backup og meta

น้ำเกลือ เรื่องน่ารู้และข้อควรระวังสำหรับใช้ดูแลผิว

น้ำเกลือ เรื่องน่ารู้และข้อควรระวังสำหรับใช้ดูแลผิว

น้ำเกลือ หรือ Normal Saline Solution เป็นสารละลายประเภทหนึ่งที่ปราศจากเชื้อโรค ไม่มีสี นอกเหนือจากใช้ในการล้างทำความสะอาดบาดแผล ปัจจุบันนี้ มีการใช้น้ำเกลือชนิดนี้ในการทำความสะอาดและดูแลผิว โดยเฉพาะในผู้ที่เป็นสิว แท้จริงแล้วน้ำเกลือเป็นตัวเลือกที่เหมาะสำหรับทุกคนหรือไม่ และมีข้อควรระวังในการใช้อย่างไรบ้าง

รู้จักกับน้ำเกลือ

น้ำเกลือ (NSS หรือ Normal Saline Solution) เป็นสารละลายโซเดียมคลอไรด์ 0.9% ที่หาซื้อได้ทั่วไปในร้านขายยา เป็นสารละลายปราศจากเชื้อ ไม่มีสี ที่ใช้ในทางการแพทย์มาอย่างยาวนาน เนื่องจาก ความเข้มข้นของสารละลายที่มีค่าเท่ากับความเข้มข้นของเกลือภายในร่างกายของคน โดยทั่วไป นิยมใช้ในการผสมตัวยาเข้าสู่กระแสเลือด หรือใช้ทำความสะอาดแผลเพื่อป้องกันการเติบโตของแบคทีเรีย

ค่าพีเอชของน้ำเกลือ

นอกเหนือจากการป้องกันการเติบโตของแบคทีเรียและกำจัดสิ่งสกปรกแล้ว น้ำเกลือ ยังได้ชื่อว่าอ่อนโยนต่อผิว เนื่องจากมีค่าพีเอช (pH) ที่เป็นกลาง ค่าพีเอชเป็นค่าแสดงความเป็นกรดหรือด่างของสิ่งต่าง ๆ โดยมีมาตรวัดเป็นตัวเลข 1-14 ค่าพีเอช 1 คือ มีความเป็นกรดสูงสุด ส่วน 14 คือ มีความเป็นด่างสูงสุด ค่าพีเอชที่ถือว่าสมดุล คือ 7

โดยปกติ ผิวหนังจะมีไขมันจากต่อมไขมันบนผิวที่ผลิตออกมา ผสมกับกรดจากเหงื่อ ทำให้ค่าพีเอชของผิวที่ถือว่าสมดุลจะอยู่ที่ 5.5 หรือมีความเป็นกรดเล็กน้อย การเลือกผลิตภัณฑ์ที่มีค่าพีเอชใกล้เคียงกับค่าพีเอชของผิว เป็นเคล็ดลับอย่างหนึ่งในการปกป้องผิว ซึ่ง การใช้น้ำเกลือ ถือเป็นตัวเลือกที่ดีเนื่องจากน้ำเกลือมีค่าพีเอชที่เป็นกลาง หรือมีค่าพีเอชเฉลี่ยราว 4.7 – 7.0 ซึ่งถือว่าใกล้เคียงกับค่าพีเอชที่สมดุลของของผิวหน้า (5.5)

น้ำเกลือปราศจากสารทำร้ายผิว

สารกันเสีย สี น้ำหอม และแอลกอฮอล์ คือตัวการทำร้ายผิวในลำดับต้น ๆ ที่พบกันบ่อยที่สุดในเครื่องสำอางหรือผลิตภัณฑ์ดูแลผิว โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดผิวหน้า อย่างโฟมล้างหน้าหรือโทนเนอร์  แต่รู้หรือไม่ว่าสารเหล่านี้เป็นตัวการร้ายที่ทำลายเกราะป้องกันผิวให้เสียหายได้

ส่วนประกอบเหล่านี้อาจก่อให้เกิดอาการแพ้ ปรากฏเป็นผด ผื่นคัน อาการแสบแดง หรือก่อให้เกิดสิว โดยเฉพาะคนที่เป็นสิวหรือผิวแพ้ง่าย การใช้น้ำเกลือ จึงเป็นทางออกที่ดีในการทำความสะอาดผิว เนื่องจาก น้ำเกลือเป็นสารละลายที่ปราศจากสี และการปรุงแต่งด้วยสารเคมีจำพวก สี น้ำหอม สารกันเสีย หรือแอลกอฮอล์ จึงมั่นใจได้ว่าจะไม่ทำร้ายผิว

น้ำเกลือมอบความชุ่มชื้น

การขจัดความสกปรกและความมันส่วนเกินโดยไม่ทำลายความชุ่มชื้นของผิว ถือเป็นคุณสมบัติที่จำเป็นในการเลือกผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดผิวหน้า เนื่องจากความชุ่มชื้นของผิวเป็นองค์ประกอบสำคัญที่เสริมสร้างความแข็งแรงของผิว ให้ผิวอ่อนนุ่มและอ่อนเยาว์ ดังนั้น ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดผิวหน้าที่มีสารซึ่งทำลายความชุ่มชื้นของผิว จึงเป็นผลเสียมากกว่าผลดี

การใช้น้ำเกลือ ที่มีความเข้มข้นเท่ากับสารละลายเกลือในร่างกายมนุษย์ จึงเป็นทางเลือกที่ดีในการดูแลผิว เพราะนอกจากจะช่วยขจัดความมันส่วนเกิน และสิ่งสกปรกบนใบหน้าได้แล้ว ยังเติมความชุ่มชื้นแก่ผิว เพื่อให้ผิวพร้อมสำหรับการบำรุงในขั้นตอนต่อไป

วิธีใช้น้ำเกลือ ดูแลผิวหน้า

วิธีการง่าย ๆ สำหรับผู้ที่ต้องการใช้น้ำเกลือทำความสะอาดผิวหน้า คือ ใช้น้ำเกลือแทนโทนเนอร์หลังการล้างหน้า โดยหยดน้ำเกลือลงบนสำลีให้พอชุ่ม เช็ดให้ทั่วผิวหน้า ตามด้วยผลิตภัณฑ์บำรุงผิวตามต้องการ

ผลข้างเคียงจากการใช้ น้ำเกลือ

การใช้น้ำเกลือ อาจไม่ใช่ตัวเลือกที่ดีที่สุดสำหรับผิวเป็นสิว เพราะอาจทำให้ระคายเคืองผิวได้โดยเฉพาะผู้ที่มีผิวแห้งและผิวบอบบางแพ้ง่าย  นอกจากนั้น การใช้น้ำเกลือบ่อย ๆ อาจทำให้มีเกลือตกค้างอยู่บนผิว ดังนั้น ควรใช้น้ำเกลือเฉพาะในช่วงที่เป็นสิว เพราะอาจช่วยให้สิวที่เห่อยุบลงได้ หลังจากสิวยุบตัวลง ควรหยุดใช้เพื่อถนอมผิว

[embed-health-tool-heart-rate]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

น้ำเกลือคืออะไร ?. http://www.thaihealth.or.th/Content/20294-น้ำเกลือ%20คืออะไร%20.html. Accessed March 30, 2022.

Health uses of Epsom salt. (n.d.). epsomsaltcouncil.org/uses-benefits/health/. Accessed March 30, 2022.

Magnesium sulfate. pubchem.ncbi.nlm.nih.gov/compound/magnesium_sulfate. Accessed March 30, 2022.

Acne. mayoclinic.org/diseases-conditions/acne/symptoms-causes/syc-20368047. Accessed March 30, 2022.

เวอร์ชันปัจจุบัน

30/03/2022

เขียนโดย ศศวัต จันทนะ

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย Duangkamon Junnet

อัปเดตโดย: Duangkamon Junnet


บทความที่เกี่ยวข้อง

ลดเลือนริ้วรอย ด้วยการใช้ครีมและเซรั่ม ควรเลือกซื้ออย่างไร

5 ส่วนผสมอันตรายในผลิตภัณฑ์ความงาม ที่ควรหลีกเลี่ยง


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

Duangkamon Junnet


เขียนโดย ศศวัต จันทนะ · แก้ไขล่าสุด 30/03/2022

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา