backup og meta

ปัญหาสุขภาพทางเพศ ที่พบบ่อยในผู้หญิง และวิธีรับมือที่ควรทราบ

ปัญหาสุขภาพทางเพศ ที่พบบ่อยในผู้หญิง และวิธีรับมือที่ควรทราบ

ปัญหาสุขภาพทางเพศ ที่พบได้บ่อยในผู้หญิง อาจมีทั้งโรคมะเร็งปากมดลูก โรคมะเร็งเต้านม เนื้องอกในมดลูก รวมไปถึงปัญหาเกี่ยวกับการมีประจำเดือนและการตั้งครรภ์ การทำความเข้าใจเกี่ยวกับปัญหาสุขภาพต่าง ๆ ที่พบได้บ่อยเหล่านี้ อาจช่วยให้สามารถรับมือกับโรคได้อย่างเหมาะสม

[embed-health-tool-ovulation]

ปัญหาสุขภาพทางเพศ ที่พบบ่อยในผู้หญิง

ปัญหาสุขภาพทางเพศหญิงที่สามารถพบเจอได้บ่อย และสามารถสร้างความวิตกกังวลให้สาว ๆ ได้ มีดังต่อไปนี้

  • โรคมะเร็ง โดยมะเร็งที่พบบ่อยที่สุด 2 ชนิดในเพศหญิง ได้แก่ มะเร็งเต้านม และมะเร็งปากมดลูก
  • เนื้องอกในมดลูก เนื้องอกที่พบได้บ่อยในผู้หญิงวัยเจริญพันธุ์
  • สุขภาพของคุณแม่ เป็นปัญหาที่พบในช่วงเวลาผู้หญิงตั้งครรภ์ และคลอดบุตร บางคนอาจมีโรคแทรกซ้อนระหว่างการตั้งครรภ์ด้วย สามารถคำนวณการตกไข่ได้ ที่นี่
  • การติดเชื้อเอชไอวี (Human immunodeficiency virus หรือ HIV) กลุ่มอาการของโรคที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสเอชไอวี เกิดขึ้นเมื่อระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายถูกเชื้อไวรัสทำลายจนร่างกายไม่สามารถต่อสู้กับเชื้อโรคทั้งหลายที่เข้าสู่ร่างกายได้
  • การติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ เช่น โรคหนองใน หนองในเทียม ซิฟิลิส
  • สุขภาพจิต ผู้หญิงมีแนวโน้มที่จะเกิดปัญหาสุขภาพจิต เช่น มีความวิตกกังวล ซึมเศร้า มากกว่าผู้ชาย ซึ่งปัญหาสุขภาพจิตเหล่านี้สามารถส่งผลต่อสุขภาพกายได้ด้วย ส่วนใหญ่แล้วแพทย์จะรักษาด้วยการใช้ยา รวมไปถึงการบำบัดจิต

ปัญหาสุขภาพทางเพศ หรือสุขภาพการเจริญพันธุ์ 

สุขภาพทางเพศ หรือสุขภาพการเจริญพันธุ์ หมายถึงสภาวะของระบบสืบพันธุ์เพศชาย และเพศหญิงในทุกช่วงอายุ โดยปัญหาสุขภาพเพศหญิง ที่พบได้บ่อย ได้แก่

  • ภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ เนื่องจากรังไข่ผลิตฮอร์โมนเพศชายมากกว่าปกติ
  • ภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่
  • ปัญหาประจำเดือน เป็นปัญหาของสาว ๆ หลายคนที่สามารถพบเจอ
  • ภาวะมีบุตรยาก หมายถึงไม่สามารถตั้งครรภ์ได้หลังจากพยายามมาแล้วเกินปี มักพบในผู้หญิงอายุ 35 ปีขึ้นไป
  • วัยหมดประจำเดือน เกิดขึ้นเพราะรังไข่ของผู้หญิงหยุดผลิตฮอร์โมนเอสโตรเจน และโปรเจสเตอโรน

การดูแลสุขภาพการเจริญพันธุ์

คุณผู้หญิงสามารถดูแลสุขภาพทางเพศของตัวเองให้ดีได้ ด้วยเคล็ดลับดังต่อไปนี้

  • เลิกสูบบุหรี่ เนื่องจากบุหรี่หนึ่งมวนมีองค์ประกอบที่เป็นพิษนับไม่ถ้วน และการสูบบุหรี่ระหว่างตั้งครรภ์อาจส่งผลให้เกิดอาการแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์ และทำให้ทารกในครรภ์มีความผิดปกติแต่กำเนิดได้
  • ตรวจร่างกายเป็นประจำ แนะนำให้เข้ารับการตรวจคัดกรองเป็นประจำ โดยเฉพาะการตรวจแปปสเมียร์ (Pap Smear) การตรวจหาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
  • มีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัย โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์บางอย่างไม่สามารถรักษาได้ รวมถึงการติดเชื้อเอชไอวีด้วย โรคเหล่านี้หากเป็นแล้ว อาจทำให้ชีวิตของคุณเปลี่ยนแปลงไปจนคุณตั้งรับไม่ทัน วิธีลดความเสี่ยงที่คุณทำได้ง่าย ๆ ก็คือ ให้คู่ของคุณเข้ารับการตรวจหาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ก่อนมีเพศสัมพันธ์ ใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์ เป็นต้น
  • หลีกเลี่ยงการยกของหนัก เนื่องจากการยกของหนัก มีความสัมพันธ์บางอย่างที่เชื่อมระหว่างไข่กับรังไข่ ทำให้การเจริญพันธ์ลดลง
  • ไม่สัมผัสกับสารเคมี นักวิจัยพบว่า ผู้หญิงที่มีระดับสารเคมีบางอย่างในปัสสาวะสูง มีระดับเซลล์รังไข่ที่จำเป็นสำหรับการสืบพันธุ์น้อยลง ทำให้ตั้งครรภ์ได้ยากขึ้น
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ เช่น รับประทานผักและผลไม้ให้หลากหลาย หลีกเลี่ยงอาหารจำพวกเนื้อแดง ดื่มน้ำเปล่าให้เพียงพอ

ปัญหาสุขภาพเพศหญิง บางครั้งอาจหลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่เราก็สามารถลดความเสี่ยงได้ด้วยการดูแลสุขภาพให้ดี เข้ารับการตรวจสุขภาพเป็นประจำ และหากรู้สึกถึงความผิดปกติในร่างกาย ควรเข้าพบคุณหมอทันที

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Gynecological Problems and Conditions. https://www.northshore.org/obstetrics-gynecology/conditions/. Accessed June 30, 2021

Reproductive Health. https://www.niehs.nih.gov/health/topics/conditions/repro-health/index.cfm. Accessed June 30, 2021

Ten top issues for women’s health. https://www.who.int/news-room/commentaries/detail/ten-top-issues-for-women’s-health. Accessed June 30, 2021

Health Issues Specific to Women’s Health. https://online.regiscollege.edu/blog/health-issues-specific-womens-health/. Accessed June 30, 2021

Women’s Reproductive Health. https://www.cdc.gov/reproductivehealth/womensrh/index.htm. Accessed June 30, 2021

Women’s Top 5 Health Concerns. https://www.webmd.com/women/features/5-top-female-health-concern. Accessed June 30, 2021

The Expert Guide To Taking Care Of Your Reproductive Health. https://www.femina.in/wellness/gynaec/the-expert-guide-to-taking-care-of-your-reproductive-health-185242.html. Accessed June 30, 2021

เวอร์ชันปัจจุบัน

30/09/2022

เขียนโดย นนทกร บัณฑิตสินทรัพย์

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย พลอย วงษ์วิไล

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

ความบกพร่องทางเพศของผู้ชาย กับปัจจัยเสี่ยงที่ควรระวัง

เนื้องอกมดลูก มีสัญญาณเตือนหรือไม่ ควรสังเกตตัวเองอย่างไร


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

พลอย วงษ์วิไล


เขียนโดย นนทกร บัณฑิตสินทรัพย์ · แก้ไขล่าสุด 30/09/2022

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา