backup og meta

หลั่งใน แล้ว กินยาคุมฉุกเฉินแบบเม็ดเดียว ป้องกันการตั้งครรภ์ได้หรือไม่

หลั่งใน แล้ว กินยาคุมฉุกเฉินแบบเม็ดเดียว ป้องกันการตั้งครรภ์ได้หรือไม่

สำหรับผู้ที่หลั่งในโดยไม่ตั้งใจหรือถุงยางอนามัยแตกขณะมีเพศสัมพันธ์ อาจมีคำถามว่า หลั่งใน แล้ว กินยาคุมฉุกเฉินแบบเม็ดเดียว สามารถป้องกันการตั้งครรภ์ได้หรือไม่ โดยปกติหากกินยาคุมฉุกเฉินทันที หรือภายใน 72 ชั่วโมงหลังมีเพศสัมพันธ์ อาจช่วยป้องกันการตั้งครรภ์ได้ประมาณ 75-89% อย่างไรก็ตาม ควรสวมใส่ถุงยางอนามัยขณะมีเพศสัมพันธ์เสมอ เพราะยาคุมฉุกเฉินไม่สามารถป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้

[embed-health-tool-vaccination-tool]

หลั่งในเสี่ยงตั้งครรภ์หรือไม่

การหลั่งน้ำอสุจิในช่องคลอดอาจทำให้ตั้งครรภ์ได้ เนื่องจากการมีเพศสัมพันธ์ระหว่างหญิงชายด้วยวิธีการสอดใส่อวัยวะเพศเข้าไปในช่องคลอดพร้อมกับการหลั่งน้ำอสุจิ เป็นวิธีการส่งอสุจิเข้าไปในมดลูกเพื่อเดินทางไปผสมกับไข่ได้อย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะการหลั่งในในช่วงเวลาตกไข่และไม่ป้องกันด้วยวิธีการคุมกำเนิด เช่น ถุงยางอนามัย ยาคุมกำเนิด ก็จะยิ่งเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์มากขึ้นตามไปด้วย

หลั่งใน แล้ว กินยาคุมฉุกเฉินแบบเม็ดเดียว ป้องกันการตั้งครรภ์ได้หรือไม่

สำหรับผู้ที่มีเพศสัมพันธ์แล้วหลั่งในโดยไม่ตั้งใจหรือถุงยางอนามัยแตก อาจป้องกันการตั้งครรภ์ได้ด้วยการกินยาคุมฉุกเฉิน ซึ่งในปัจจุบันมีทั้งแบบ 2 เม็ด และ 1 เม็ด ดังนี้

  • ยาคุมฉุกเฉินแบบ 2 เม็ด ขนาดเม็ดละ 0.75 มิลลิกรัม ให้กินทันทีหลังมีเพศสัมพันธ์ หรือภายใน 72 ชั่วโมง 1 เม็ด จากนั้นเว้นไป 12 ชั่วโมง และกินต่ออีก 1 เม็ด
  • ยาคุมฉุกเฉินแบบ 1 เม็ด ขนาด 1.5 มิลลิกรัม ให้กินทันทีหลังมีเพศสัมพันธ์ หรือภายใน 72 ชั่วโมง

ยาคุมฉุกเฉินทั้ง 2 แบบ อาจคุมกำเนิดได้ประมาณ 75-89% หากกินยาคุมอย่างถูกวิธี แต่บางคนยังอาจมีข้อสงสัยว่า หากหลั่งในแล้วกินยาคุมฉุกเฉินแบบเม็ดเดียวจะป้องกันการตั้งครรภ์ได้ไหม โดยปกติอาจช่วยป้องกันได้เมื่อกินยาคุมฉุกเฉินแบบเม็ดเดียวทันทีหลังมีเพศสัมพันธ์ หรือภายใน 72 ชั่วโมง

อย่างไรก็ตาม ยาคุมฉุกเฉินไม่สามารถป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้ ดังนั้น เมื่อมีเพศสัมพันธ์ควรสวมใส่ถุงยางอนามัยทุกครั้งเพื่อป้องกันโรคติดต่อ

ข้อควรระวังของยาคุมฉุกเฉินแบบเม็ดเดียว

บางกรณีหากกินยาคุมฉุกเฉินไปแล้ว แต่มีเพศสัมพันธ์และเผลอหลั่งในอีกครั้ง ควรกินยาคุมฉุกเฉินซ้ำอีกครั้งด้วย เนื่องจากการกินยาคุมฉุกเฉินครั้งก่อนเป็นการชะลอหรือหยุดการตกไข่ในขณะนั้น ซึ่งเวลาต่อมาอาจเกิดการตกไข่ขึ้นอีกครั้งได้เช่นกัน จึงควรกินยาคุมฉุกเฉินอีกครั้งเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ แต่อาจเพิ่มความเสี่ยงของอาการข้างเคียง เช่น คลื่นไส้ อาเจียน เจ็บเต้านม เลือดประจำเดือนมาผิดปกติ มีเลือดออกผิดปกติ

นอกจากนี้ บางคนอาจมีอาการแพ้ยาคุม หากพบอาการต่อไปนี้ควรเข้าพบคุณหมอทันที

  • หายใจลำบาก
  • ผื่น
  • คันและบวม โดยเฉพาะที่ลิ้น ใบหน้า ลำคอ
  • วิงเวียนศีรษะอย่างรุนแรง

ผู้ที่กินยาคุมฉุกเฉินประจำเดือนรอบถัดไปอาจมาช้าหรือเร็วกว่าปกติ มามากหรือน้อยกว่าปกติ แต่หากประจำเดือนมาช้ากว่าปกติเกิน 7 วัน ควรเข้าพบคุณหมอเพื่อตรวจการตั้งครรภ์

รวมทั้งระหว่างตั้งครรภ์หรือให้นมบุตรไม่ควรกินยาคุมฉุกเฉินทุกชนิด เพื่อป้องกันผลกระทบต่อทารกในครรภ์และทารกที่กินนมแม่

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

คือสมมติว่าวันนี้มีอะไรกับแฟนแล้วทานยาคุมฉุกเฉินไป วันต่อมาก็มีอะไรกับแฟนอีก อยากทราบว่าต้องทานยาคุมฉุกเฉินอีกมั้ยคะ? แล้วถ้าไม่ทานอีก จะท้องไหมคะ?. https://pharmacy.mahidol.ac.th/dic/qa_full.php?id=4303. Accessed February 13, 2023

Emergency contraception (morning after pill, IUD). https://www.nhs.uk/conditions/contraception/emergency-contraception/. Accessed February 13, 2023

Levonorgestrel Emergency Contraception: Plan B. https://www.webmd.com/sex/birth-control/plan-b. Accessed February 13, 2023

Morning-after pill. https://www.mayoclinic.org/tests-procedures/morning-after-pill/about/pac-20394730#:~:text=Plan%20B%20One%2DStep%20is,from%20implanting%20in%20the%20uterus. Accessed February 13, 2023

Birth Control Myths. https://www.webmd.com/sex/birth-control/birth-control-contraceptive-myths. Accessed February 13, 2023

เวอร์ชันปัจจุบัน

22/03/2024

เขียนโดย ทัตพร อิสสรโชติ

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย แพทย์หญิงนันทิวดี มาเมือง

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

ถึงจุดสุดยอดแต่ไม่หลั่ง เป็นเพราะอะไร อันตรายหรือไม่

หลั่งน้ำอสุจิน้อย ปัญหาสุขภาพ ที่ทำให้ผู้ชายหมดความมั่นใจ


ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

แพทย์หญิงนันทิวดี มาเมือง

สูตินรีเวชวิทยา · โรงพยาบาลสุขุมวิท


เขียนโดย ทัตพร อิสสรโชติ · แก้ไขล่าสุด 22/03/2024

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา