backup og meta

มลพิษทางอากาศ สาเหตุของผมร่วง ศีรษะล้าน

มลพิษทางอากาศ สาเหตุของผมร่วง ศีรษะล้าน

มลพิษทางอากาศ นอกจากส่งผลกระทบต่อสุขภาพ ยังอาจส่งผลกระทบต่อผิว เส้นผม เนื่องจากมลพิษทางอากาศมีอนุภาคขนาดเล็กที่อาจเข้าไปทำลายความสมดุลของหนังศีรษะและเส้นผม ส่งผลให้เส้นผมเปราะบาง ขาดง่าย หากสังเกตว่าตนเองมีผมร่วงจำนวนมากอยู่ตามพื้นผิวต่าง ๆ เช่น ที่นอน พื้นบ้าน หมอน สามารถเข้ารับการตรวจสุขภาพผมและสุขภาพร่างกายได้จากคุณหมอ

[embed-health-tool-bmi]

ศีรษะล้าน คืออะไร

ศีรษะล้าน คือ ปัญหาสุขภาพหนังศีรษะและเส้นผม โดยเกิดจากผมที่หลุดร่วงจำนวนมาก ซึ่งร่างกายไม่อาจผลิตเส้นผมขึ้นมาใหม่ได้ทันทดแทนเส้นผมเดิม ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่อาจเกิดจากการได้รับยีนที่ส่งผ่านทางพันธุกรรมของคนในครอบครัวที่มีประวัติศีรษะล้าน การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน ภูมิคุ้มกันอ่อนแอ เป็นต้น อาการของศีรษะล้านอาจสังเกตได้จาก ผมร่วงเป็นหย่อมจุดใดจุดหนึ่งของหนังศีรษะ ผมร่วงเป็นวงกลม ผมร่วงเฉพาะด้านบนหนังศีรษะ บางคนอาจมีอาการบวมแดงหรือมีสะเก็ดบนหนังศีรษะที่เป็นสัญญาณเตือนของหนังศีรษะอักเสบ

จากข้อมูลของ American Hair Loss Association ชี้ให้เห็นว่า ปัญหาผมร่วงส่งผลกระทบต่อผู้ชาย 2 ใน 3 ของผู้ที่อายุต่ำกว่า 35 ปี นอกจากนี้ผู้ชายเกือบ 85% สูญเสียผมจำนวนมากหลังจากอายุ 50 ปี ส่วนในผู้หญิงก็ประสบปัญหาหัวล้านได้เช่นกัน ซึ่งภาวะที่เกิดขึ้นเรียกว่า ภาวะผมร่วงแบบแอนโดรเจน ซึ่งเกิดขึ้นในผู้หญิงประมาณ 30 ล้านคน รวมถึงผู้ชายอีก 50 ล้านคน ในสหรัฐอเมริกา

ทำไม มลพิษทางอากาศ จึงทำให้ศีรษะล้าน

มลพิษทางอากาศอย่างฝุ่นควัน อาจสามารถลดระดับโปรตีนในเส้นผมที่มีส่วนกระตุ้นการเจริญเติบโตของเส้นผม จึงอาจส่งผลทำให้ศีรษะล้าน นอกจากนี้ อนุภาคพิเศษขนาดเล็กยังอาจทำลายกระบวนการทางเคมีภายในเซลล์ที่ส่งเสริมการเจริญเติบโตของเส้นผม สิ่งเหล่านี้อาจนำไปสู่ผมร่วง ศีรษะล้าน

ขนาดของอนุภาคของฝุ่นที่สามารถแทรกซึมเข้าสู่เส้นผมและทำลายเส้นผม คือ PM 2.5 ซึ่งเป็นอนุภาคที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางเพียง 2.5 ไมโครเมตร ซึ่งละเอียดกว่าเส้นผมจึงส่งผลให้ฝุ่นที่มีขนาดอนุภาคนี้ซึมเข้าสู่เส้นผมได้ง่าย นอกจากนี้ฝุ่นที่มีขนาด PM 10 ไมโครเมตรก็อาจสามารถทำให้ผมร่วงศีรษะล้านได้เช่นเดียวกัน เนื่องจาก PM 10 จะเข้าไปขัดขวางการเจริญเติบโตของเส้นผม

วิธีป้องกันไม่ให้ผมร่วงศีรษะล้าน

วิธีป้องกันไม่ให้ผมร่วง ศีรษะล้านจากมลพิษทางอากาศ อาจได้แก่

  1. รับประทานอาหารที่มีผัก โปรตีน ผลิตภัณฑ์นมที่มีไขมันต่ำ เช่น ถั่ว ไข่ ปลา อาหารเมดิเตอร์เรเนียน เพราะอาจช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดผมร่วง
  2. หวีผมอย่างเบามือ หรือหลีกเลี่ยงการมัดผมแน่นตึง เพื่อป้องกันการดึงรั้งของเส้นผม ซึ่งอาจทำให้ผมร่วงได้ง่าย
  3. ปกป้องเส้นผมจากแสงแดดหรือความร้อนจากเครื่องม้วนผม เครื่องหนีบผม เพราะอาจทำให้ผมแห้งเสียและขาดหลุดร่วง
  4. เลือกผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสมความอ่อนโยนกับเส้นผมและหนังศีรษะ
  5. การสระผมทุกวันอาจป้องกันการหลุดร่วงของเส้นผมได้ เนื่องจากเป็นการทำให้หนังศีรษะแข็งแรงและสะอาด
  6. หลีกเลี่ยงการทำเคมี เช่น การย้อมสีผม เพราะเป็นการทำลายเส้นผม หรืออาจสอบถามช่างทำผมก่อนย้อมว่ามียาย้อมสีผมแบบออร์แกนิคหรือไม่
  7. อาหารที่มีผักสดและสมุนไพรสด เช่น อาหารเมดิเตอร์เรเนียน อาจลดความเสี่ยงของผมร่วงแอนโดรเจน ซึ่งอาจเป็นสาเหตุในการเกิดศีรษะล้านในผู้หญิงหรือผู้เพศชาย ทั้งยังอาจทำให้อาการผมร่วงเกิดช้าขึ้น
  8. วิตามินเอ ประกอบไปด้วยเรตินอยด์ ซึ่งมีส่วนช่วยในการเพิ่มอัตราการเจริญเติบโตของเส้นผม นอกจากนี้ ยังอาจช่วยในการผลิตความมัน ทำให้หนังศีรษะมีสุขภาพดี และอาจรักษาเส้นผมได้มากขึ้น
  9. ไบโอติน มีส่วนเกี่ยวข้องในการสังเคราะห์กรดไขมันในร่างกาย ซึ่งกระบวนการนี้มีความสำคัญต่อวงจรชีวิตของเส้นผม
  10. โสม มีสารไฟโตเคมิคอลบางชนิด ที่อาจช่วยให้การเจริญเติบโตของเส้นผมบนหนังศีรษะ
  11. น้ำมันมะพร้าว อาจช่วยป้องกันความเสียหายของเส้นผมจากการจัดแต่งทรงผม และรังสีอัลตราไวโอเลต (UV)
  12. น้ำมันมะกอก อาจช่วยทำให้ผมที่มีความแห้งกร้านดีขึ้น ทั้งยังช่วยป้องกันการแตกหักของเส้นผมได้

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Air Pollution. https://medlineplus.gov/airpollution.html. Accessed November 08, 2019

Understanding Hair Loss – Prevention.https://www.webmd.com/skin-problems-and-treatments/hair-loss/understanding-hair-loss-prevention.Accessed November 08, 2019

Hair loss. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/hair-loss/symptoms-causes/syc-20372926.Accessed November 08, 2019

Hair loss. https://www.nhs.uk/conditions/hair-loss/.Accessed November 08, 2019

HAIR LOSS: WHO GETS AND CAUSES. https://www.aad.org/public/diseases/hair-loss/causes/18-causes. Accessed May 16, 2022

 

เวอร์ชันปัจจุบัน

30/03/2023

เขียนโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย แพทย์หญิงภัทรีวัลย์ โรจนพันธุ์

อัปเดตโดย: สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


บทความที่เกี่ยวข้อง

โรคผมร่วงเป็นหย่อม ๆ สัญญาณเตือนภูมิคุ้มกันอ่อนแอ

เคราตินกับเส้นผม เคราตินช่วยบำรุงผมให้สวยได้จริงหรือ?


ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

แพทย์หญิงภัทรีวัลย์ โรจนพันธุ์

โรคผิวหนัง · โรงพยาบาลวิภาวดี



เขียนโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย · แก้ไขล่าสุด 30/03/2023

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา