backup og meta

ปากมดลูกปลิ้น สาเหตุ อาการ และการรักษา

ปากมดลูกปลิ้น สาเหตุ อาการ และการรักษา

ปากมดลูกปลิ้น (Cervical ectropion) คือภาวะที่เซลล์ปากมดลูกที่อยู่ภายในช่องคอมดลูก ปลิ้นออกไปยังด้านนอกปากมดลูก ซึ่งอาจเกิดจากสาเหตุต่าง ๆ เช่น การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน การตั้งครรภ์ ทำให้มีอาการเลือดออกทางช่องคลอด ตกขาว และเจ็บแสบขณะมีเพศสัมพันธ์ หากมีอาการเหล่านี้ควรเข้าพบคุณหมอเพื่อหาสาเหตุที่แน่ชัดและทำการรักษาในทันที

[embed-health-tool-ovulation]

คำจำกัดความ

ปากมดลูกปลิ้นคืออะไร

ปากมดลูกปลิ้น คือการที่เซลล์ในคลองปากมดลูกซึ่งเรียงเป็นเเนวอยู่ภายในช่องคอมดลูกกระจายตัวออกไปยังพื้นผิวนอกปากมดลูก ปกติเเล้วเซลล์นอกปากมดลูกจะเป็นเซลล์แข็ง

บริเวณที่ซึ่งเซลล์ทั้งสองประเภทมาบรรจบกันนี้เรียกว่าพื้นที่เปลี่ยนผ่าน โดยปากมดลูกถือเป็น “คอ” ของมดลูก เพราะเป็นพื้นที่เชื่อมต่อระหว่างมดลูกกับช่องคลอด

อาการปากมดลูกปลิ้นไม่ใช่มะเร็ง เเละไม่ได้กระทบกับภาวะเจริญพันธุ์ของผู้หญิง เเท้จริงเเล้ว อาการดังกล่าวไม่ใช่โรค เแต่กระนั้น อาการนี้ก็สามารถก่อให้เกิดปัญหาสำหรับผู้หญิงบางคนได้

อาการ

อาการปากมดลูกปลิ้นเป็นอย่างไร

บางคนอาจไม่มีอาการใดปรากฏเลย จนกระทั่งได้รับการตรวจภายใน ถ้ามีอาการปรากฏ อาการดังนี้

  • มีตกขาว
  • เลือดออกกะปริบกะปรอยในช่วงไม่มีรอบเดือน
  • อาการเจ็บเเละมีเลือดไหลระหว่างหรือหลังมีเพศสัมพันธ์

อาการเจ็บเเละเลือดไหลอาจเกิดขึ้นระหว่างหรือภายหลังการตรวจภายในได้เช่นกัน อาการดังกล่าวจะรุนเเรงสำหรับผู้หญิงบางคน ตกขาวจะก่อให้เกิดความรำคาญ เเละอาการเจ็บปวดจะขัดความสุขที่เกิดขึ้นระหว่างมีเพศสัมพันธ์

อาการปากมดลูกปลิ้นยังเป็นสาเหตุที่พบบ่อยที่สุด ในการทำให้มีเลือดไหลในช่วงเดือนสุดท้ายของการตั้งครรภ์

สาเหตุของอาการเหล่านี้เกิดจากเซลล์ปากมดลูกที่บอบบางว่าเซลล์เยื่อบุผิว เซลล์ปากมดลูดจึงผลิตมูกออกมามากกว่าเเละมีเเนวโน้มที่จะมีเลือดออกได้ง่าย

เมื่อไหร่ที่ควรไปหาหมอ

ควรติดต่อคุณหมอเมื่อมีอาการดังต่อไปนี้

  • เลือดไหลในช่วงต่อของการมีประจำเดือน
  • ตกขาวผิดปกติหรือเจ็บปวดในระหว่างหรือหลังมีเพศสัมพันธ์

อาการปากมดลูกปลิ้นไม่ได้ร้ายแรง เเต่สัญญาณเเละอาการเหล่านี้อาจเป็นผลมาจากโรคอื่น ที่ควรจะได้รับการรักษาหรือชี้ชัดว่าเป็นโรคนั้นหรือไม่

อาการดังกล่าวบางอย่างได้แก่

  • การติดเชื้อ
  • มีเนื้องอกมดลูกหรือติ่งเนื้อยื่นออกมา
  • เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ (Endometriosis)
  • ปัญหากับห่วงอนามัย
  • ปัญหากับการตั้งครรภ์
  • มะเร็งปากมดลูก มะเร็งมดลูก เเละมะเร็งประเภทอื่นๆ

โปรดปรึกษาคุณหมอ หากมีสัญญาณหรืออาการข้างต้น รวมถึงหากมีข้อสงสัย ร่างกายของทุกคนต่างมีการตอบสนองที่เเตกต่างกัน วิธีที่ดีที่สุดคือการปรึกษาคุณหมอว่า อะไรเป็นทางออกที่ดีที่สุดสำหรับสถานการณ์

สาเหตุ

สาเหตุของอาการปากมดลูกปลิ้น

ผู้หญิงบางคนเกิดมาพร้อมกับอาการปากมดลูกปลิ้น โดยอาการดังกล่าวอาจเกิดขึ้นได้จาก

  • การเปลี่ยนเเปลงของฮอร์โมน ปากมดลูกปลิ้นอาจเกิดจากความผันผวนของระดับฮอร์โมน เเละพบได้บ่อยมากในผู้หญิงวัยเจริญพันธุ์ ผู้หญิงที่เข้าสู่ช่วงหมดประจำเดือน (menopause) มักไม่มีอาการดังกล่าว
  • กินยาคุมกำเนิด การกินยาคุมกำเนิดจะส่งผลต่อระดับฮอร์โมนและทำให้เกิดอาการปากมดลูกปลิ้นได้
  • การตั้งครรภ์ การตั้งครรภ์อาจก่อให้เกิดอาการปากมดลูกปลิ้นได้ เนื่องจากการเปลี่ยนเเปลงของระดับฮอร์โมน

ปัจจัยเสี่ยง

ปัจจัยเสี่ยงในการเกิดอาการปากมดลูกปลิ้น

วัยรุ่น หญิงตั้งครรภ์ เเละผู้หญิงทั่วไปที่ทานยาคุมกำเนิด หรือใช้แผ่นเเปะเอสโตรเจนเพื่อคุมกำเนิด มีโอกาสที่จะมีอาการดังกล่าวสูงกว่า เมื่อเทียบกับผู้หญิงในวัยหมดประจำเดือน

โปรดปรึกษาเเพทย์เพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

การวินิจฉัยและการรักษาโรค

ข้อมูลเหล่านี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ใด ๆ โปรดปรึกษาคุณหมอ ทุกครั้ง เพื่อรับทราบข้อมูลเพิ่มเติม

การวินิจฉัยอาการปากมดลูกปลิ้น

คนส่วนมากที่มีอาการปากมดลูกปลิ้นมักไม่รู้ว่าตัวเองมีอาการดังกล่าว ส่วนใหญ่เเล้วจะได้ตรวจพบเมื่อรับการตรวจภายในตามปกติจากเเพทย์

อาการปากมดลูกปลิ้นไม่ได้เกี่ยวข้องกับมะเร็งปากมดลูก อย่างไรก็ตาม ปากมดลูกของผู้หญิงที่เป็นมีอาการดังกล่าว อาจดูคล้ายกับปากมดลูกของผู้หญิงที่เริ่มเป็นมะเร็งปากมดลูก

ด้วยเหตุนี้ เเพทย์จึงจำเป็นที่จะต้องชี้ชัดว่าอาการดังกล่าวคือมะเร็งปากมดลูกหรือไม่ หากปากมดลูกมีสีเเดงหรืออักเสบผิดปกติ เเพทย์จะวินิจฉัยด้วยวิธีต่อไปนี้

  • การตรวจแป๊ปสเมียร์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการดูเเลสุขภาพจะขูดตัวอย่างเซลล์ปากมดลูก เพื่อตรวจหาเชื้อเอชพีวี (HPV) เเละการเปลี่ยนเเปลงของเซลล์มะเร็ง เหรือเซลล์ก่อนเป็นมะเร็ง
  • การส่องตรวจช่องคลอด ได้แก่การที่ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพตรวจปากมดลูกอย่างละเอียด ด้วยเครื่องมือที่ใช้ขยายปากมดลูกพร้อมไฟส่อง
  • การตรวจชิ้นเนื้อ การนำตัวอย่างของเนื้อเยื่อมาตรวจเพื่อหาเซลล์มะเร็ง ผู้หญิงอาจรู้สึกปวดเกร็งที่ท้องระหว่างการตรวจดังกล่าว

การรักษาอาการปากมดลูกปลิ้น

อาการปากมดลูกปลิ้นไม่ใช่อาการอันตราย เเละไม่จำเป็นรักษาเสมอไป

ในการีวิวเมื่อปี 2008 นักวิจัยได้บันทึกว่า ไม่มีข้อมูลใดสนับสนุนให้มีการตรวจอาการปากมดลูกปลิ้นเป็นประจำ อย่างไรก็ตาม เเพทย์จะเเนะนำเมื่ออาการของโรคก่อให้เกิดความรำคาญ

ถ้าผู้หญิงเคยมีอาการ อย่างเช่นเจ็บปวดหรือเลือดไหล เเพทย์อาจเเนะนำให้ใช้การจี้เนื้อเยื่อ (cauterization) ซึ่งเป็นวิธีกำจัดเซลล์ปากมดลูกที่กระจายออกมาด้านนอกโดยไม่ทำให้เกิดความเจ็บปวด

เเม้ว่าการจี้เนื้อเยื่อจะเเก้อาการปากมดลูกปลิ้นได้ เเต่เเพทย์อาจต้องจี้ใหม่อีกครั้งหากผู้ป่วยมีอาการอีก

การรักษาโดยการจี้เนื้อเยื่อมีวิธีการแตกต่างกันสามแบบคือ

  • การอบด้วยความร้อน (Diathermy) การใช้ความร้อนเพื่อจี้เนื้อเยื่อบริเวณที่มีอาการ
  • การรักษาด้วยความเย็น (Cryotherapy) การใช้คาร์บอนไดออกไซด์ที่เย็นมาก เพื่อทำให้บริเวณที่มีอาการเเข็งตัว รายงานการศึกษาในปี 2016 พบว่านี่เป็นวิธีการรักษาที่ได้ผลสำหรับผู้หญิงที่มีอาการดังกล่าว เเละมีมูกไหลเป็นจำนวนมาก
  • การใช้ซิลเวอร์ไนเตรท (silver nitrate) เป็นอีกวิธีหนึ่งของการจี้เนื่อเยื่อเซลล์ปากมดลูกให้ไหม้

หลังการรักษา เเพทย์อาจเเนะนำให้ผู้หญิงหลีกเลี่ยงกิจกรรมทางเพศบางอย่าง เเละไม่ใช้ผ้าอนามัยเเบบสอดเป็นเวลาสี่สัปดาห์ หลังจากช่วงเวลาดังกล่าว ปากมดลูกของเธอควรจะหายเป็นปกติ

ถ้าผู้หญิงที่ได้รับการรักษามีอาการดังต่อไปนี้ เธอควรจะกลับไปหาหมอ

  • มีมูกที่มีกลิ่นเหม็น
  • เลือดไหลอย่างมาก (มากกว่าประจำเดือนโดยทั่วไป)
  • เลือดไหลไม่หยุด

อาการเหล่านี้อาจบ่งชี้ถึงการติดเชื้อหรืออาการอื่นที่แอบแฝงอยู่ ผู้หญิงจึงไม่ควรละเลยอาการดังกล่าว

การเปลี่ยนแปลงไลฟ์สไตล์และการดูแลตัวเอง

การเปลี่ยนแปลงไลฟ์สไตล์หรือการดูแลตนเองที่อาจช่วยจัดการอาการปากมดลูกปลิ้น

  • หลีกเลี่ยงการเปลี่ยนคู่นอนบ่อย และใส่ถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์
  • รักษาความสะอาดของอวัยวะเพศ หลังเข้าห้องน้ำควรทำความสะอาดอวัยวะเพศและเช็ดให้แห้งจากด้านหน้าไปด้านหลัง หลีกเลี่ยงการสวนล้างช่องคลอด
  • เข้ารับการตรวจร่างกายเป็นประจำ รวมถึงการตรวจภายใน

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

What Is Cervical Ectropion?. https://www.webmd.com/cancer/cervical-cancer/cervical-ectropion#:~:text=Cervical%20ectropion%20happens%20when%20cells,and%20discharge%2C%20for%20some%20women.. Accessed September 29, 2022.

Cervical Ectropion. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK560709/. Accessed September 29, 2022.

Cervical Ectropion. https://www.cuh.nhs.uk/patient-information/cervical-ectropion/. Accessed September 29, 2022.

Cervical Ectopy (Cervical Erosion). https://mft.nhs.uk/app/uploads/sites/4/2018/04/18-28-Cervical-Ectopy-June-2018.pdf. Accessed September 29, 2022.

Cervical cancer. https://www.nhs.uk/conditions/cervical-cancer/. Accessed September 29, 2022.

เวอร์ชันปัจจุบัน

03/07/2024

เขียนโดย จิดาภา ติยะสิริทานนท์

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย พลอย วงษ์วิไล

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

อาการมดลูกหย่อน สัญญาณเตือน ภาวะแทรกซ้อน และวิธีรักษา

ผ่าตัดเนื้องอกมดลูก การเตรียมตัว และความเสี่ยง


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

พลอย วงษ์วิไล


เขียนโดย จิดาภา ติยะสิริทานนท์ · แก้ไขล่าสุด 03/07/2024

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา