backup og meta

วัคซีนภูมิแพ้ชนิดอมใต้ลิ้น (SLIT) อีกทางเลือกรักษาโรคภูมิแพ้ โดยไม่พึ่งเข็มฉีดยา

วัคซีนภูมิแพ้ชนิดอมใต้ลิ้น (SLIT) อีกทางเลือกรักษาโรคภูมิแพ้ โดยไม่พึ่งเข็มฉีดยา

หากคุณเป็นคนที่กลัวเข็มฉีดยาเป็นอย่างมาก การใช้ วัคซีนภูมิแพ้ชนิดอมใต้ลิ้น สำหรับรักษาโรคภูมิแพ้นี้ อาจเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่จะสามารถช่วยบรรเทาอาการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ให้แก่คุณได้เป็นอย่างดี แต่ในขณะเดียวกันก็อาจก่อให้เกิดความเสี่ยงให้แก่ร่างกายของคุณเพิ่มเติมได้ ซึ่งจะส่งผลอย่างไรบ้างนั้น ลองมาติดตามกันได้ในบทความของ Hello คุณหมอ วันนี้ ที่ทางเราได้นำข้อมูลเบื้องต้นมาฝากทุกคนกันค่ะ

[embed-health-tool-bmi]

วัคซีนภูมิแพ้ชนิดอมใต้ลิ้น คืออะไร

วัคซีนภูมิแพ้ชนิดอมใต้ลิ้น (Sublingual Immunotherapy; SLIT) คือวัคซีนที่ใช้สำหรับรักษาผู้ป่วยที่มักประสบกับโรคภูมิแพ้อยู่บ่อยครั้ง โดยเป็นการให้วัคซีนชนิดเม็ดแบบอม หรือสารละลายหยดลงไปบริเวณใต้ลิ้น เพื่อเข้าไปช่วยบำบัดการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันให้แข็งแรงมากขึ้น และลดอาการจากสารก่อภูมิแพ้ที่ปะปนเข้ามาจากสภาพแวดล้อมรอบตัวที่คุณเผชิญได้

จากที่ผู้เชี่ยวชาญบางแห่งได้ทำการทดลองและสำรวจเบื้องต้น ถึงประสิทธิภาพของ วัคซีนภูมิแพ้แบบอมใต้ลิ้น นั้นค่อนข้างให้ความปลอดภัยแก่ผู้ที่ประสบกับโรคภูมิแพ้บางประเภท เช่น อาการแพ้เกสรดอกไม้ ไรฝุ่น ไข้ละอองฟาง และโรคหอบหืดที่เกิดจากอาการแพ้ เป็นต้น ตามแต่การได้รับวินิจฉัยและการอนุญาตจากทางแพทย์

อีกทั้งหากผู้เชี่ยวชาญ หรือแพทย์จำเป็นที่ต้องสั่งยาชนิดนี้ให้แก่ผู้ป่วย ก็อาจจำต้องมีการปิดฉลากยาเอาไว้ เพื่อให้เป็นยาที่ถูกต้องตามกฎหมาย เพราะเนื่องจากยาบรรเทาอาการแพ้ส่วนใหญ่อาจยังไม่มีรับการรับรองจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาในสหรัฐอเมริกา (Food and Drug Administration; FDA) มากนัก ถึงอย่างไรทางทีมวิจัยก็ไม่สามารถชะล่าใจ และยังคงดำเนินการศึกษาเพิ่มเติมอย่างต่อเนื่องต่อไป ถึงผลการรักษาที่ให้ความปลอดภัย เพื่อให้ วัคซีนภูมิแพ้แบบอมใต้ลิ้น นี้ ได้รับการอนุมัติอย่างเป็นทางการ ซึ่งคาดการว่าอาจใช้เวลา 2-3 ปี

วัคซีนภูมิแพ้แบบอมใต้ลิ้น มีการทำงานอย่างไร

ก่อนอื่นคุณควรเข้ารับการตรวจร่างกาย หรือบอกสาเหตุของอาการภูมิแพ้ที่ประสบมาให้แพทย์ทราบอย่างละเอียดเสียก่อน เพื่อให้การวินิจฉัยเบื้องต้นเป็นไปได้อย่างราบรื่น เพราะผู้ป่วยบางกรณีนั้นอาจจำเป็นที่ต้องให้ยารักษาโรคภูมิแพ้ที่ต่างกันชนิดกันออกไป

หากเมื่อได้รับการยืนยันจากแพทย์แล้วว่า คุณสามารถใช้ วัคซีนภูมิแพ้แบบอมใต้ลิ้น ได้ แพทย์อาจแนะนำให้คุณทำการหยดสารละลายภายในใต้ลิ้นเอาไว้ประมาณ 1-2 นาที ก่อนกลืนลงเป็นประจำทุกวัน วันละ 1 หยด ของช่วง 4 เดือนแรก และอาจให้ค่อย ๆ เพิ่มปริมาณขึ้นแล้วแต่แพทย์กำหนด ซึ่งวัคซีนที่คุณได้รับนี้จะช่วยลดอาการแพ้ใต้ลิ้นอันดับแรกก่อนที่จะเข้าไปในระบบทางเดินอาหาร ส่งผลให้ระบบภูมิคุ้มกันอาจทนต่อสารภูมิแพ้ได้ และทำให้ลดอาการของโรคภูมิแพ้จากสิ่งรอบข้างได้น้อยลงยามคุณใกล้ชิด หรือสัมผัส

ความเสี่ยงที่คุณอาจได้รับ จากวัคซีนภูมิแพ้แบบอมใต้ลิ้น

แม้ว่า วัคซีนภูมิแพ้แบบอมใต้ลิ้น อาจปลอดภัยต่อผู้ป่วยบางราย แต่ขณะเดียวกันก็อาจส่งผลให้เกิดผลข้างเคียงบางอย่างร่วมด้วย ดังนี้

  • ระคายเคืองบริเวณริมฝีปาก และลิ้น
  • รู้สึกคัดจมูก
  • คันจมูก จาม
  • อาการหอบหืด
  • ลมพิษ
  • คลื่นไส้ อาเจียน
  • ท้องร่วง
  • ตะคริวในช่องท้อง
  • ตาแดง ตาบวม

เพื่อเป็นการสร้างความปลอดภัยให้แก่สุขภาพร่างกายของคุณยิ่งขึ้น คุณควรเข้ารับคำปรึกษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ พร้อมตรวจวินิจฉัยอาการเบื้องต้นจากอาการภูมิแพ้ของคุณเสียก่อนว่าเหมาะสมที่จะใช้วัคซีนชนิดนี้ในการรักษาหรือไม่ ที่สำคัญหากมีอาการข้างต้น หรือนอกเหนือจากที่กล่าวมาในขณะที่ใช้วัคซีนร่วมด้วย โปรดหยุดการใช้งานและเข้ารับการรักษาจากแพทย์ในทันที

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Sublingual Immunotherapy https://www.hopkinsmedicine.org/otolaryngology/specialty_areas/sinus_center/sublingual_immunotherapy.html Accessed October 30, 2020

What You Need to Know About Sublingual Immunotherapy https://www.verywellhealth.com/sublingual-immunotherapy-82686 Accessed October 30, 2020

Sublingual immunotherapy (SLIT) https://acaai.org/allergies/allergy-treatment/allergy-immunotherapy/sublingual-immunotherapy-slit Accessed October 30, 2020

เวอร์ชันปัจจุบัน

24/05/2024

เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

สุดยอดอาหารต้านภูมิแพ้ ที่ช่วยต่อต้าน อาการภูมิแพ้ตามฤดูกาล

หอบหืดจากภูมิแพ้ โรคนี้มีอาการ สาเหตุ และวิธีการรักษายังไงบ้างนะ


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 24/05/2024

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา