backup og meta

เบาหวาน เหงื่อออกมาก สาเหตุ การรักษาและการดูแลตัวเอง

เบาหวาน เหงื่อออกมาก สาเหตุ การรักษาและการดูแลตัวเอง

เบาหวาน เหงื่อออกมาก เป็นภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวานชนิดหนึ่ง ที่พบได้ไม่บ่อยนัก เกิดจากความผิดปกติของระบบประสาทที่ควบคุมการหลั่งเหงื่อ อาจเกิดขึ้นเมื่อผู้ป่วยรับประทานอาหารรสเผ็ด อยู่ในพื้นที่ร้อน หรือเป็นอาการเเสดงของภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ

[embed-health-tool-bmi]

เบาหวาน เหงื่อออกมาก เกิดจากอะไร

เบาหวานและอาการเหงื่อออกมาก เป็นภาวะที่ต่อมเหงื่อของร่างกายผลิตเเละขับเหงื่อออกมาปริมาณมากกว่างปกติ อาจพบในช่วงระหว่างที่กำลังรับประทานอาหารหรือหลังจากรับประทานอาหารทันที รวมถึงอาจสัมพันธ์กับอากาศที่ร้อน รสเผ็ดหรือกลิ่นของอาหาร รวมถึงเกิดจากความผิดปกติของระบบการขับเหงื่อ ที่ขับเหงื่อออกมามากเกินไปโดยเฉพาะบริเวณลำคอและใบหน้า ซึ่งอาการดังเกล่าอาจเป็นภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากโรคเบาหวานได้ แม้อาการเหงื่อออกมากอาจไม่ได้ส่งผลเสียร้ายแรงต่อสุขภาพ แต่อาจก่อให้เกิดปัญหาเเละความทุกข์ทางจิตใจ ทำให้ผู้ที่มีอาการอาจเสียความมั่นใจและรู้สึกอับอาย จนส่งผลต่อพฤติกรรมการรับประทานอาหาร อาจทำให้รู้สึกเบื่ออาหาร ความอยากอาหารลดลง รับประทานอาหารน้อยลงหรือไม่รับประทานอาหาร ซึ่งอาจทำให้เกิดอันตรายจากภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำในผู้ป่วยเบาหานที่ใช้ยาลดระดับนำ้ตาลในเลือดกลุ่มซัลโฟนิลยูเรีย (Sulfonylurea) เเละ ผู้ที่ใช้ยาฉีดอินซูลินได้

โดยอาการเหงื่อออกมากในผู้ป่วยโรคเบาหวานอาจแบ่งได้เป็น 3 กลุ่ม ดังนี้

  • เหงื่อออกมากจากอุณหภูมิภายนอกและภายในร่างกาย
  • เหงื่อออกมากจากการรับประทานอาหาร
  • เหงื่อออกมาก ซึ่งอาจเกิดจากภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ ซึ่งอาจเกิดได้ตลอดเวลา รวมถึงในตอนกลางคืนขณะที่นอนหลับ

การรักษาอาจต้องพิจารณาถึงสาเหตุของอาการเหงื่ออกมากในข้างต้น เพื่อรักษาที่สาเหตุร่วมกับการรักษาเฉพาะจุดที่มีเหงื่อออกมาก

การรักษาอาการเหงื่อออกมาก

การรักษาอาการเหงื่อออกมาก โดยทั่วไป อาจทำได้ดังนี้

การรักษาด้วยยา

  • ยากลุ่มที่ลดการทำงานของเส้นประสาท เป็นยาชนิดรับประทานโดยจะออกฤทธิ์ลดการส่งสัญญาณระหว่างเส้นประสาท ซึ่งจะสามารถช่วยลดอาการเหงื่อออกมากได้ แต่อาจมีผลข้างเคียง เช่น ปากแห้ง ตาพร่ามัว ปัสสาวะลำบากปัสสาวะ
  • ยาทาหรือครีมระงับเหงื่อ เป็นยาที่ต้องได้รับการสั่งจ่ายจากคุณหมอ ซึ่งอาจมีผลข้างเคียง เช่น ระคายเคืองผิวและดวงตาได้
  • การฉีดโบท็อกซ์ เพื่อลดการทำงานของเส้นประสาทที่กระตุ้นทำต่อมเหงื่อทำงานมากจนเกินไป ซึ่งการรักษาด้วยวิธีนี้ให้ผลประมาณ 6-12 เดือน จึงจำเป็นต้องรับการรักษาซ้ำเพื่อให้เกิดผลอย่างต่อเนื่อง
  • ยาคลายเครียดบางกลุ่ม เป็นยาที่มักใช้รักษาโรคซึมเศร้าหรืออาการวิตกกังวลเเต่มีผลช่วยลดการขับเหงื่อได้ด้วย

การผ่าตัด

  • การผ่าตัดต่อมเหงื่อ เป็นการผ่าตัดเพื่อเอาต่อมเหงื่อออก มักใช้รักษาเฉพาะบริเวณรักแร้
  • การรักษาด้วยกระแสไฟฟ้า เพื่อทำลายต่อมเหงื่อ แต่ต้องเข้ารับการรักษาหลายครั้ง ใช้เวลาครั้งละประมาณ 20-30 นาที เเละอาจมีผลข้างเคียง เช่น การรับรู้ความรู้สึกที่ผิวหนังเปลี่ยนไป รู้สึกไม่สบายผิวได้
  • การผ่าตัดเส้นประสาท เป็นการผ่าตัดเอาเส้นประสาทที่ควบคุมการขับเหงื่อที่ฝ่ามือออก โดยการขับเหงื่อบริเวณอื่นอาจยังคงเกิดขึ้นเหมือนเดิม มักใช้ในกรณีที่รักษาด้วยวิธีอื่นแล้วไม่เห็นผล

การดูแลตัวเองเมื่อมีอาการเหงื่อออกมาก

การดูแลตัวเองเพื่อบรรเทาอาการเหงื่อออกมาก อาจทำได้ดังนี้

  • สวมเสื้อผ้าที่มีเนื้อผ้าโปร่ง สบาย ระบายอากาศได้ดี ไม่อึดอัดและไม่ก่อให้เกิดความระคายเคือง
  • อาบน้ำทุกวัน อย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง เช้าและก่อนนอน เพื่อทำความสะอาดสิ่งสกปรกและเหงื่อไคล ลดการสะสมของเชื้อแบคทีเรียที่อาจก่อให้เกิดกลิ่นตัว
  • เลือกใช้ผลิตภัณฑ์ระงับกลิ่นกาย ที่ช่วยระงับเหงื่อและปัญหากลิ่นกาย
  • เช็ดตัวให้แห้งเสมอโดยเฉพาะบริเวณซอก ข้อพับ หรือบริเวณที่อับชื้นง่าย เช่น รักแร้ เท้า เพื่อทำความสะอาดเเละป้องกันการสะสมของเชื้อแบคทีเรียและเชื้อรา ที่อาจก่อให้เกิดกลิ่นกายและปัญหาผิวหนังตามมา
  • จัดการกับความเครียด ในบางครั้งความเครียด ความตื่นเต้นและความวิตกกังวล อาจเป็นอีกปัจจัยที่ทำให้มีเหงื่อออกมากขึ้น จึงควรจัดการความเครียดด้วยกิจกรรมที่ทำให้ผ่อนคลาย

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Hyperhidrosis-diagnosis-treatment. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/hyperhidrosis/diagnosis-treatment/drc-20367173. Accessed March 24, 2023.

Hyperhidrosis. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/hyperhidrosis/symptoms-causes/syc-20367152. Accessed March 24, 2023.

Gustatory sweating in people with type 1 and type 2 diabetes mellitus: Prevalence and risk factors. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC8502225/. Accessed March 24, 2023.

Slideshow: Excessive Sweating in Women — Tips to Stay Dry. https://www.webmd.com/skin-problems-and-treatments/ss/slideshow-stop-sweating-tips. Accessed March 24, 2023.

Hypoglycemia (Low Blood Glucose). https://www.diabetes.org/healthy-living/medication-treatments/blood-glucose-testing-and-control/hypoglycemia. Accessed March 24, 2023.

เวอร์ชันปัจจุบัน

14/07/2023

เขียนโดย ทีม Hello คุณหมอ

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย Duangkamon Junnet

อัปเดตโดย: Duangkamon Junnet


บทความที่เกี่ยวข้อง

เบาหวาน อาการคัน ปัญหาผิวหนังที่พบบ่อย

เบาหวาน อาการ หนัก เป็นอย่างไร รวมถึงการป้องกันและการดูแลตัวเอง


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

Duangkamon Junnet


เขียนโดย ทีม Hello คุณหมอ · แก้ไขล่าสุด 14/07/2023

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา