backup og meta

คำถามพบบ่อยเกี่ยวกับ ‘ภูมิคุ้มกันบำบัด’ แนวทางใหม่รักษามะเร็ง

คำถามพบบ่อยเกี่ยวกับ ‘ภูมิคุ้มกันบำบัด’ แนวทางใหม่รักษามะเร็ง

ปัจจุบันเทคโนโลยีทางด้านการแพทย์มีความก้าวหน้าไปอย่างมาก โดยมีความมุ่งมั่นในการวิจัยรักษาโรคมะเร็งด้วยวิธีใหม่ ๆ อย่างต่อเนื่อง ทำให้ค้นพบวิธีการรักษามะเร็งแบบใหม่ที่เรียกว่า ‘ยาภูมิคุ้มกันบำบัด’ ซึ่งเป็นวิธีการรักษามะเร็งที่ช่วยควบคุมโรคได้ และมีผลข้างเคียงกับร่างกายน้อย แต่หลายคนอาจยังมีข้อสงสัยเกี่ยวกับภูมิคุ้มกันบำบัด บทความนี้จึงได้รวบรวมคำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับภูมิคุ้มกันบำบัดมาไว้ให้ทุกคนได้หาคำตอบกัน 

1. ภูมิคุ้มกันบำบัด คืออะไร ทำงานอย่างไร?

หลักการทำงานเพื่อการรักษามะเร็งของภูมิคุ้มกันบำบัด หรือ Immunotherapy คือ การกระตุ้นการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน ที่มีหน้าที่คอยกำจัดสิ่งแปลกปลอมในร่างกาย ให้สามารถตรวจพบและกำจัดเซลล์มะเร็งได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น 

นอกจากนี้ ภูมิคุ้มกันบำบัดยังอาจช่วยชะลอการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง และช่วยลดการลุกลามของมะเร็งได้อีกด้วย

สนใจ “ยาภูมิคุ้มกันบำบัด” อ่านเพิ่มเติมได้ คลิก!

2. ภูมิคุ้มกันบำบัด ต่างจากจากเคมีบำบัด หรือยามุ่งเป้าอย่างไร

ภูมิคุ้มกันบำบัด หรือ Immunotherapy คือ วิธีที่แตกต่างจากวิธีการรักษามะเร็งอื่น ๆ อย่างการทำเคมีบำบัดหรือการใช้ยามุ่งเป้า เนื่องจากภูมิคุ้มกันบำบัดไม่ได้เข้าทำลายเซลล์มะเร็งโดยตรง แต่จะใช้วิธีการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันให้สามารถตรวจจับและทำลายเซลล์มะเร็งได้ ซึ่งอาจทำให้ผู้ป่วยสามารถทนต่อยาได้ดีกว่าและมีโอกาสเกิดผลข้างเคียงที่รุนแรงน้อยกว่าการรักษามะเร็งรูปแบบอื่น

3. จะรู้ได้อย่างไรว่าควรใช้ภูมิคุ้มกันบำบัดประเภทไหน?

คุณหมอจะเป็นผู้แนะนำประเภทของภูมิคุ้มกันบำบัดเพื่อรักษามะเร็งที่เหมาะสมสำหรับคุณ โดยพิจารณาจากปัจจัยต่าง ๆ ดังนี้

  • ประเภทของโรคมะเร็ง
  • ระยะของโรคมะเร็ง
  • ประวัติการรักษาโรคมะเร็งของคุณ

4. สามารถใช้ภูมิคุ้มกันบำบัดรักษาโรคมะเร็งชนิดใดได้บ้าง?

ในปัจจุบัน ภูมิคุ้มกันบำบัดได้รับการยืนยันว่าสามารถใช้เพื่อรักษาโรคมะเร็งได้หลายชนิด โดยอาจใช้ร่วมกับการรักษามะเร็งรูปแบบอื่น ๆ เช่น เคมีบำบัด การฉายรังสีบำบัด เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษามะเร็ง

โดยตัวอย่างโรคมะเร็งที่ได้รับการยืนยันประสิทธิภาพในการรักษาด้วยภูมิคุ้มกันบำบัด ได้แก่

  • มะเร็งปอด
  • มะเร็งปากมดลูก
  • มะเร็งเต้านม
  • มะเร็งศีรษะและคอ
  • มะเร็งลำไส้
  • มะเร็งกระเพาะอาหาร
  • มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ

5. ภูมิคุ้มกันบำบัดให้ได้ตอนไหน

สามารถให้ได้เป็นทั้งการรักษาหลัก และการรักษาเสริม สำหรับการรักษาหลัก เป็นการกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายให้รู้จักมะเร็ง และทำให้เซลล์เม็ดเลือดขาวแข็งแกร่งขึ้น และฆ่าเซลล์มะเร็งได้อย่างตรงจุดโดยใช้ภูมิคุ้มกันในร่างกายตัวเอง 

ในการรักษาเสริม เป็นการให้ก่อนการผ่าตัดเพื่อลดขนาดก้อนมะเร็ง ทำให้สามารถผ่าตัดเอาก้อนมะเร็งออกได้ดียิ่งขึ้น หรือ ให้ภายหลังการผ่าตัดเอาก้อนมะเร็งออกหมดแล้ว เพื่อลดการกลับมาเป็นซ้ำ และเพิ่มโอกาสการหายจากโรค 

6. ภูมิคุ้มกันบำบัดมีผลข้างเคียงอย่างไร? 

การทำภูมิคุ้มกันบำบัดเพื่อรักษามะเร็ง อาจทำให้เกิดผลข้างเคียงบางอย่างที่มักจะไม่รุนแรงและสามารถหายไปได้เอง โดยผลข้างเคียงที่พบได้บ่อยของภูมิคุ้มกันบำบัด มีดังนี้

  • เป็นไข้
  • อ่อนเพลีย
  • ท้องเสีย 
  • คลื่นไส้ อาเจียน
  • รบกวนการทำงานของอวัยวะส่วนอื่น ๆ เช่น ตับ ไต ต่อมไทรอยด์
  • บางคนอาจมีอาการแพ้ต่าง ๆ เช่น ผื่นคัน รอยแดง และอาการปวดในบริเวณที่ได้รับยา

อย่างไรก็ตาม การใช้ยาภูมิคุ้มกันบำบัดอาจจะเหมาะสมสำหรับผู้ป่วยบางคนเท่านั้น ดังนั้นจึงควรปรึกษาแพทย์เพิ่มเติมสำหรับการรักษาที่เหมาะสมต่อไป

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

  • https://www.uhs.nhs.uk/Media/UHS-website-2019/Patientinformation/Cancercare/Immunotherapy-2698-PIL.pdf   
  • https://www.cancer.gov/about-cancer/treatment/types/immunotherapy#how-does-immunotherapy-work-against-cancer  
  • https://www.cancer.org/cancer/managing-cancer/treatment-types/immunotherapy/what-is-immunotherapy.html  
  • https://my.clevelandclinic.org/health/treatments/11582-immunotherapy  
  • https://www.cancerresearch.org/what-is-immunotherapy

เวอร์ชันปัจจุบัน

20/03/2024

เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย พลอย วงษ์วิไล

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

ปัจจัยเสี่ยง โรคมะเร็ง และการดูแลสุขภาพ

ตรวจมะเร็ง คัดกรองโรคเพื่อสุขภาพที่ดีในระยะยาว


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

พลอย วงษ์วิไล


เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 20/03/2024

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา