backup og meta

ตรวจภายใน สำคัญอย่างไร ควรเตรียมตัวอย่างไรบ้าง

ตรวจภายใน สำคัญอย่างไร ควรเตรียมตัวอย่างไรบ้าง

ตรวจภายใน เป็นการตรวจอวัยวะของสืบพันธ์ุเพศหญิง เพื่อหาสัญญาณของโรค และอาการผิดปกติ เช่นอาการเจ็บปวดอวัยวะเพศที่ผิดปกติ แผลในอวัยวะเพศ เนื้องอก ประจำเดือนผิดปกติ หรือตรวจหามะเร็งปากมดลูก การตรวจภายในเป็นประจำทุกปีอาจช่วยป้องกันปัญหาทางระบบสืบพันธ์ุ และอาจช่วยให้รักษาโรคระยะเริ่มต้นได้อย่างทันท่วงที

[embed-health-tool-ovulation]

ตรวจภายใน คืออะไร

ตรวจภายใน คือ การตรวจสุขภาพรูปแบบหนึ่งที่คุณหมอจะตรวจดูอวัยวะของระบบสืบพันธ์ุเพศหญิงทั้งภายนอกและภายใน เพื่อหาสัญญาณความผิดปกติของอวัยวะต่าง ๆ ภายในอุ้งเชิงกราน เช่น ปากมดลูก ช่องคลอด ท่องนำไข่ มดลูก รังไข่ กระเพาะปัสสาวะ ลำไส้ใหญ่

ตรวจภายในสำคัญอย่างไร

ผู้หญิงควรเข้ารับการตรวจภายในเป็นประจำทุกปี เพื่อให้ทราบถึงปัญหาสุขภาพทางเพศ ดังนี้

  • ตรวจปัญหาสุขภาพและโรคมะเร็ง เป็นการตรวจสุขภาพประจำปี เพื่อตรวจหามะเร็งและโรคทางระบบสืบพันธุ์อื่น ๆ หากพบว่ามีก้อนเนื้อที่ผิดปกติ หรือช่องคลอดอักเสบเรื้อรัง คุณหมออาจนัดตรวจทุก 3-6 เดือนเพื่อติดตามอาการ นอกจากนี้ ผู้หญิงที่อายุ 40-45 ปี ควรเข้ารับการตรวจมะเร็งปากมดลูกเป็นประจำทุกปี หากพบปัญหา จะได้รักษาอย่างทันท่วงที และอาจหายขาดได้ นอกจากนี้ การตรวจอุ้งเชิงกรานอาจมีเป้าหมายเพื่อเตรียมการตั้งครรภ์ ถือเป็นการเตรียมความพร้อมของช่องคลอด เพื่อให้ทารกปลอดภัยจากโรคติดต่อตั้งแต่อยู่ในครรภ์ ขณะคลอด และหลังคลอด
  • ตรวจหาสาเหตุของอาการโรคนารีเวช คือ การตรวจหาความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับอวัยวะภายในอุ้งเชิงกรานสตรี เช่น ปากมดลูก ช่องคลอด มดลูก ท่อนำไข่ รังไข่ กระเพาะปัสสาวะ ลำไส้ใหญ่ ว่ามีอาการผิดปกติ เช่น ตกขาวผิดปกติ มีกลิ่นเหม็น ประจำเดือนมามากและเป็นเวลานาน แผลในอวัยวะเพศ ก้อนเนื้อ หรือไม่ หากตรวจพบ คุณหมอจะได้วินิจฉัยสาเหตุและรักษาในขั้นตอนต่อไป

ผู้ที่รับการตรวจภายในควรตอบคำถามเกี่ยวกับอาการของโรคตามความจริง คุณหมอจะได้วินิจฉัยโรคและรักษาได้อย่างถูกต้อง เนื่องจากโรคบางชนิดอาจมีอาการที่คล้ายคลึงกัน เช่น อาการเลือดออกทางช่องผิดปกติ อาจเกิดจากมะเร็งปากมดลูก ท้องนอกมดลูก ช่องคลอดอักเสบ หรือเยื่อบุมดลูกผิดปกติก็ได้

การเตรียมตัวก่อนตรวจภายใน

การเตรียมตัวก่อนเข้ารับการตรวจภายใน ทำได้ดังนี้

เตรียมพร้อมทางจิตใจ

  • ควรเตรียมใจสำหรับการตรวจภายในให้พร้อม เพราะหลายคนอาจรู้สึกเขินอายเมื่อต้องตรวจภายใน จึงอาจทำให้เสียเวลา หรือรู้สึกไม่พร้อมเมื่อถึงเวลาตรวจจริง และอาจส่งผลต่อการวินิจฉัยด้วย เนื่องจากหากผู้ป่วยเกร็ง อาจทำให้คุณหมอไม่สามารถตรวจเจอความผิดปกติได้

เตรียมพร้อมทางร่างกาย

  • ควรนัดตรวจภายใน ในวันที่ไม่มีประจำเดือน
  • ควรปัสสาวะ และถ่ายอุจจาระมาก่อนตรวจภายใน สำหรับคนที่มีอาการท้องผูกมาก ควรรับประทานยาระบายก่อนประมาณ 2-3 วัน เพื่อขับถ่ายอุจจาระออก และควรล้างช่องคลอดให้สะอาดก่อนตรวจภายในด้วย
  • ไม่ควรโกนขนอวัยวะเพศ เพราะอาจส่งผลต่อการวินิจฉัยโรคทางพันธุกรรมบางชนิดได้ และอาจทำให้รู้สึกเจ็บปวด หรือคันเมื่อขนขึ้นใหม่
  • ควรใส่กระโปรงเพื่อให้ตรวจภายในได้สะดวกขึ้น

วิธีการตรวจภายใน

วิธีการตรวจภายในสามารถทำได้ ดังนี้

  • คุณหมอจะให้ผู้ป่วยนอนบนเตียงตรวจสูตินารีเวช หรือที่เรียกว่า เตียงตรวจภายใน จากนั้นกางขาทั้งสองข้างออก วางขาบนขาหยั่ง เพื่อให้คุณหมอสามารถตรวจอวัยวะภายในได้ง่ายขึ้น
  • คุณหมอจะทำความสะอาดบริเวณช่องคลอดด้วยน้ำยาสูตรเฉพาะสำหรับช่องคลอด จากนั้นคลุมผ้าปิดเฉพาะบริเวณหน้าท้องและขา
  • คุณหมอเริ่มตรวจจากอวัยวะสืบพันธ์ุภายนอก และอาจใช้มือคลำเพื่อหาก้อนเนื้อที่ผิดปกติบริเวณปากช่องคลอด
  • คุณหมอจะใช้คีมปากเป็ด หรือ สเปคคูลั่ม (Speculum) ซึ่งเป็นเครื่องมือขยายช่องคลอดสอดเข้าไปในช่องคลอด เพื่อให้เห็นภายในช่องคลอดได้สะดวกขึ้น ก่อนจะตรวจดูความผิดปกติภายในช่องคลอด เช่น มูกเลือดที่ปากมดลูกหรือภายในช่องคลอด แผลในช่องคลอด มะเร็งปากมดลูก
  • ขั้นตอนสุดท้ายคุณหมอจะสอดนิ้วเข้าไปในช่องคลอด และใช้นิ้วอีกข้างกดบริเวณท้องน้อย เพื่อคลำตรวจอวัยวะในช่องท้องว่ามีอาการเจ็บ มีเนื้องอก หรือมีภาวะรังไข่หรือมดลูกโตผิดปกติหรือไม่

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

ทำไมต้องตรวจภายใน. https://www.si.mahidol.ac.th/sidoctor/e-pl/articledetail.asp?id=743. Accessed September 20, 2021

ตรวจภายใน. https://www.si.mahidol.ac.th/siriraj_online/thai_version/Health_detail.asp?id=170. Accessed September 20, 2021

Pelvic Exam. https://www.webmd.com/women/guide/pelvic-examination. Accessed September 20, 2021

Pelvic exam. https://www.mayoclinic.org/tests-procedures/pelvic-exam/about/pac-20385135. Accessed September 20, 2021

internal exam. https://siteman.wustl.edu/glossary/cdr0000446199/. Accessed September 20, 2021

Pelvic Exams. https://kidshealth.org/en/teens/pelvic-exams.html. Accessed September 20, 2021

เวอร์ชันปัจจุบัน

16/03/2023

เขียนโดย ทัตพร อิสสรโชติ

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย เนตรนภา ปะวะคัง

อัปเดตโดย: เนตรนภา ปะวะคัง


บทความที่เกี่ยวข้อง

ตรวจสุขภาพก่อนแต่งงาน การเตรียมพร้อมก่อนเริ่มต้นชีวิตคู่ที่ไม่ควรมองข้าม

การตรวจสุขภาพก่อนตั้งครรภ์ สำคัญอย่างไร


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

เนตรนภา ปะวะคัง


เขียนโดย ทัตพร อิสสรโชติ · แก้ไขล่าสุด 16/03/2023

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา