ฮอร์โมนสิ่งสำคัญที่มีบทบาทกับร่างกายของเรา ไม่ว่าจะเป็นด้านอารมณ์ หรือร่างกาย เนื่องจากเราไม่สามารถควบคุมฮอร์โมนได้ ดังนั้น วิธีปรับสมดุลฮอร์โมนเพศหญิง เป็นวิธีการง่าย ๆ เพื่อให้สาว ๆ ได้สามารถลองปรับเปลี่ยนบางอย่างในชีวิตประจำวัน เพื่อช่วยในเรื่องของการปรับสมดุลฮอร์โมนบางอย่างในร่างกายให้เหล่าสาวน้อย สาวใหญ่ได้
ฮอร์โมนเพศหญิง
ฮอร์โมนเพศ คือเป็นฮอร์โมนที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของอวัยวะสืบพันธุ์ทั้งในด้านรูปร่าง และการเจริญพันธุ์เข้าสู่ลักษณะของวัยรุ่น ฮอร์โมนเป็นสารเคมีทำหน้าที่ส่งสารที่สร้างขึ้นจากกลุ่มเซลล์ในต่อมไร้ท่อ แล้วส่งไปตามกระแสเลือด ไปยังส่วนต่างๆของร่างกาย ซึ่งฮอร์โมนเพศประกอบด้วย 2 กลุ่ม ได้แก่ ฮอร์โมนเพศชาย(ฮอร์โมนแอนโทรเจน หรือเทสโทสเตอโรน) ฮอร์โมนเพศหญิง โดยฮอร์โมนเพศหญิงมีประเภทอะไรบ้างนะ
ประเภทของฮอร์โมนเพศหญิง
- เอสโตเจน (Estrogen) เป็นฮอร์โมนชนิดหนึ่งที่มีบทบาทสำคัญในสุขภาพของผู้หญิง โดยเอสโตรเจนมี 3 ประเภท ได้แก่ เอสโทรน เอสตราไดออล และเอสตริออล ส่งผลต่อพัฒนาการทางเพศ รวมถึงการเจริญพันธุ์การเติบโตของหน้าอก หรือแม้แต่การเริ่มมีรอบเดือน ฮอร์โมนเพศหญิงที่ร่างกายผลิตขึ้นเองส่วนใหญ่จากรังไข่เป็นหลัก ต่อมหมวกไต และเซลล์ไขมันยังผลิตเอสโตรเจนในปริมาณเล็กน้อย แม้ว่าจะฮอร์โมนเอสโตรเจนนี้ร่างกายจะสามารถสร้างเองได้ แต่การผลิตเอสโตรเจนอาจจะเริ่มลดลงในช่วงกลุ่มวัยทอง
- โปรเจสเตอโรน (Progesterone) เป็นฮอร์โมนที่กระตุ้น และควบคุมการทำงานที่สำคัญ มีบทบาท ในการเตรียมร่างกายให้พร้อมสำหรับการปฏิสนธิเพื่อการตั้งครรภ์ และควบคุมรอบเดือนประจำเดือน กระตุ้นการเจริญเติบโตของเซลล์เต้านม พบว่าโปรเจสเตอโรนต่ำจะกระตุ้นการหลั่งแอลเอช เป็นฮอร์โมนจากต่อมใต้สมองส่วนหน้า ทำหน้าที่กระตุ้นถุงไข่ที่เจริญเต็มที่แล้วทำให้มีการตกไข่ แต่ถ้าหากมีโปรเจสเตอโรนสูง ส่งผลทำให้ไม่มีการตกไข่
วิธีปรับสมดุลฮอร์โมนเพศหญิง
วิธีปรับสมดุลนั้นมีหลากหลายวิธี แต่ทางที่ดีควรนำมาปฏิบัติรวมกัน เพื่อความสมดุลของฮอร์โมนในร่างกาย
- รับประทานโปรตีนให้เพียงพอ
การรับประทานโปรตีนให้เพียงพอต่อร่างกายนั้นเป็นสิ่งสำคัญ เพราะโปรตีนมีสารอาหารที่เรียกว่ากรดอะมิโนจำเป็นที่ร่างกายไม่สามารถสร้างขึ้นเองได้ ดังนั้นจำเป็นที่จะต้องมีโปรตีนในแต่ละมื้อประมาณ 20-30 กรัม เพื่อให้ร่างกายสามารถนำไปใช้ในการซ่อมแซมกล้ามเนื้อ กระดูก รวมไปถึงผิวหนัง
- การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
ไม่ว่าจะเป็นแอโรบิค เดินเร็ว วิ่ง โยคะ และกิจกรรมอื่น ๆ การออกกำลังกายนั้นส่งผลต่อระดับฮอร์โมนในร่างกาย และสามารถช่วยลดปัจจัยเสี่ยงในการเป็นโรคอ้วน ซึ่งการออกกำลังกายช่วยลด/เพิ่มระดับอินซูลิน
- หลีกเลี่ยงการรับประทานน้ำตาล และคาร์โบไฮเดรตขัดสี
เนื่องจากคาร์โบไฮเดรตขัดสี และน้ำตาล พวกนี้มีส่วนทำให้มีอาการดื้ออินซูลิน แต่ที่จริงแล้วสามารถรับประทานได้ แต่ควรรับประทานในปริมาณที่เหมาะสมต่อร่างกายในแต่ละคน หรือหากลดได้จะยิ่งเป็นการดีต่อร่างกาย เพราะจะสามารถช่วยลดระดับอินซูลิน รวมไปถึงเครื่องดื่มที่มีน้ำตาล เช่น น้ำอัดลม น้ำหวาน
- การจัดการกับความเครียด
ความเครียดเป็นสิ่งที่ทำให้ฮอร์โมนเปลี่ยนแปลงได้อย่างหนึ่ง เพราะ ฮอร์โมนสำคัญสองชนิดได้รับผลกระทบจากความเครียด นั้นก็คือคอร์ติซอล(Cortisol) และอะดรีนาลีน(Adrenaline)
- การนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
การนอนไม่เพียงพอ หรือนอนหลับ ๆ ตื่น ๆ พวกนี้มีส่วนทำให้ฮอร์โมนเปลี่ยนแปลงได้ เพราะไม่ว่าการมีคุณค่าทางโภชนาการที่ดี หรือออกกำลังกายมากเพียงใด สุขภาพก็อาจจะแย่ลงหากนอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ
- รับประทานอาหารที่มีไขมันดี
เพราะสามารถช่วยลดการดื้ออินซูลิน และความอยากอาหาร
- รับประทานอาหารที่มีใยอาหาร หรือไฟเบอร์สูง
พวกใยอาหารชนิดละลายน้ำได้สามารถพบได้ในถั่วเขียว ถั่วแดง ถั่วดำ พวกชนิดที่ไม่ละลายน้ำ พบในพืชผัก ธัญพืชต่าง ๆ มีบทบาทในการคุมอาหารเพื่อลดความอ้วน ป้องกันการดื้ออินซูลิน และการกินเยอะ ในแต่ละมื้อควรกินอาหารที่มีกากใยอาหาร
- รับประทานไขมันจากปลา
เนื่องจากกรดไขมันโอเมก้า3 ในปลา นั้นมีประโยชน์มากเลย สามารถช่วยลดระดับความเครียดทั้งจากคอร์ติซอล และอะดรีนาลีน
การปรับสมดุลฮอร์โมนในร่างกายอาจเป็นเรื่องยากของใครหลาย ๆ คน แต่ถ้าหากลองทำตามวิธีง่าย ๆ ค่อย ๆ ปรับเปลี่ยน นอกจากจะเป็นเรื่องที่ดีแล้ว ยังส่งผลดีต่อสุขภาพในแง่ของระดับฮอร์โมนต่าง ๆ ในร่างกายเราได้อีกด้วย
[embed-health-tool-ovulation]