backup og meta

อินซูลิน มากเกินไป ส่งผลอย่างไรต่อสุขภาพ

อินซูลิน มากเกินไป ส่งผลอย่างไรต่อสุขภาพ

อินซูลิน ในร่างกาย มากเกินไป (Hyperinsulinemia) หรือภาวะดื้อต่ออินซูลิน (Insulin resistance) เป็นภาวะที่ร่างกายไม่สามารถใช้อินซุูลินได้อย่างมีประสิทธิภาพ ร่างกายอาจมีระดับอินซูลินเพิ่มสูงขึ้นและอาจพัฒนาไปเป็นโรคเบาหวานได้ ซึ่งการรักษาอาจทำได้ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน ปรับการรับประทานอาหารและออกกำลังกายเพื่อช่วยในการเผาผลาญและควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้เป็นปกติ

[embed-health-tool-bmi]

อินซูลิน คืออะไร

อินซูลิน คือ  ฮอร์โมนชนิดหนึ่งที่ผลิตจากตับอ่อน มีหน้าที่หลักในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ โดยอินซูลินจะช่วยให้เซลล์ต่าง ๆ ดึงนำตาลในเลือดเข้าสู่เซลล์เพื่อเผาผลาญเปลี่ยนเป็นพลังงาน ซึ่งผู้ป่วยเบาหวานที่ตับอ่อนมีความผิดปกติในการผลิตอินซูลิน จึงมีน้ำตาลในเลือดสูงและพัฒนาไปเป็นโรคเบาหวานได้

อินซูลิน มากเกินไป ส่งผลเสียต่อสุขภาพอย่างไร

ภาวะอินซูลินในร่างกายมากเกินไป หรือภาวะดื้อต่ออินซูลิน คือ ภาวะที่ร่างกายผลิตฮอร์โมนอินซูลินออกมามากขึ้นเพื่อพยามช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด ซึ่งปกติเเล้ว ตับอ่อนจะเพิ่มการผลิตและหลังฮอร์โมนอินซูลินสูงขึ้นหลังจากรับประทานอาหารโดยเฉพาะอาหารประเภทแป้งและน้ำตาล แต่ในผู้ที่มี ภาวะดื้อต่ออินซูลิน เซลล์ในร่างกายจะไม่สามารถตอบสนองต่ออินซูลินได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงทำให้เเม้จะมี อินซูลินในปริมาณสูงแล้วก็ตาม เเต่เซลล์ก็ไม่สามารถนำน้ำตาลไปเผาผลาญได้เหมาะสม จึงส่งผลให้มีระดับน้ำตาลในเลือดสูง โดยที่กลไกนี้เป็นสาเหตหลักของการพัฒนาไปเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 นอกจากนี้ การที่ตับอ่อนพยามผลิดอินซูลินมากขึ้นเรื่อยๆนี้ หากปล่อยทิ้งไว้เป็นระยะเวลานาน หรือเรื้อรัง ในที่สุดตับอ่อนจะล้า จนทำให้สุดท้ายเเล้วตับอ่อนจะไม่สามารถผลิตอินซูลินได้เพียงพอที่จะควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด

โดยผู้ที่มีภาวะดื้อต่ออินซูลิน อาจพบมีปื้นสีน้ำตาล/คล้ำตามข้อพับ รักเเร้ หรือคอด้านหลัง อย่างไรก็ตาม มักไม่มีอาการแสดงมากนัก ผู้ป่วยจึงไม่รู้ตัวจนระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นและพัฒนาไปเป็นโรคเบาหวาน หรือมีภาวะน้ำตาลในเลือดสูง ที่มีอาการดังนี้

  • กระหายน้ำมากขึ้น ปัสสาวะบ่อย
  • เหนื่อยล้า อ่อนเพลีย ไม่มีเเรง
  • หิวบ่อย
  • ปวดศีรษะ/เวียนศีรษะ
  • ตาพร่ามัว
  • น้ำหนักลดลงโดยไม่ทราบสาเหตุ
  • ผิวเเห้ง

ปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพเมื่อร่างกายมีอินซูลิน มากเกินไป

เมื่อร่างกายมี อินซูลิน มากเกินไป อาจส่งผลให้เกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ได้ และอาจก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพอื่น ๆ เช่น

  • ระดับไตรกลีเซอไรด์สูงขึ้น (Triglycerides)ซึ่งเป็นไขมันที่ไม่ดีต่อร่างกายที่อาจเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง โรคอ้วน โรคตับอ่อนอักเสบ โรคไขมันพอกตับ
  • ภาวะกรดยูริกในเลือดสูง (Hyperuricemia)อาจมีความเสี่ยงเกิดโรคบางชนิด เช่น โรคความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง โรคอ้วนลงพุง โรคเบาหวาน
  • ภาวะหลอดเลือดแข็งตัว (Artherosclerosis)เป็นภาวะของผนังหลอดเลือดแดงชั้นในหนาขึ้นเนื่องจากมีไขมันสะสม จึงอาจทำให้มี ความดันโลหิตสูง เเละ อาจพัฒนาไปเป็นหลอดเลือดตีบได้
  • ภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วนเนื่องจากมีการสะสมของน้ำตาล ร่างกายจะเปลี่ยนน้ำตาลส่วนเกินไปเป็นไขมันจึงทำให้เป็นโรคอ้วนได้

การรักษาภาวะอินซูลินในร่างกายมากเกินไป

ภาวะอินซูลินในร่างกายมากเกินไป หรือ ภาวะดื้อต่ออินซูลิน สามารถรักษาได้ด้วยการปรับพฤติกรรมสุขภาพเลือกรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพ โดยรับประทานอาหารที่หลายหลากอุดมไปด้วยโปรตีน คาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน ใยอาหารสูง เน้นอาหารที่มีน้ำตาลและไขมันต่ำ รวมทั้งออกกำลังกายเพื่อช่วยเพิ่มการเผาผลาญน้ำตาลเเละไขมันส่วนเกิน ซึ่งสามารถช่วยปรับสุขภาพร่างกายให้เเข็งเเรงและช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้สมดุลขึ้น

เเต่ในผู้ที่มีภาวะเบาหวานเเล้ว อาจจำเป็นต้องใช้ยาในกาารักษาร่วมด้วย ซึ่งอาจจะเป็นยารับประทานเพื่อลดระดับน้ำตาล หรือเป็นยาฉีดอินซูลิน ทั้งนี้คุณหมอจะพิจารณาตามความเหมาะสมของเเต่ละบุคล

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Hyperglycemia in diabetes. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/hyperglycemia/symptoms-causes/syc-20373631. Accessed June 17, 2022

Hyperinsulinemia: Is it diabetes?. https://docs.google.com/document/d/1MIVwvKKo3BA4SA1z9P244C8-4-ImO_iAIITHvZH4mlo/edit. Accessed June 17, 2022

Insulin Resistance. https://docs.google.com/document/d/1MIVwvKKo3BA4SA1z9P244C8-4-ImO_iAIITHvZH4mlo/edit. Accessed June 17, 2022

How to Handle an Insulin Overdose. https://www.webmd.com/diabetes/insulin-overdose. Accessed June 17, 2022

Diabetes and insulin. https://www.betterhealth.vic.gov.au/health/conditionsandtreatments/diabetes-and-insulin. Accessed June 17, 2022

เวอร์ชันปัจจุบัน

30/07/2022

เขียนโดย ทัตพร อิสสรโชติ

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย แพทย์หญิงบุรัสกร ทวีบูรณ์

อัปเดตโดย: Duangkamon Junnet


บทความที่เกี่ยวข้อง

อาการเบาหวานสูง เป็นอย่างไร และควรดูแลตัวเองอย่างไร

ตับอ่อนอักเสบ อาการ และผลกระทบต่อโรคเบาหวาน


ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

แพทย์หญิงบุรัสกร ทวีบูรณ์

โรคเบาหวาน · SRK BMI Center


เขียนโดย ทัตพร อิสสรโชติ · แก้ไขล่าสุด 30/07/2022

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา