backup og meta
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ถามคุณหมอ
บันทึก
สารบัญ

ดาวเรืองหม้อ (Calendula)

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย Ploylada Prommate · แก้ไขล่าสุด 12/05/2020

ดาวเรืองหม้อ (Calendula)

การใช้ประโยชน์ ดาวเรืองหม้อ

ดาวเรืองหม้อ ใช้ทำอะไร

ดอกดาวเรืองหม้อ (Calendula) คือ พืชชนิดหนึ่ง ซึ่งสามารถนำส่วนของดอกมาปรุง หรือสกัดเป็นยาบำรุง ตระกูลดาวเรืองมักมีหลายสายพันธุ์ด้วยกัน แต่สรรพคุณค่อนข้างแตกต่างกัน ดอกดาวเรืองหม้อสามารถช่วยบรรเทาอาการต่างๆ ได้ ดังนี้

  • ป้องกันกล้ามเนื้อหดตัว
  • บำรุงร่างกายในช่วงมีประจำเดือน
  • ลดไข้
  • บรรเทาอาการเจ็บคอ และรักษาช่องปาก
  • มะเร็งกระเพาะอาหาร
  • รักษาแผลในลำไส้เล็ก
  • ลดอาการปวด และบวมอักเสบบริเวณผิวหนัง
  • รักษาบาดแผลที่บริเวณขา
  • บรรเทาอาการตกเลือด
  • เส้นเลือดขอด
  • ริดสีดวงทวาร
  • การอักเสบของเยื่อบุตา

การทำงานของดาวเรืองหม้อเป็นอย่างไร

มีการศึกษาไม่เพียงพอเกี่ยวกับวิธีการทำงานของดอกดาวเรืองหม้อ ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม แต่อย่างไรก็ตาม ได้มีการค้นพบว่า สารเคมีในดาวเรืองหม้อช่วยเสริมสร้างเนื้อเยื่อใหม่ในบริเวณที่เป็นแผล และช่วยลดอาการบวมบริเวณช่องปาก และลำคอได้

ข้อควรระวังและคำเตือน

เราควรรู้อะไรก่อนใช้ดาวเรืองหม้อ

ควรปรึกษากับแพทย์และเภสัชกรหรือผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรถ้ามีอาการหรือลักษณะ ดังต่อไปนี้

  • ตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร เนื่องจากในขณะที่ตั้งครรภ์หรือให้นมบุตรควรจะได้รับยาหรือสมุนไพรบำรุง ที่จัดจำหน่ายโดยแพทย์เท่านั้น
  • อยู่ในระหว่างการใช้ยาหรือสมุนไพรอื่นๆ ร่วมด้วย รวมถึงยาทุกชนิดที่ซื้อรับประทานเองโดยไม่มีใบสั่งยาจากแพทย์
  • มีอาการแพ้สารที่มีส่วนประกอบของดอกดาวเรืองหม้อ หรือยาและสมุนไพรชนิดอื่น
  • มีอาการเจ็บป่วย มีอาการผิดปกติ หรือมีโรคอื่นๆ แทรกซ้อน
  • มีอาการแพ้ต่าง ๆ เช่นแพ้อาหาร สีผสมอาหาร สารกันบูด หรือเนื้อสัตว์

ข้อบังคับสำหรับผลิตภัณฑ์สมุนไพรเสริมอาหารนั้นมีความเข้มงวดน้อยกว่าข้อบังคับของการใช้ยา จึงจำเป็นต้องศึกษาเพิ่มเติมเพื่อความปลอดภัยในการใช้ ประโยชน์ของการใช้ผลิตภัณฑ์สมุนไพรเสริมอาหารนี้จะต้องมีค่าน้ำหนักมากกว่าความเสี่ยง ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม

ดาวเรืองหม้อมีความปลอดภัยแค่ไหน

ดอกดาวเรืองหม้อมีความปลอดภัยเมื่อใช้รับประทาน และใช้ทาบริเวณผิวหนัง

ผู้ที่อยู่ในระหว่างตั้งครรภ์ หรือช่วงให้นมบุตร : ไม่ควรรับประทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่มีส่วนประกอบจากดาวเรืองหม้อ ควรหลีกเลี่ยงการใช้เพื่อความปลอดภัย

อาการแพ้รุนแรงที่เกิดจากพืช : หากผู้ใช้มีอาการแพ้ควรตรวจสอบข้อมูลจากแพทย์ก่อนการช้ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารจากดาวเรืองหม้อ

การผ่าตัด : ควรหยุดใช้ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารจากดาวเรืองหม้อก่อนการผ่าตัด อย่างน้อย 2 สัปดาห์

ผลข้างเคียง

ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้ดาวเรืองหม้อมีอะไรบ้าง

  • การแท้งบุตร
  • เกิดอาการแพ้สำหรับผู้ที่เคยแพ้เกสรของดอกไม้ เพราะอาจทำให้เกิดอาการหอบหืดได้
  • เกิดอาการง่วงซึมมากเกินไป ถ้าหากใช้ร่วมกับยาที่ใช้ระหว่างผ่าตัดหรือหลังผ่าตัด

ไม่ใช่ทุกคนที่จะได้รับผลข้างเคียงดังกล่าว ซึ่งหากพบอาการข้างเคียงใดๆ ควรปรึกษาแพทย์หรือนักสมุนไพรศาสตร์ก่อนการใช้เสมอ

ปฏิกิริยาระหว่างยา

ดาวเรืองหม้ออาจมีปฏิกิริยาระหว่างยา และโรคประจำตัวในปัจจุบันของคุณ ควรปรึกษาแพทย์ หรือผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรก่อนใช้

ผลิตภัณฑ์ที่อาจมีปฏิกิริยากับผลิตภัณฑ์เสริมอาหารจากดาวเรือง เช่น : ยาระงับประสาท (ยากดประสาทส่วนกลาง) ดาวเรืองหม้ออาจส่งผลให้มีอาการง่วงซึม และมีอาการครึ่งหลับครึ่งตื่น ยาที่มีปฏิกิริยาเหล่านี้จัดอยู่ในประเภทยากล่อมประสาท ซึ่งประกอบไปด้วย โคลนาซีแพม (clonazepam) , ลอราซีแพม (lorazepam) , ฟีโนบาร์บิทัล (phenobarbital) , โซลพิเดม (zolpidem) และอื่นๆ ฉะนั้นการรับประทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหารจากดาวเรืองหม้อ ควบคู่กับยากล่อมประสาทอาจทำให้มีอาการง่วงซึมมากเกินไป

ขนาดการใช้

ข้อมูลนี้ไม่สามารถเป็นคำสั่งในการใช้ยาได้ ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญทางด้านสมุนไพรหรือแพทย์ก่อนการใช้

ปกติแล้วควรใช้ดาวเรืองหม้อในปริมาณเท่าใด

ปริมาณการใช้ดอกดาวเรืองหม้อ อาจแตกต่างกันไปในผู้ป่วยแต่ละบุคคล โดยขึ้นอยู่กับอายุ สุขภาพและปัจจัยอื่นๆ การใช้ยาสมุนไพรนั้นอาจไม่ได้มีความปลอดภัยเสมอ จึงควรปรึกษานักสมุนไพรศาสตร์ หรือแพทย์ในเรื่องปริมาณที่เหมาะสม

สมุนไพรดังกล่าวอาจอยู่ในรูปแบบใด

สมุนไพรดังกล่าวอาจอยู่ในรูปแบบใด

สมุนไพรดังกล่าวอาจอยู่ในรูปแบบต่อไปนี้ :

  • ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร (แคปซูล)
  • สารสกัดจากดาวเรืองหม้อ

Hello Health Group  ไม่ได้ให้คำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัย หรือการรักษาแต่อย่างใด

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย Ploylada Prommate · แก้ไขล่าสุด 12/05/2020

advertisement iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา