backup og meta

ไข่ไม่ตก เกิดจาก อะไร และรักษาได้อย่างไร

ไข่ไม่ตก เกิดจาก อะไร และรักษาได้อย่างไร

ไข่ไม่ตก เกิดจากปัญหาสุขภาพต่าง ๆ เช่น ความผิดปกติทางพันธุกรรม การติดเชื้อในอุ้งเชิงกราน ระบบภูมิคุ้มกันทำงานผิดปกติ รวมถึงอาจเป็นผลมาจากความเสื่อมสภาพตามอายุที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้มีการตกไข่น้อยลง และอาจทำให้เกิดภาวะมีบุตรยาก ดังนั้น จึงควรพบคุณหมอเพื่อรับการรักษาอย่างเหมาะสม

[embed-health-tool-ovulation]

ปกติผู้หญิงควรมี จำนวนไข่ในรังไข่ มากน้อยแค่ไหน

ไข่ไม่ตก เกิดจาก ปัญหาสุขภาพ ที่สามารถเกิดขึ้นได้กับผู้หญิงทุกวัย เริ่มตั้งแต่ตอนที่ยังอยู่ในครรภ์ของมารดา รายงานของสมาคมสูตินรีแพทย์ของประเทศสหรัฐอเมริกา (American College of Obstetricians and Gynecologists) ระบุปริมาณไข่ในรังไข่ของผู้หญิงแต่ละช่วงอายุไว้ ดังต่อไปนี้

  • ทารกในครรภ์อายุ 20 สัปดาห์ มีปริมาณไข่จำนวน 6-7 ล้านฟอง
  • วัยทารกแรกเกิด มีปริมาณไข่จำนวน 1-2 ล้านฟอง
  • วัยแรกรุ่น มีปริมาณไข่จำนวน 3-5 แสนฟอง
  • วัยกลางคนที่อยู่ในช่วงอายุ 37 ปี มีปริมาณไข่จำนวน 25,000 ฟอง
  • ผู้ใหญ่ที่มีอายุตั้งแต่ 51 ปีขึ้นไป มีปริมาณไข่จำนวน 1,000 ฟอง โดยเป็นช่วงอายุเฉลี่ยแล้วอยู่ในวัยหมดประจำเดือน

เบื้องต้น อาจสังเกตสัญญาณของภาวะตกไข่น้อยลงด้วยตัวเอง เช่น ประจำเดือนผิดปกติ ประจำเดือนมักมาล่าช้า ประจำเดือนมามากกว่าปกติ มีปัญหาในการตั้งครรภ์ หรือแท้งบุตรบ่อย อย่างไรก็ตาม อาการดังกล่าวอาจไม่เกิดขึ้นเสมอไป ฉะนั้น หากมีอาการข้างต้น ก็อย่าเพิ่งกังวลใจไป เราแนะนำให้เข้ารับการตรวจสุขภาพอย่างละเอียดจากคุณหมออีกครั้งจะดีที่สุด

ไข่ไม่ตก เกิดจาก อะไร

นอกจากเรื่องของช่วงอายุ และการเสื่อมสภาพตามวัยแล้ว ไข่ไม่ตก ยังอาจ เกิดจาก สาเหตุอื่น ๆ ดังต่อไปนี้ 

  • การสูบบุหรี่
  • มีประวัติการรักษาด้วยรังสี เคมีบำบัด และการผ่าตัดที่เกี่ยวข้องกับรังไข่
  • โรคที่เชื่อมโยงกับท่อนำไข่
  • ติดเชื้อในอุ้งเชิงกราน
  • ความผิดปกติทางพันธุกรรม
  • ภูมิต้านทานทำงานผิดปกติ

แน่นอนว่า เมื่อปริมาณไข่ในรังไข่ลดลงอาจทำให้ไม่สามารถตั้งครรภ์ได้ตามธรรมชาติ แต่หากต้องการมีลูกจริง ๆ สามารถเข้าขอคำปรึกษาจากคุณหมอ เพื่อวางแผน หรือหาเทคนิคที่เหมาะสมในการที่จะช่วยให้มีบุตรง่ายขึ้นได้ เช่น การใช้ไข่บริจาค

วิธีรักษา ไข่ไม่ตก

การที่จำนวนไข่ลดลง ไม่ได้แปลว่าจะตั้งครรภ์ไม่ได้เสมอไป เพียงแต่ว่าอาจต้องใช้ระยะเวลานานกว่าปกติเท่านั้น หากอยากเพิ่มปริมาณไข่ในรังไข่ อาจจำเป็นต้องเข้ารับคำปรึกษา หรือเข้ารับการรักษาจากคุณหมอเสียก่อน เพื่อให้คุณหมอวิเคราะห์สาเหตุที่แน่ชัด และวางแบบแผนวิธีเพิ่มปริมาณไข่ได้ด้วยวิธีต่าง ๆ ดังนี้

1. ให้อาหารเสริม DHEA

ในปีพ.ศ. 2547 Dr. Norbert Gleicher ได้เริ่มใช้ ดีไฮโดรอีพิแอนโดรสเตอโรน (Dehydroepiandrosterone หรือ DHEA) ในการรักษาปัญหาด้านการเจริญพันธุ์ พร้อมเพิ่มปริมาณไข่ด้วยการปรับปรุงสภาพแวดล้อมภายในรังไข่ให้ดียิ่งขึ้น อีกทั้งยังมีการเพิ่มระดับแอนโดรเจน (Androgens) ในรังไข่ด้วย ซึ่งวิธีเหล่านี้ส่งผลดีต่อการกระตุ้นการตกไข่เป็นอย่างมาก

2. เพิ่มคุณภาพไข่ด้วยโคเอ็นไซม์ คิวเท็น (Coenzyme Q10)

โคเอ็นไซม์ คิวเท็น เป็นอีกหนึ่งสารอาหารสำคัญที่ช่วยในด้านการเจริญพันธุ์ โดยส่งผลเชื่อมโยงกับไมโทคอนเดรียน (Mitochondria) ที่เป็นออร์แกเนลล์ (Organelles) หรือโครงสร้างเซลล์ขนาดเล็กที่ช่วยในการเพิ่มพลังงานส่วนต่าง ๆ ทั้งร่างกาย ป้องกันไม่ให้ไข่เสื่อมคุณภาพจากอายุที่มากขึ้น

3. การทำเด็กในหลอดแก้ว

วิธีนี้อาจเหมาะสมกับผู้ที่อยู่ในอายุ 40 ปีขึ้นไป เนื่องจากจำนวนไข่ในรังไข่น้อยลงกว่าเดิม ทำให้การมีบุตรในช่วงอายุเยอะนั้นอยู่ในระดับที่ยากขึ้นตามไปด้วย โดยคุณหมออาจนำไข่ที่มีสภาพไม่สมบูรณจากในรังไข่ออกมารอการผสมเทียมด้านนอกตามกระบวนการเฉพาะทางในห้องปฏิบัติการ เพื่อทำให้ไข่มีคุณภาพดีขึ้น พร้อมสำหรับการผสมเทียม หรือทำเด็กหลอดแก้ว

หากมีข้อสงสัยใด ๆ เพิ่มเติมเกี่ยวกับภาวะตกไข่น้อยลง จนส่งผลให้มีบุตรยาก สามารถเข้ารับคำปรึกษา หรือเข้ารับการตรวจร่างกายอย่างละเอียดที่โรงพยาบาลใกล้บ้านได้ทันที และคุณหมออาจแนะนำเคล็ดลับอื่น ๆ ที่อาจช่วยทำให้มีลูกง่ายขึ้นอย่างปลอดภัยและเหมาะสมย่างมีความสุขในอนาคต

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Diminished Ovarian Reserve. https://hospitals.jefferson.edu/diseases-and-conditions/diminished-ovarian-reserve.html. Accessed March 29, 2021.

What Is Diminishing Ovarian Reserve?. https://www.webmd.com/infertility-and-reproduction/what-is-diminishing-ovarian-reserve. Accessed September 29, 2022.

What is diminished ovarian reserve?. https://fertility.womenandinfants.org/services/women/diminished-ovarian-reserve. Accessed September 29, 2022.

Diminished ovarian reserve, premature ovarian failure, poor ovarian responder—a plea for universal definitions. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC4681731/. Accessed September 29, 2022.

Recent progress in the treatment of women with diminished ovarian reserve. https://www.sciencedirect.com/science/article/pii/S266716462100052X. Accessed September 29, 2022.

เวอร์ชันปัจจุบัน

30/09/2022

เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย พลอย วงษ์วิไล

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

ความบกพร่องทางเพศของผู้ชาย กับปัจจัยเสี่ยงที่ควรระวัง

หลอดเลือดดำอัณฑะขอด คืออะไร


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

พลอย วงษ์วิไล


เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 30/09/2022

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา