วหรือหลั่งช้ากว่าปกติ จนอาจทำให้มีปัญหาทางร่างกายและจิตใจ เช่น ความมั่นใจในตัวเองลดลง มีปัญหาเรื่องชีวิตคู่หรือความสัมพันธ์

นกเขาไม่ขันพบบ่อยแค่ไหน 

อาการนกเขาไม่ขันมักพบได้บ่อยในผู้ชายที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไปแล้ว โดยเฉพาะเมื่ออายุมากกว่า 70 ​​ปี ทั้งนี้ วัยรุ่นก็สามารถมีอาการนกเขาไม่ขันได้เช่นกัน

อาการ

อาการนกเขาไม่ขัน 

นกเขาไม่ขันอาจมีอาการดังนี้ 

อาการที่เกิดขึ้นเมื่อนกเขาไม่ขัน อาจส่งผลต่อสุขภาพจิตใจ ให้ขาดความมั่นใจ เครียด และเกิดความวิตกกังวลได้ 

ควรไปพบคุณหมอเมื่อใด 

หากมีปัญหาเรื่องของอวัยวะเพศแข็งตัวช้าหรือไม่แข็งตัวเลย หลั่งช้าหรือเร็วเกินไป หรือมีปัญหาทางด้านสุขภาพ เช่น โรคเบาหวาน โรคหัวใจ ที่ส่งผลทำให้หย่อนสมรรถภาพทางเพศ ควรไปพบคุณหมอเพื่อเข้ารับการตรวจวินิจฉัยและรักษาอย่างเหมาะสม

สาเหตุ

สาเหตุของนกเขาไม่ขัน

นกเขาไม่ขันอาจเกิดจากสาเหตุดังต่อไปนี้ 

  • สาเหตุทางด้านจิตใจ

สมองมีบทบาทสำคัญในการกระตุ้นให้เกิดอารมณ์ทางเพศ ซึ่งส่งผลให้อวัยวะเพศชายแข็งตัว  แต่ภาวะทางจิตใจบางอย่าง เช่น ความเครียด ความวิตกกังวล ภาวะซึมเศร้า อาจส่งผลต่ออารมณ์ทางเพศ และทำให้นกเขาไม่ขันได้ 

  • สาเหตุทางด้านร่างกาย

ปัญหาสุขภาพดังต่อไปนี้ อาจส่งผลให้นกเขาไม่ขัน 

    • ความผิดปกติของเส้นเลือดในอวัยวะเพศ เมื่อเส้นเลือดแดงที่เข้าไปเลี้ยงอวัยวะเพศอุดตัน อาจทำให้เลือดเข้าไปเลี้ยงอวัยวะเพศได้ไม่เพียงพอ จนอวัยวะเพศไม่แข็งตัวหรือนกเขาไม่ขัน
    • โรคหัวใจ 
    • โรคความดันโลหิตสูง 
    • โรคอ้วน
    • โรคเบาหวาน 
    • โรคพิษสุราเรื้อรัง
    • โรคพาร์กินสัน

ปัจจัยเสี่ยง

ปัจจัยเสี่ยงนกเขาไม่ขัน

ปัจจัยดังต่อไปนี้ อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดภาวะนกเขาไม่ขัน 

  • การสูบบุหรี่ และการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
  • ภาวะน้ำหนักเกินเกณฑ์มาตรฐาน รวมถึงขาดการออกกำลังกาย
  • ผลข้างเคียงจากการรับประทานยาบางชนิด เช่น ยาแก้แพ้ ยาลดความดันโลหิต ยากล่อมประสาท
  • สภาพจิตใจ เช่น ความเครียด ความวิตกกังวล ก็อาจส่งผลทำให้นกเขาไม่ขัน 
  • การผ่าตัดต่อมลูกหมาก หรือการฉายรังสีรักษามะเร็ง

การวินิจฉัยและการรักษาโรค

ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษาคุณหมอทุกครั้งเพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

การวินิจฉัยนกเขาไม่ขัน 

คุณหมออาจวินิจฉัยภาวะนกเขาไม่ขันด้วยการซักประวัติเกี่ยวกับพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน โรคประจำตัว ยาที่รับประทาน เป็นต้น ร่วมกับการตรวจสุขภาพขั้นพื้นฐาน เช่น วัดความดันโลหิต การตรวจเลือดเพื่อวิเคราะห์จำนวนเม็ดเลือด ระดับน้ำตาลและคอเลสเตอรอลในเลือด รวมถึงการตรวจอวัยวะเพศเพื่อหาสาเหตุของอาการนกเขาไม่ขัน ทั้งนี้ หากผู้ป่วยปัสสาวะบ่อย คุณหมออาจจะทำการตรวจต่อมลูกหมากร่วมด้วย 

การรักษานกเขาไม่ขัน 

การรักษานกเขาไม่ขันขึ้นอยู่กับสาเหตุ โดยอาจรักษาได้ด้วยวิธีดังต่อไปนี้ 

  • การรับประทานยา คุณหมออาจให้รับประทานยาในกลุ่ม PDE-5 Inhibitor เช่น ยาซิลเดนาฟิล (Sildenafil) ยาวาร์เดนาฟิล (Vardenafil) ยาทาดาลาฟิล (Tadalafil) ซึ่งอาจช่วยปรับปรุงการไหลเวียนของเลือดไปยังอวัยวะเพศ ทำให้อวัยวะเพศตื่นตัว ทั้งนี้ ไม่ควรรับประทานยากลุ่มนี้เกิน 1 ครั้ง และการรับประทานยาดังกล่าวอาจก่อให้เกิดผลข้างเคียง เช่น มีอาการร้อนวูบวาบ ปวดศีรษะ การมองเห็นเปลี่ยนแปลง ปวดหลัง ท้องไส้ปั่นป่วน
  • การฉีดยา โดยฉีดยาเข้าไปในอวัยวะเพศโดยตรง อาจช่วยทำให้เลือดไหลเวียนไปเลี้ยงอวัยวะเพศได้ดีขึ้น ซึ่งอาจส่งผลให้อวัยวะเพศแข็งตัว 
  • การใช้กระบอกสุญญากาศ (Vacuum Device) โดยการสอดอวัยวะเพศเข้าไปในกระบอกแล้วสูบอากาศออกจากกระบอก วิธีนี้อาจช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของเลือดที่บริเวณอวัยวะเพศ และช่วยให้อวัยวะเพศแข็งตัว
  • การบำบัดรักษาภาวะทางจิตใจ โดยการบำบัดอาจช่วยให้คู่รักปรับตัวเข้าหากันและทำความเข้าใจกันมากขึ้น 
  • การใส่แกนองคชาตเทียม มักใช้ในกรณีที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาภาวะนกเขาไม่ขันด้วยวิธีอื่น โดยคุณหมอจะผ่าตัดใส่แกนองคชาตเทียมเข้าไปซึ่งอาจช่วยให้อวัยวะเพศแข็งตัวและขยายขนาดได้ตามต้องการ

การปรับไลฟ์สไตล์และการดูแลตัวเอง

การปรับไลฟ์สไตล์และการดูแลตัวเอง

การปรับไลฟ์สไตล์และการดูแลตัวเองด้วยวิธีป้องกันดังต่อไปนี้ อาจช่วยป้องกันไม่ให้เกิดภาวะนกเขาไม่ขันได้ 

  • ตรวจเช็คสุขภาพร่างกายเป็นประจำอย่างน้อย 1-2 ปีครั้ง  
  • ออกกำลังกาย เช่น วิ่ง แอโรบิก เป็นประจำอย่างน้อย 30-45 นาที/วัน หรือ 150 นาที/สัปดาห์ และหลีกเลี่ยงการปั่นจักรยาน เพราะอาจทำให้อวัยวะเพศชายกระทบกระเทือน หรือเสี่ยงเกิดอุบัติเหตุที่ส่งผลให้นกเขาไม่ขันได้ 
  • หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่และการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 
  • หลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่ทำให้เครียดหรือความวิตกกังวล

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Erectile dysfunction. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/erectile-dysfunction/symptoms-causes/syc-20355776. Accessed July 17, 2023.

Erectile dysfunction (impotence). https://www.nhs.uk/conditions/erection-problems-erectile-dysfunction/. Accessed July 17, 2023.

A Visual Guide to Erectile Dysfunction. https://www.webmd.com/erectile-dysfunction/ss/erectile-dysfunction. Accessed July 17, 2023.

Erectile Dysfunction (ED). https://www.niddk.nih.gov/health-information/urologic-diseases/erectile-dysfunction/all-content. Accessed July 17, 2023.

What is Erectile Dysfunction?. https://www.urologyhealth.org/urology-a-z/e/erectile-dysfunction-(ed). Accessed July 17, 2023.

เวอร์ชันปัจจุบัน

17/07/2023

เขียนโดย ทีม Hello คุณหมอ

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย Duangkamon Junnet

อัปเดตโดย: Duangkamon Junnet


บทความที่เกี่ยวข้อง

เสริมสร้างสมรรถภาพทางเพศชาย ทำได้อย่างไรบ้าง

เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ เกิดจากอะไรได้บ้าง


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

Duangkamon Junnet


เขียนโดย ทีม Hello คุณหมอ · แก้ไขล่าสุด 17/07/2023

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา