backup og meta

ยาคุมรักษาสิว ได้จริงหรือไม่

ยาคุมรักษาสิว ได้จริงหรือไม่

สิว เป็นภาวะทางผิวหนังที่พบได้ในส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย พบได้บ่อยในช่วงวัยรุ่น และผู้ใหญ่ที่มีการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน สิวมีหลายประเภทไม่ว่าจะเป็นสิวหัวดำ สิวอักเสบ สิวผด เป็นต้น การปรับฮอร์โมนในร่างกาย ด้วย ยาคุมรักษาสิว เป็นอีกหนึ่งวิธีที่อาจช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดสิวได้

[embed-health-tool-bmr]

ยาคุมรักษาสิว ได้จริงหรือไม่

การเปลี่ยนแปลงหรือความไม่สมดุลของฮอร์โมนในร่างกายเป็นปัจจัยหลักที่ส่งผลให้เกิดสิว หากมีฮอร์โมนเพศชายอย่างแอนโดรเจน (Androgen) สูงไป อาจกระตุ้นให้ต่อมน้ำมันใต้ผิวหนังผลิตน้ำมันมากเกินไป อีกทั้งเซลล์ผิวหนังที่ตายแล้วและแบคทีเรีย อาจสะสมและเจริญเติบโตบนผิวหนัง จนนำไปสู่การเกิดสิวขึ้น การรับประทานยาคุมกำเนิดที่ประกอบไปด้วยฮอร์โมนเพศหญิงอย่างเอสโตรเจน (Estrogen) และโปรเจสเตอโรน (Progesterone) จึงอาจช่วยปรับสมดุลของฮอร์โมนเพศ ลดปริมาณการผลิตแอนโดรเจนในร่างกาย และลดความเสี่ยงในการเกิดสิวได้ โดยยาคุมกำเนิดมีอยู่ด้วยกันหลายชนิด และมีโครงสร้างทางเคมีที่แตกต่างกัน ดังนี้

  • ยาคุมชนิดดรอสไพริโนนและเอทินิลเอสตราไดออล มีส่วนประกอบของฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสติน (ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนสังเคราะห์) ใช้สำหรับรักษาสิวระดับปานกลาง ทั้งนี้ ยาคุมที่มีส่วนประกอบของดรอสไพริโนน อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตัน จึงควรปรึกษาคุณหมอหรือผู้เชี่ยวชาญทุกครั้งก่อนใช้ยา
  •  ยาคุมชนิดนอร์อิทินโดรนและเอทินิลเอสตราไดออล มีส่วนประกอบของฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสตินที่เรียกว่า “นอร์อิทินโดรน” (Norethindrone) ใช้รักษาสิวระดับปานกลาง 
  • ยาคุมชนิดนอร์อิทินโดรนและเอทินิลเอสตราไดออล มีส่วนประกอบของฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสตินที่เรียกว่า “นอร์เจสทิเมท” (Norgestimate) เป็นฮอร์โมนสังเคราะห์ชนิดเม็ดที่ใช้รักษาสิวระดับปานกลางและคุมกำเนิด

เพื่อความปลอดภัย ควรขอคำแนะนำจากคุณหมอก่อนตัดสินใจรับประทานยาคุมรักษาสิว เพราะการรักษาสิว หรือการเลือกชนิดยาคุมรักษาสิวอาจแตกต่างกันไป ตามสภาพผิวและประเภทสิวที่เกิดขึ้นกับแต่ละบุคคล

ประโยชน์ของการใช้ยาคุมรักษาสิว

การรับประทานยาคุมกำเนิดแบบฮอร์โมนรวม อาจให้ประโยชน์ในการรักษาสิว ดังนี้

  • สิวผดลดลง
  • การเกิดสิวลดลง 
  • ลดอาการอักเสบของสิว

หากต้องการได้รับประโยชน์จากการรับประทานยาคุมรักษาสิว ควรรับประทานยาคุมให้ตรงเวลา ควบคู่กับการรักษาสิวภายนอกตามคำแนะนำของคุณหมอ เนื่องจากยาคุมอาจช่วยบรรเทาสาเหตุของการเกิดสิวได้เพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น

ผลข้างเคียงการใช้ ยาคุมรักษาสิว

การใช้ยาคุมกำเนิดรักษาสิวอาจส่งผลให้เกิดผลข้างเคียงต่อสุขภาพ ดังต่อไปนี้

  • อารมณ์แปรปรวน ซึมเศร้า
  • ปวดศีรษะ เป็นไมเกรน
  • ประจำเดือนผิดปกติ
  • น้ำหนักเปลี่ยนแปลง

อาการรุนแรงจากการใช้ยาคุมที่ควรเข้ารับการรักษาทันที

  • หายใจลำบาก
  • เจ็บหน้าอก
  • ปวดศีรษะเฉียบพลัน และมีอาการปวดรุนแรง
  • การมองเห็นเปลี่ยนแปลงไป
  • ปวดท้อง
  • ปวดขา ขาบวม
  • ความดันโลหิตสูง
  • ปัญหาเกี่ยวกับหัวใจ และหลอดเลือด เช่น โรคหลอดเลือดในสมอง หัวใจวาย

ผู้ที่ไม่เหมาะใช้ยาคุมรักษาสิว

ผู้ที่ไม่ควรรับประทานยาคุมกำเนิด เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดผลข้างเคียงรุนแรง มีดังนี้

  • ผู้ที่มีการสูบบุหรี่มานานเกินกว่า 30 ปี
  • ผู้ที่มีภาวะอ้วน หรือน้ำหนักเกินมาตรฐาน
  • หญิงตั้งครรภ์ และหญิงที่อยู่ในช่วงให้นมบุตร
  • ผู้ที่มีประวัติของโรคต่าง ๆ เช่น ไมเกรน ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ ลิ่มเลือดอุดตันในปอด โรคเบาหวาน โรคตับ โรคมะเร็ง ภาวะการแข็งของเลือดผิดปกติ

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

STUBBORN ACNE? HORMONAL THERAPY MAY HELP.https://www.aad.org/public/diseases/acne/derm-treat/hormonal-therapy.Accessed on September 28, 2021

Birth Control for Acne.https://www.webmd.com/skin-problems-and-treatments/acne/birth-control-for-acne-treatment#1.Accessed on September 28, 2021

Acne.https://my.clevelandclinic.org/health/diseases/12233-acne.Accessed on September 28, 2021

Combined pill.https://www.nhs.uk/conditions/contraception/combined-contraceptive-pill/.Accessed on September 28, 2021

Combined oral contraceptive pills for treatment of acne.https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/22786490/.Accessed on September 28, 2021

เวอร์ชันปัจจุบัน

31/05/2022

เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย แพทย์หญิงอัญชิสา กาญจโนมัย

อัปเดตโดย: Duangkamon Junnet


บทความที่เกี่ยวข้อง

ที่กดสิว ใช้กับสิวประเภทไหน และการรักษาสิวที่ถูกต้อง

สิวหิน ก้อนซีสต์บนใบหน้าที่รักษาให้หายได้


ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

แพทย์หญิงอัญชิสา กาญจโนมัย

โรคผิวหนัง · พรเกษมคลินิก


เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์ · แก้ไขล่าสุด 31/05/2022

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา