มะเร็งเม็ดเลือดขาวกลุ่มลิมโฟซิติค เป็นมะเร็งเม็ดเลือดและกระดูกชนิดหนึ่ง โรคนี้แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ มะเร็งเม็ดเลือดขาวกลุ่มลิมโฟซิติคชนิดเฉียบพลัน และมะเร็งเม็ดเลือดขาวกลุ่มลิมโฟซิติคชนิดเรื้อรัง
คำจำกัดความ
มะเร็งเม็ดเลือดขาวกลุ่มลิมโฟซิติค คืออะไร
โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวกลุ่มลิมโฟซิติค หรือมะเร็งเม็ดเลือดขาวแบบหรือแอแอลแอล (Acute Lymphocytic Leukemia) เป็นมะเร็งเม็ดเลือดและกระดูกประเภทหนึ่ง ซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ มะเร็งเม็ดเลือดขาวกลุ่มลิมโฟซิติคชนิดเฉียบพลัน และมะเร็งเม็ดเลือดขาวกลุ่มลิมโฟซิติคชนิดเรื้อรัง
มะเร็งเม็ดเลือดขาวแบบเอแอลแอลนี้เติบโตเร็วและเกิดขึ้นทันที ส่งผลต่อการพัฒนาของเซลล์เม็ดเลือด ซึ่งเซลล์เหล่านี้ที่เกิดจากมะเร็งต่อมน้ำเหลืองและเม็ดเลือดขาวคือเซลล์เม็ดเลือดขาวลิมโฟไซต์บี
โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวกลุ่มลิมโฟซิติค พบได้บ่อยแค่ไหน
โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวกลุ่มลิมโฟซิติค เป็นมะเร็งชนิดที่พบได้มากในเด็ก โรคนี้เกิดขึ้นบ่อยในเด็กผู้ชายที่อายุน้อยกว่า 15 ปี แต่ในบางกรณีก็สามารถเกิดกับผู้ใหญ่ได้เช่นกัน สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม โปรดปรึกษาแพทย์
อาการ
อาการของ โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวกลุ่มลิมโฟซิติค
อาการทั่วไป ได้แก่ ปวดศีรษะ ปวดท้อง เหนื่อยล้า หน้าซีด หรือมีแผลฟกช้ำตามผิวหนัง ตับบวม ต่อมน้ำเหลืองโต สูญเสียความทรงจำ และมีอาจจะมีอาการอื่น ๆ เหล่านี้ด้วย
- เลือดออกตามไรฟัน
- ปวดกระดูก
- มีไข้
- ติดเชื้อได้ง่าย
- เลือดกำเดาไหลบ่อยหรือรุนแรง
- มีก้อนที่เกิดจากต่อมน้ำเหลืองบวม ที่บริเวณในลำคอ รอบคอ ใต้วงแขน หน้าท้องหรือขาหนีบ
- ผิวสีซีด
- หายใจถี่
สำหรับผู้ป่วยบางราย อาจจะมีอาการอื่นนอกเหนือจากที่กล่าวมาข้างต้น หากมีข้อสงสัยใด ๆ โปรดปรึกษาแพทย์
ควรไปพบคุณหมอเมื่อใด
หากคุณมีอาหารอย่างที่กล่าวมาข้างต้น หรือมีความกังวลว่าอาจจะเป็น โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวกลุ่มลิมโฟซิติค ควรปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับอาการที่คุณกำลังพบเจอ
อาการของ โรคมะเร็งเม็ดเลือดกลุ่มลิมโฟซิติค ชนิดเฉียบพลันหลายประการ มักคล้ายคลึงกับอาการของโรคไข้หวัดใหญ่ หากเป็นโรคไข้หวัดใหญ่ เมื่อพักผ่อนและรับประทานยา อาการก็จะเริ่มดีขึ้นเรื่อย ๆ แต่หากยังมีอาการอยู่ควรปรึกษาแพทย์ทันที
สาเหตุ
สาเหตุของมะเร็งเม็ดเลือดขาวกลุ่มลิมโฟซิติค
โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวกลุ่มโฟซิติค เกิดจากดีเอ็นเอในเซลล์ของกระดูกมีความผิดปกติ ทำให้เซลล์หยุดการเจริญเติบโตและตายไปในที่สุด ส่วนเซลล์ที่ติดเชื้อจะเติบโตและแบ่งตัวขึ้น
ในปัจจุบันยังไม่แน่ชัดถึงสาเหตุที่ดีเอ็นเอกลายพันธ์ุจนนำไปสู่ โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวกลุ่มลิมโฟซิติค ได้ อย่างไรก็ตาม แพทย์ได้ทำการวิจัยและพบว่า ส่วนใหญ่แล้ว โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวกลุ่มลิมโฟซิติค ไม่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม
ปัจจัยเสี่ยง
ปัจจัยเสี่ยงของโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวกลุ่มลิมโฟซิติค
ปัจจัยบางอย่างอาจจะเพิ่มความเสี่ยงในการเกิด โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวกลุ่มลิมโฟซิติค รวมถึงโรคเกี่ยวกับต่อมน้ำเหลืองและเม็ดเลือดขาวได้ เช่น
- การเคยรักษามะเร็งโดยเฉพาะเมื่อผู้ป่วยเคยทำเคมีบำบัดหรือการฉายรังสี
- การติดเชื้อที่รักษาด้วยการฉายรังสี
- ความผิดปกติทางพันธุกรรม เช่น โรคดาวน์ซินโดรม
- มีพี่น้องที่เคยเป็นโรคเกี่ยวกับเม็ดเลือดขาวและต่อมน้ำเหลือง
การวินิจฉัยโรคและการรักษาโรค
ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษาแพทย์ทุกครั้งเพื่อรับทราบข้อมูลเพิ่มเติม
การวินิจฉัยมะเร็งเม็ดเลือดขาวกลุ่มลิมโฟซิติค
ในการวินิจฉัย โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวกลุ่มลิมโฟซิติค นั้น แพทย์จะตรวจเลือดและตรวจไขกระดูก การตรวจไขกระดูกต้องใช้กล้องจุลทรรศน์ตรวจดูความผิดปกติของเซลล์ในไขกระดูก ยิ่งไปกว่านั้นแพทย์จะขอให้ทำเอ็กซเรย์ทรวงอก ทำซีทีสแกนและอุลตร้าซาวนด์
การรักษามะเร็งเม็ดเลือดขาวกลุ่มลิมโฟซิติค
ข่าวดีสำหรับผู้ป่วย โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวกลุ่มลิมโฟซิติค คือ โรคนี้สามารถรักษาได้ด้วยการทำเคมีบำบัด
ผู้ป่วยควรถ่ายเลือด ทำเคมีบำบัด และรักษาด้วยการฉายรังสี กระบวนการเหล่านี้แบ่งเป็นขั้นตอนในการรักษา 4 ขั้นตอน โดย 2 ขั้นตอนแรก คือ การรักษาด้วยยา หลังจากนั้นผู้ป่วยจะเหมือนอาการดีขึ้น ขั้นที่ 3 จะทำการฉายรังสีที่สมอง ส่วนขั้นตอนที่ 4 คือ การทำเคมีบำบัดเพื่อกำจัดเซลล์มะเร็ง
แพทย์จะแนะนำกระบวนการปลูกถ่ายไขกระดูกที่เรียกว่า “การปลูกถ่ายสเต็มเซลล์ หรือเซลล์ต้นกำเนิด (Stem Cell Transplantation)’ ซึ่งเป็นการนำสเต็มเซลล์มาให้แก่ผู้ป่วยทางหลอดเลือดดำ จากนั้น สเต็มเซลล์เหล่านี้จะเคลื่อนเข้าไปในโพรงกระดูกของผู้ป่วย และแบ่งตัวสร้างเซลล์เม็ดเลือดใหม่ที่มีสุขภาพดีทดแทนเซลล์ที่ผิดปกติ
การปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตนเอง
การปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์หรือการเยียวยาตนเองที่ช่วยจัดการกับโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวกลุ่มลิมโฟซิติค
การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตนเองดังต่อไปนี้ จะช่วยให้คุณรับมือกับ โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวกลุ่มลิมโฟซิติค ได้
- พบคุณหมอสม่ำเสมอ เพื่อติดตามอาการและสุขภาพของคุณ
- ฟังคำแนะนำของแพทย์ ไม่ใช้ยาโดยไม่ปรึกษาแพทย์
- รักษาสุขภาพปากที่ดี บ้วนปากด้วยน้ำเกลืออุ่นและแปรงฟันด้วยแปรงที่นุ่ม
- ดื่มน้ำเป็นประจำ
- รับประทานอาหารและเครื่องดื่มที่มีแคลอรี่สูงหากคุณทำเคมีบำบัด
- ใช้ผ้าพันแผล น้ำแข็ง และพบคุณหมอหากเลือดออกมากกวาปกติ
- เข้าใจว่าวิธีการรักษาขึ้นอยู่กับอายุ พันธุกรรมและโอกาสที่จะมีผู้บริจาคสเต็มเซลล์
- ไม่ควรเข้าใกล้ผู้ป่วย เนื่องจากมีภูมิต้านทานต่ำ
หากคุณมีข้อสงสัย โปรดปรึกษาแพทย์เพื่อให้เข้าใจถึงวิธีการรักษาที่ดีที่สุดสำหรับคุณได้ดีขึ้น