backup og meta

เบาหวานลงไต ภาวะแทรกซ้อน ที่เป็นอันตรายต่อผู้ป่วยเบาหวาน

เบาหวานลงไต ภาวะแทรกซ้อน ที่เป็นอันตรายต่อผู้ป่วยเบาหวาน

เบาหวานลงไต (Diabetic Nephropathy หรือ Diabetic Kidney Disease) เป็นอีกหนึ่งภาวะแทรกซ้อนชนิดรุนแรงที่พบบ่อยในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 และผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ซึ่งทำให้ไตทำงานผิดปกติ และเป็นสาเหตุอันดับหนึ่งของไตวาย อีกทั้งก่อให้เกิดโรคและภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ เช่น  ความดันโลหิตสูง คอเลสเตอรอลในเลือดสูง  โรคหลอดเลือดหัวใจ 

สาเหตุเบาหวานลงไต

เบาหวานลงไต (Diabetic Nephropathy หรือ Diabetic Kidney Disease) จัดเป็นภาวะแทรกซ้อนชนิดรุนแรงของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 1 (Type 1 diabetes) และโรคเบาหวานชนิดที่ 2 (Type 2 diabetes) โดยสาเหตุหลักเกิดจากโรคเบาหวานทำให้หลอดเลือดและเซลล์อื่น ๆ ในไตถูกทำลาย เมื่อไตเกิดความผิดปกติจึงกำจัดของเสียออกจากร่างกายได้น้อยลง เมื่อกระบวนการขับของเสียที่ไตไม่สามารถทำหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ของเสียบริเวณไตจึงเริ่มส่งผลเสียต่ออวัยวะส่วนต่าง ๆ ในร่างกาย ส่งผลร้ายแรงทำให้เกิดภาวะไตวาย เป็นอันตรายต่อชีวิตได้

อาการเบาหวานลงไต  

 เบาหวานลงไตในระยะแรกมักไม่แสดงอาการมากนัก แต่เมื่อผ่านไปสักระยะผู้ป่วยเบาหวานจะเริ่มมีอาการ ดังต่อไปนี้

ปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดเบาหวานลงไต  

ปัจจัยเสี่ยงของเบาหวานลงไต มีดังต่อไปนี้

  • ระดับความดันโลหิตสูง ในระดับที่ไม่สามารถควบคุมได้
  • สูบบุหรี่
  • น้ำหนักส่วนเกิน ภาวะโรคอ้วน
  • ระดับคอเลสเตอรอลในเลือดสูง
  • น้ำตาลในเลือดสูง ในระดับที่ไม่สามารถควบคุมได้
  • สมาชิกในครอบครัวเคยมีประวัติเป็นเบาหวานลงไต

วิธีลดความเสี่ยงเบาหวานลงไต 

วิธีลดความเสี่ยงของภาวะเบาหวานลงไตในผู้ป่วยเบาหวาน มีดังต่อไปนี้

  • หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ เพราะสารในบุหรี่จะส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของไตให้ลดลง
  • ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน  หรือหากจำเป็นต้องลดน้ำหนักควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเพื่อวางแผน
  • ออกกำลังกายเป็นประจำสม่ำเสมอ เพื่อลดความเสี่ยงของโรคเบาหวาน
  • หลีกเลี่ยงการซื้อยามารับประทานเองโดยเฉพาะกลุ่มยาบรรเทาอาการปวดอย่าง ยาแอสไพริน (Aspirin) ยาไอบูโพรเฟน (Ibuprofen) เป็นต้น
  • ควรไปพบแพทย์ตามนัดทุกครั้ง
  • รับประทานยารักษาเบาหวานตามแพทย์สั่งและปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด 

อย่างไรก็ตาม หากมีอาการผิดปกติที่เข้าข่ายเบาหวานลงไต ควรรีบปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางในการรักษา เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนหรือโรคร้ายแรงอื่น ๆ 

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Diabetic nephropathy (kidney disease). https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/diabetic-nephropathy/symptoms-causes/syc-20354556. Accessed January 25, 2022.

Diabetes – A Major Risk Factor for Kidney Disease. https://www.kidney.org/atoz/content/diabetes. Accessed January 25, 2022.

Diabetic Nephropathy. https://www.webmd.com/diabetes/guide/diabetes-kidney-disease. Accessed January 25, 2022.

Diabetic Nephropathy.https://emedicine.medscape.com/article/238946-overview. Accessed January 25, 2022.

diabetic nephropathy (kidney disease). https://www.diabetes.org.uk/guide-to-diabetes/complications/kidneys_nephropathy. Accessed January 25, 2022.

เวอร์ชันปัจจุบัน

04/07/2022

เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย นายแพทย์กมล โฆษิตรังสิกุล

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

วิธีการดูแลผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 และภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน

ภาวะแทรกซ้อนจากเบาหวานชนิดที่ 1 มีอะไรบ้าง


ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

นายแพทย์กมล โฆษิตรังสิกุล

โรคเบาหวาน · โรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช


เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์ · แก้ไขล่าสุด 04/07/2022

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา