backup og meta

ส้นเท้าแตก เท้าแห้ง สาเหตุและการดูแล

ส้นเท้าแตก เท้าแห้ง สาเหตุและการดูแล

ส้นเท้าแตก เท้าแห้ง เป็นอีกหนึ่งปัญหาผิวที่ทำให้หลายคนเกิดความกังวลใจ โดยสาเหตุของการเกิดปัญหานี้อาจมาจากการที่ร่างกายขาดน้ำ ติดเชื้อรา ผิวหนังอักเสบ หรือโดนแดดเผา ดังนั้น การดูแลผิวให้ชุ่มชื้นอยู่เสมอ รวมถึงการดูแลผิวด้วยวิธีอื่น ๆ จึงอาจช่วยแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นได้

[embed-health-tool-bmi]

ส้นเท้าแตก เท้าแห้ง เกิดจากอะไร

ส้นเท้าแตก เท้าแห้ง อาจเกิดจากการที่ผิวกักเก็บความชุ่มชื้นเอาไว้ไม่ได้ นอกจากนี้ ยังอาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ ดังนี้

  • การขาดน้ำ เมื่อร่างกายขาดน้ำก็อาจส่งผลให้ผิวบริเวณฝ่าเท้าเกิดอาการแห้งกร้าน ส้นเท้าแตกได้ ดังนั้น ควรดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ 8-10 แก้ว เพื่อให้เพียงพอกับที่ร่างกายต้องการ และป้องกันภาวะขาดน้ำที่อาจส่งผลเสียต่อร่างกายได้มากกว่าแค่ทำให้ผิวแห้ง
  • ติดเชื้อรา หากดูแลเท้าได้ไม่ดีก็อาจทำให้มีสิ่งสกปรก เชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา และเชื้อโรคต่าง ๆ สะสมหมักหมมอยู่ที่เท้าจนทำให้เท้าแห้งและส้นเท้าแตกได้
  • มีเหงื่อออกมาก ผู้ที่ชอบออกกำลังกายมักจะมีเหงื่อออกบริเวณเท้า ทำให้ความชุ่มชื้นบริเวณเท้าลดลง และอาจทำให้เกิดอาการผิวลอกได้
  • โรคผิวหนังอักเสบ (Eczema) อาจเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัน ซึ่งอาจส่งผลให้ผิวแห้งกร้านขึ้น รวมทั้งมีอาการคันและผิวลอกด้วย
  • โดนแดดเผา บางครั้งเมื่อผิวหนังโดนแดดเผามาก ๆ ก็อาจทำให้ผิวบริเวณใบหน้า เท้า ไหล่ และหลังเกิดอาการแห้งกร้านได้ ดังนั้น ควรป้องกันผิวจากแสงแดด หากต้องใส่รองเท้าแตะก็ควรทาครีมกันแดดที่ขาและเท้าด้วย

วิธีดูแลส้นเท้าแตก เท้าแห้งด้วยตัวเอง

สำหรับวิธีในการดูแลปัญหาส้นเท้าแตก เท้าแห้งอาจช่วยให้ผิวบริเวณส้นเท้าและเท้ากลับชุ่มชื้และนุ่มขึ้น โดยอาจทำได้ด้วยวิธีต่าง ๆ เหล่านี้

ทามอยส์เจอไรเซอร์บำรุงผิว 

ครีมที่ช่วยเยียวยาปัญหาส้นเท้าแตกมักจะมีส่วนผสมที่ช่วยเติมความชุ่มชื้น ทำให้ผิวนุ่มขึ้น และช่วยขัดลอกเซลล์ผิวที่ตายแล้วออกไป ดังนั้น ควรมองหาครีมหรือโลชั่นบำรุงผิวที่มีส่วนผสมดังต่อไปนี้

  • ยูเรีย (Urea)
  • กรดซาลิไซลิค (Salicylic Acid)
  • กรดอัลฟ่าไฮดร็อกซี่ (Alphahydroxy Acids)
  • แซคคาไรค์ ไอโซโมแลท (Saccharide Isomerate)

ครีมบางชนิดอาจทำให้รู้สึกระคายเคืองได้ ฉะนั้น จึงควรปรึกษาคุณหมอก่อนใช้ หากมอยส์เจอร์ไรเซอร์ที่ใช้ทำให้คุณรู้สึกไม่สบาย คุณหมออาจจะสั่งครีมที่มีส่วนผสมของสเตรียรอยด์ เพื่อช่วยลดอาการคันและอาการระคายเคืองที่เกิดขึ้น

แช่เท้าและขัดเท้า

ผิวหนังในบริเวณที่แห้งแตกมักจะหนาและแห้งกว่าผิวหนังส่วนอื่น ซึ่งการแช่น้ำและขัดเท้าอาจช่วยขจัดเซลล์ผิวที่แห้งแตกออกไป และอาจช่วยให้เท้านุ่มขึ้นได้ โดยวิธีการแช่เท้าและขัดผิวอาจทำได้ดังนี้

  • แช่เท้าในน้ำอุ่นที่ผสมสบู่อ่อน ๆ เป็นเวลา 20 นาที
  • ค่อย ๆ ใช้หินหรือใยบวบขัดเท้าเพื่อขจัดผิวหนา ๆ แข็ง ๆ ออกไป
  • ใช้ผ้าซับเท้าเบา ๆ ให้แห้ง
  • ทาครีมบำรุงในบริเวณที่มีปัญหา
  • ทาปิโตรเลี่ยมเจลแล้วสวมถุงเท้า เน้นถุงเท้าหนา ๆ หรือถุงเท้าผ้าฝ้าย เพื่อล็อคความชุ่มชื้นให้ผิว และป้องกันไม่ให้ผลิตภัณฑ์ที่ทาไว้เปรอะเปื้อน

ใช้พลาสเตอร์แบบเหลว

หากปัญหาส้นเท้าแตกรุนแรงอาจจำเป็นต้องใช้พาสเตอร์ปิดแผลชนิดเหลว เพื่อช่วยป้องกันอาการติดเชื้อ โดยทาลงบนผิวที่สะอาดและแห้ง เมื่อผลิตภัณฑ์แห้งแล้วก็จะกลายเป็นแผ่นฟิล์มเคลือบแผลเอาไว้ ซึ่งอาจช่วยป้องกันน้ำและเชื้อโรคได้เป็นอย่างดี พลาสเตอร์เหลวมีทั้งแบบเจล แบบสเปรย์ สามารถหาซื้อได้ตามร้านขายยาหรือสั่งซื้อออนไลน์ อย่างไรก็ตาม พลาสเตอร์แบบเหลวบางชนิดอาจมีส่วนผสมของสารพิษ จึงควรต้องใช้อย่างระมัดระวัง หรือาจปรึกษาคุณหมอก่อนใช้

ใช้น้ำผึ้ง

น้ำผึ้งมีสรรพคุณในการต่อต้านเชื้อจุลินทรีย์และเชื้อแบคทีเรีย จึงอาจช่วยฆ่าเชื้อ ทำความสะอาด และเติมความชุ่มชื้นให้แผลได้ โดยอาจใช้น้ำผึ้งเป็นตัวขัดผิวหลังแช่เท้า หรือทำเป็นมาส์กทาเท้าทิ้งไว้ข้ามคืนแล้วค่อยล้างออก

ใช้น้ำมันมะพร้าว

น้ำมันมะพร้าวอาจช่วยให้ปัญหาผิวแห้ง ผิวอักเสบเรื้อรัง หรือโรคสะเก็ดเงิน ดีขึ้น โดยการใช้น้ำมันมะพร้าวหลังแช่เท้าเสร็จแล้ว อาจช่วยให้ผิวกักเก็บความชุ่มชื้นเอาไว้ นอกจากนี้ น้ำมันมะพร้าวยังมีสรรพคุณในการต่อต้านเชื้อจุลินทรีย์และต่อต้านการอักเสบด้วย

การดูแลส้นเท้าแตก เท้าแห้งด้วยวิธีอื่น ๆ

สำหรับการดูแลส้นเท้าแตก เท้าแห้งด้วยวิธีอื่น ๆ เพื่อเติมความชุ่มชื้นและทำให้ผิวนุ่มขึ้นอาจทำได้ดังนี้

  • น้ำส้มสายชูสำหรับผสมกับน้ำในการแช่เท้า
  • น้ำมันมะกอกหรือน้ำมันพืชในการเติมความชุ่มชื้น
  • เชียบัตเตอร์ในการเติมความชุ่มชื้น
  • กล้วยบดในการเติมความชุ่มชื้น
  • ขี้ผึ้งพาราฟิน เพื่อตรึงความชุ่มชื้นเอาไว้
  • ข้าวโอ๊ตผสมกับน้ำมัน เพื่อช่วยในการขัดผิว

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Cracked heels. (2015, June 19). http://www.ipfh.org/foot-conditions/foot-conditions-a-z/cracked-heels/. Accessed August 31, 2018

Cracked heels, callous, and heel fissures. (n.d.). http://www.podantics.com.au/heel-callus-cracked-heels.html. Accessed August 31, 2018

Diabetes and foot problems: How can diabetes affect my feet? (2014, February). http://www.niddk.nih.gov/health-information/diabetes/preventing-diabetes-problems/keep-feet-healthy. Accessed August 31, 2018

What to Know About Cracked Heels. https://www.webmd.com/skin-problems-and-treatments/what-to-know-cracked-heels. Accessed April 15, 2022

What’s the best way to treat cracked heels at home?. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/dry-skin/expert-answers/cracked-heels-treatment/faq-20455140. Accessed April 15, 2022

 

เวอร์ชันปัจจุบัน

29/06/2023

เขียนโดย ออมสิน แสนล้อม

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย พลอย วงษ์วิไล

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

ตุ่มพอง จากการเสียดสี รองเท้ากัด หรือน้ำร้อนลวก ควรเจาะดีหรือเปล่า?

น้ำมันอะโวคาโด กับ 10 คุณประโยชน์สุดเจ๋งต่อสุขภาพกายและผิวพรรณ


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

พลอย วงษ์วิไล


เขียนโดย ออมสิน แสนล้อม · แก้ไขล่าสุด 29/06/2023

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา