backup og meta

5 ส่วนผสมอันตรายในผลิตภัณฑ์ความงาม ที่ควรหลีกเลี่ยง

5 ส่วนผสมอันตรายในผลิตภัณฑ์ความงาม ที่ควรหลีกเลี่ยง

ส่วนผสมอันตรายในผลิตภัณฑ์ความงาม มีอยู่มากมายในผลิตภัณฑ์ที่ใช้กันในชีวิตประจำ ไม่ว่าจะเป็นสบู่ ยาสีฟัน แชมพูสระผม ครีมบำรุงผิว หรือแม้แต่ผลิตภัณฑ์ระงับกลิ่นกายใต้วงแขน ซึ่งสารเคมีบางชนิดที่เป็นส่วนผสมนั้น เมื่อใช้ติดต่อกันเป็นระยะเวลานานอาจกลายสภาพเป็นสารที่ก่อให้เกิดการระคายเคือง ทั้งยังอาจขัดขวางการทำงานของต่อมไร้ท่อ และอาจเป็นสารก่อมะเร็งได้ด้วย

5 ส่วนผสมอันตรายในผลิตภัณฑ์ความงาม

สำหรับ ส่วนผสมอันตรายในผลิตภัณฑ์ความงามอาจมีดังนี้

1. พาราเบน (Parabens)

พาราเบน คือ วัตถุกันเสียชนิดหนึ่ง เป็นส่วนผสมอันตรายในผลิตภัณฑ์เสริมความงาม ซึ่งมักพบในมอยส์เจอไรเซอร์ ผลิตภัณฑ์แต่งผม รวมทั้งเครื่องสำอางต่าง ๆ อาจทำหน้าที่ในการช่วยยับยั้งการเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย ยีสต์ และเชื้อรา นอกจากนี้ พาราเบนยังอาจมีส่วนในการขัดขวางการทำงานของฮอร์โมน อาจส่งผลให้เกิดความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งเต้านม และมีความเป็นพิษต่อระบบสืบพันธ์ุ ซึ่งเมื่อนำชิ้นเนื้อร้ายไปตรวจก็อาจพบสารพาราเบนได้ด้วย 

2. พาทาเลต (Phthalates)

พาทาเลต คือ ส่วนประกอบสำคัญในพลาสติกต่าง ๆ ซึ่งอาจพบได้มากในโลชั่น ยาทาเล็บ น้ำหอม และสเปรย์ฉีดผม ซึ่งสารพาทาเลตอาจสร้างความเสียหายให้กับน้ำอสุจิของมนุษย์จนระดับดีเอ็นเอ ทั้งยังอาจมีส่วนเกี่ยวข้องกับความเสียหายของเซลล์อื่น ๆ ด้วย

3. ฟอร์มัลดีไฮด์ (Formaldehyde)

ฟอร์มัลดีไฮด์ คือ วัตถุกันเสียซึ่งอาจพบได้มากในมาสคาร่า ยาทาเล็บ เคลนเซอร์ และผลิตภัณฑ์ความงามอื่น ๆ ซึ่งนอกจากจะทำหน้าที่ยับยั้งการเติมโตของเชื้อแบคทีเรียแล้ว ยังอาจเป็นสารก่อมะเร็ง หรืออาจก่อให้เกิดอาการระคายเคือง ซึ่งทำให้เกิดอาการแพ้บนผิวหนัง และอาจส่งผลร้ายแรงต่อระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย ดังนั้น อาจต้องเลือกใช้แต่ผลิตภัณฑ์ที่ใช้ส่วนผสมจากธรรมชาติจะเป็นการดีที่สุด

4. สีสังเคราะห์ (Synthetic Colors)

สีสังเคราะห์เป็นส่วนผสมที่ต้องผ่านการรับรองขององค์การอาหารและยาในสหรัฐ ถึงจะนำออกมาวางจำหน่ายได้ สารเติมแต่งพวกนี้อาจได้มากจากน้ำมันดิบและน้ำมันดิน หรือสารประกอบทางเคมีต่าง ๆ ที่ผสมกันจนกลายเป็นสีสัน โดยสารประกอบทางเคมีที่นำมาเป็นส่วนผสมนั้นอาจเป็นสารก่อมะเร็ง และบางตัวก็อาจส่งผลทำให้เกิดโรคสมาธิสั้นในเด็ก ดังนั้น ก่อนเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ อาจต้องสังเกตตัวอักษรและตัวเลข เช่น FD&C Blue No. 1 หรือ Blue 1. ที่อยู่บนฉลากบนผลิตภัณฑ์

5. สารกันแดดออกซิเบนโซน (Oxybenzone)

สารออกซิเบนโซนเป็นสารที่ใช้ดูดซับรังสียูวีในแสงแดดนั้น ซึ่งมีส่วนผสมที่คล้ายกับฮอร์โมนเอสโตรเจนในร่างกาย ซึ่งอาจส่งผลทำให้เกิดอาการแพ้ได้ง่าย นอกจากนี้ สารกันแดดที่เป็นสารสังเคราะห์ตัวอื่น ๆ เช่น เบนโซฟีนอล (Benzophenone) พาบา (PABA) เอโวเบนโซน (Avobenzone) โฮโมซาเลต (Homosalate) ก็อาจทำให้เซลล์เกิดความเสียหาย และอาจก่อให้เกิดโรคมะเร็งต่าง ๆ ในร่างกายได้ด้วย

ดังนั้น อาจลองใช้ครีมกันแดดที่มีส่วนผสมอื่นแทน เช่น ซิงค์ (Zinc) ไทเทเนียมไดออกไซด์ (Titanium Dioxide) ซึ่งจะทำหน้าที่เป็นครีมกันแดดแบบฟิสิคัล (Physical Sunscreen) โดยจะอยู่บนผิวหนังไม่ซึมเข้าสู่ผิว จึงอาจไม่ก่อให้เกิดความเสียหายกับโครงสร้างของผิว และอาจไม่ก่อให้เกิดอาการแพ้

[embed-health-tool-heart-rate]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Choosing Skin Care Products: Know Your Ingredients. https://www.webmd.com/beauty/cosmetic-product-ingredients#1. Accessed on June 8, 2018

“The Dirty Dozen” cosmetic chemicals to avoid. https://davidsuzuki.org/queen-of-green/dirty-dozen-cosmetic-chemicals-avoid/

Are Harmful Chemicals Hiding in Your Cosmetics?. https://www.webmd.com/beauty/features/harmful-chemicals-in-your-cosmetics. Accessed April 13, 2022

Safety of Cosmetic Ingredients. https://www.canada.ca/en/health-canada/services/consumer-product-safety/cosmetics/labelling/safety-ingredients.html. Accessed April 13, 2022

Chemical Exposures: The Ugly Side of Beauty Products. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC1253722/. Accessed April 13, 2022

Parabens in Cosmetics. https://www.fda.gov/cosmetics/cosmetic-ingredients/parabens-cosmetics. Accessed April 13, 2022

เวอร์ชันปัจจุบัน

13/04/2022

เขียนโดย ออมสิน แสนล้อม

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย

อัปเดตโดย: สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


บทความที่เกี่ยวข้อง

ประโยชน์และความเชื่อผิด ๆ ของการอาบน้ำนม

ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับวิตามินดี ต่อผิวของคุณและสุขภาพโดยรวม


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


เขียนโดย ออมสิน แสนล้อม · แก้ไขล่าสุด 13/04/2022

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา