banner

เช็กความเสี่ยง!

Subot Icon

แบบประเมินความเสี่ยงโรคโควิด-19

Subot Icon

แบบประเมินความเสี่ยง มะเร็งตับ ออนไลน์

Subot Icon

เครื่องมือค้นหา วัคซีนผู้ใหญ่ ออนไลน์

Subot Icon

แบบประเมินความเสี่ยงโรคเบาหวาน

ดูแลสุขภาพในช่วงหน้าร้อน

ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพทั่วไป

เคล็ดลับ ดับร้อน ในช่วงอากาศที่แสนจะร้อนอบอ้าว

แน่นอนว่าเมื่อพูดถึงความร้อน ประเทศไทยถือเป็นอีกหนึ่งประเทศที่มีอากาศที่ร้อนและอบอ้าวเสียเหลือเกิน อากาศร้อนนอกจากจะทำให้ร่างกายเสียเหงื่อมากแล้ว บางครั้งยังอาจทำให้คนเกิดอารมณ์หงุดหงิดได้อีกด้วย ดังนั้นทาง Hello คุณหมอ จึงได้นำ เคล็ดลับ ดับร้อน ในช่วงอากาศที่แสนอบอ้าวมาฝากกัน เคล็ดลับ ดับร้อน สามารถทำอะไรได้บ้าง ในช่วงอากาศร้อน หลายบ้านอาจจะไม่มีเครื่องปรับอากาศ ดังนั้น การที่จะต้องอยู่ในอากาศที่ร้อนอบอ้าวจึงถือเป็นเรื่องที่ท้าทายสำหรับทุกคน ดังนั้น ลองมาดูวิธี ดับร้อน กันดีกว่า ว่าคุณสามารถทำอะไรเพื่อดับร้อนได้บ้าง ใช้พัดลมหรือพัดลมเพดาน เพื่อทำให้อากาศในบ้านไหลเวียนได้ดีขึ้น การเปิดประตูในบ้านและเปิดพัดลมเพื่อดับลมร้อนภายนอก ทั้งยังดึงอากาศที่เย็นเข้ามาในบ้าน ในช่วงเย็น เมื่ออากาศเย็นลงการเปิดหน้าต่างภายในบ้านทั้งหมด จะเป็นการช่วยให้อากาศในบ้านไหลเวียนได้มากที่สุด หลังจากนั้นเมื่อพระอาทิตย์ขึ้น ก็ให้ปิดประตูและหน้าตาทุกบ้าน อย่าลืมปิดม่านและมู่ลี่ด้วย เพื่อรักษาความเย็นภายในบ้านให้นานที่สุด เมื่ออากาศภายนอกเย็นลงถึงอุณภูมิที่ต่ำกว่าภายใน ซึ่งโดยปกติจะเป็นช่วงเย็นหรือกลางคืน ให้เปิดหน้าต่างแล้วเปิดพัดลมอีกครั้ง ใช้ประโยชน์จากพลังงานความเย็นของน้ำ คุณอาจจะนำถังใส่น้ำแล้วแช่เท้าของคุณ หรือไม่เช่นนั้นอาจจะนำผ้าขนหนูชุดน้ำให้เปียกมาวางลงบนไหล่หรือศีรษะ ไม่อย่างนั้นก็พยายามอาบน้ำเย็น และลองใช้ขวดสเปรย์ที่เต็มไปด้วยน้ำเย็นฉีดใส่ตัวเองเพื่อเพิ่มความรู้สึกสดชื่นตลอดทั้งวัน ดื่มน้ำในปริมาณมาก หนึ่งในวิธีที่ดีที่สุดในการหลีกเลี่ยงความเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นจากความร้อน ก็คือ การดื่มน้ำปริมาณมาก ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งสำคัญ เนื่องจากร่างกายคุณจำเป็นต้องเก็บน้ำเอาไว้ แม้ว่าจะไม่รู้สึกกระหาย และเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดภาวะขาดน้ำ พยายามหลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ น้ำร้อน หรือน้ำหวาน รวมถึงชาและกาแฟ เพราะสิ่งเหล่านี้สามารถทำให้การกักเก็บน้ำของร่างกายแย่ลง ลงมาอยู่ชั้นล่างของบ้าน เนื่องจากอากาศร้อนมักจะขึ้นไปยังชั้นบนของบ้าน จึงทำให้บ้านชั้นบนรู้สึกอบอ้าวกว่าชั้นล่าง ดังนั้น การลงมาอยู่ชั้นล่างของบ้าน หรือถ้าบ้านมีชั้นใต้ดิน ก็สามารถลงไปอยู่ได้ เพื่อหลบความร้อนจากตอนเที่ยง กำจัดแหล่งความร้อนพิเศษ ในความเป็นจริงแล้ว หลอดไฟ ก็สามารถสร้างความร้อนที่ไม่จำเป็นได้ เช่นเดียวกับคอมพิวเตอร์ […]

กินดี สุขภาพดี

โรคหน้าร้อนที่ควรระวัง

ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพทั่วไป

รู้หรือไม่ อากาศร้อน อันตรายต่อร่างกายมากกว่าที่เราคิด

อากาศร้อนกับประเทศไทยนั้นดูเหมือนจะเป็นของคู่กันไปเสียแล้ว เนื่องจากประเทศไทยนั้นเป็นประเทศที่ตั้งอยู่ในเขตร้อนใกล้เส้นศูนย์สูตร จึงทำให้มีอากาศร้อนอยู่เกือบตลอดทั้งปี จนทำให้หลายคนเกิดความเคยชิน และมองว่าเป็นเรื่องปกติที่ไม่มีอันตรายอะไร แต่ในความจริงแล้ว อากาศร้อน อาจมาพร้อมกับปัญหาสุขภาพต่าง ๆ มากมายอย่างที่หลายคนคาดไม่ถึง แต่ปัญหาเหล่านี้มีอะไรบ้าง และสามารถป้องกันปัญหาเหล่านี้ได้อย่างไร Hello คุณหมอ จะพาคุณไปหาคำตอบได้จากบทความนี้ [embed-health-tool-heart-rate] อากาศร้อน ภัยอันตรายที่หลายคนมองข้าม ตามปกติแล้ว ร่างกายของเราจะสามารถรักษาอุณหภูมิให้อยู่ที่ประมาณ 36 – 37.5 องศาเซลเซียส ซึ่งเป็นระดับปกติที่ร่างกายสามารถทนได้ แต่หากอยู่กลางแจ้งที่มีแดดร้อนเป็นเวลานาน อาจทำให้อุณหภูมิของร่างกายสูงมากเกินไป ทำให้ระบบต่าง ๆ ในร่างกายทำงานได้ยากลำบากขึ้น และเป็นอันตรายต่อสุขภาพได้ จากข้อมูลของกองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค พบว่า ในช่วงฤดูร้อนระหว่างเดือน มีนาคมถึงพฤษภาคม ตั้งแต่ปีพ.ศ 2558-2562 จะมีรายงานผู้เสียชีวิตเนื่องจากอากาศร้อนเป็นจำนวนมาก เฉลี่ยที่ประมาณ 38 ราย โดยเฉพาะในเดือนเมษายนที่มักจะมีอากาศร้อนมากที่สุด โดยอันตรายจากอากาศร้อนที่พบได้บ่อย มีดังนี้ โรคลมแดด หรือฮีทสโตรก (Heat Stroke) โรคลมแดดเป็นภาวะที่อันตรายที่สุดที่เกิดขึ้นจากอากาศร้อน โรคลมแดดนี้จะเกิดขึ้นเมื่อระบบควบคุมอุณหภูมิของร่างกายหยุดทำงาน ทำให้ร่างกายไม่สามารถลดอุณหภูมิลงได้ จนระบบและอวัยวะภายในร่างกายเกิดความผิดปกติ โรคลมแดดนี้สามารถสร้างความเสียหายต่อสมองและอวัยวะภายใน หรือทำให้เสียชีวิตได้หากไม่สามารถลดอุณหภูมิของร่างกายได้อย่างทันท่วงที อาการของโรคลมแดดอาจมีดังต่อไปนี้ ปวดหัว คลื่นไส้ กระหายน้ำอย่างรุนแรง ง่วงนอน ผิวแห้ง แตก […]

ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพทั่วไป

ลมแดด หรือ ฮีทสโตรก (Heat stroke) สาเหตุ อาการ และการรักษา

ลมแดด ถือว่าเป็นอาการป่วยจากความร้อนที่อันตรายที่สุด และมักเกิดขึ้นเมื่ออุณหภูมิของร่างกายเพิ่มสูงขึ้นมากกว่า 40 องศาเซลเซียสขึ้นไป [embed-health-tool-heart-rate] คำจำกัดความ ลมแดด คืออะไร ลมแดด (Heat stroke) คือภาวะที่ร่างกายร้อนจัดเกินไป อันเป็นผลมาจากการที่ร่างกายสัมผัสหรือต้องออกแรงในสภาพแวดล้อมที่มีอุณหภูมิสูงเป็นระยะเวลานาน ลมแดด ถือว่าเป็นอาการป่วยจากความร้อนที่อันตรายที่สุด และมักเกิดขึ้นเมื่ออุณหภูมิของร่างกายเพิ่มสูงขึ้นมากกว่า 40 องศาเซลเซียสขึ้นไป ผู้ป่วยโรคลมแดดนั้นเป็นควรได้รับการรักษาอย่างเร่งด่วน หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที อาจส่งผลกระทบร้ายแแรงต่อสมอง หัวใจ ไต และกล้ามเนื้อได้ ยิ่งได้รับการรักษาที่ช้าเท่าไหร่ ก็จะยิ่งเพิ่มความเสี่ยงที่ผู้ป่วยจะเกิดภาวะแทรกซ้อนและเสียชีวิตสูงขึ้น ลมแดด พบบ่อยเพียงใด? โรคลมแดดเกิดขึ้นได้บ่อยครั้ง พบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย พบได้ในทุกกลุ่มอายุ สามารถป้องกันได้ด้วยการควบคุมปัจจัยเสี่ยง หากมีข้อสงสัยเพิ่มเติมโปรดปรึกษาแพทย์ อาการ อาการของโรค ลมแดด อาการทั่วไปของโรคลมแดด ได้แก่ ร่างกายมีอุณหภูมิสูง เกิน 40 องศาเซลเซียส คืออาการหลักของโรคลมแดด สมองเบลอ ท่าทางเปลี่ยนแปลง งุนงง พูดวกวนไม่รู้เรื่อง สับสน เพ้อคล้ายคนเมา ชักและหมดสติ เกิดการเปลี่ยนแปลงในระบบการระบายความร้อนของร่างกาย อาการโรคลมแดดเกิดขึ้นได้จากอากาศร้อน ผิวหนังของผู้ป่วยจะรู้สึกร้อนและแห้งเมื่อสัมผัส แต่อย่างไรก็ตาม สำหรับผู้ป่วยลมแดดที่ออกกำลังกายอย่างหนัก ผิวหนักอาจมีเหงื่อซึมได้ คลื่นไส้และอาเจียน ผู้ป่วยอาจรู้สึกกระอักกระอ่วน คลื่นไส้หรืออาเจียน ผิวหนังมีสีเลือดฝาด และร่างกายมีอุณหภูมิเพิ่มสูงขึ้น หายใจหอบถี่ หายใจไม่อิ่ม หัวใจเต้นเร็ว อัตราการเต้นของหัวใจเพิ่มขึ้นเนื่องจากความร้อนและอุณหภูมิที่เพิ่มขึ้นสูง […]

สุขภาพผิว

โรคผิวหนังในหน้าร้อน ที่ควรระวัง และวิธีป้องกัน

การปกป้องผิวจากแสงแดดเป็นเรื่องที่ควรใส่ใจ เพราะหากเกิดปัญหากับผิวหนังอาจสร้างความกังวลใจ ทำให้เสียความมั่นใจ และอาจทำให้เกิดปัญหาสุขภาพต่าง ๆ ตามมาได้ โดย โรคผิวหนังในหน้าร้อน ก็เป็นอีกหนึ่งปัญหาผิวที่ควรรู้เอาไว้ เพื่อสังเกตอาการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นและจะได้เข้ารับการรักษาได้อย่างทันท่วงที [embed-health-tool-bmr] โรคผิวหนังในหน้าร้อน ที่ควรระวัง โรคผิวหนังที่อาจเกิดขึ้นในหน้าร้อน อาจมีดังนี้ ผดร้อน ในช่วงหน้าร้อนอาจทำให้ร่างกายมีเหงื่อมาก ซึ่งเหงื่อนั้นอาจเป็นสาเหตุให้เกิดอาการผดร้อนขึ้น โดยเฉพาะผิวหนังบริเวณที่มีการเสียดสีกับเสื้อผ้า ทำให้เกิดรอยแดง ตุ่มเล็ก ๆ และมีอาการคันร่วมด้วย อาการผดร้อนไม่ใช่ปัญหาทางสุขภาพที่ร้ายแรงและอาจหายเองได้ภายในไม่กี่วัน ผิวไหม้แดด การอยู่ท่ามกลางแสงแดดนานเป็นเวลานาน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากไม่ได้ทาครีมกันแดด หรือใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น ร่วม หมวก เสื้อแขนยาว แว่นกันแดด ในการป้องกัน ก็อาจทำให้ผิวเสี่ยงต่อการถูกแดดเผามายิ่งขึ้น ซึ่งอาจส่งผลทำให้ผิวมีรอยแดงเป็นปื้น ๆ มีอาการคัน และอาจมีอาการผิวลอกร่วมด้วย ผิวแห้ง กิจกรรมสำหรับคลายร้อนส่วนใหญ่อย่างการว่ายน้ำ การอาบแดด การอยู่ในห้องแอร์ อาจทำให้เกิดอาการผิวแห้งได้โดยไม่รู้ตัว ดังนั้น ควรดูแลตัวเองด้วยการดื่มน้ำให้เพียงพอ และบำรุงผิวด้วยมอยส์เจอไรเซอร์เป็นประจำ เพื่อให้ผิวชุ่มชื้นอยู่เสมอ รูขุมขนอักเสบ (Folliculitis) เมื่ออากาศร้อน ก็อาจทำให้ผิวหนังขับเหงื่อเผื่อระบายความร้อนของร่างกาย ซึ่งเหงื่อที่ออกตามรูขุมขนนั้นอาจจะสะสมความสกปรกและก่อให้เกิดเชื้อแบคทีเรียขึ้น เมื่อแบคทีเรียที่อยู่ในเหงื่อและแบคทีเรียที่อยู่บนเซลล์ผิวหนังที่ตายแล้วมีการอุดตันที่รูขุมขน ก็อาจทำให้มีการติดเชื้อและมีอาการรูขุมขนอักเสบ  ฝ้า กระ การออกไปข้างนอกและโดนแสงแดดโดยไม่มีการปกป้องผิว อาจส่งผลให้เกิดฝ้า […]

ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพทั่วไป

เป็นลม ล้มพับ อยู่ ๆ ก็หมดสติ เกิดจากอะไรได้บ้าง

อาการที่เรียกว่า เป็นลม ที่เราเคยเห็นกัน ไม่ว่าจะในชีวิตจริงหรือว่าเคยเห็นในละคร เป็นอาการที่อยู่ ๆ ก็ หมดสติอย่างกะทันหัน ซึ่งสาเหตุที่ทำให้เป็นลมก็แตกต่างกันออกไป บางคนก็เป็นลมเมื่ออยู่กลางแดด บางคนเป็นลมเมื่อเจอเรื่องที่ส่งผลกระทบต่อจิตใจ วันนี้ Hello คุณหมอ จะชวนทุกคนไปรู้จักกับ อาการเป็นลม ว่าจริง ๆ แล้วเกิดจากสาเหตุอะไรได้บ้าง เมื่อเจอคนเป็นลมควรช่วยเหลืออย่างไรดี [embed-health-tool-heart-rate] เข้าใจอาการที่เรียกว่า เป็นลม อาการเป็นลม เป็นอาการที่ หมดสติอย่างกะทันหัน ในช่วงเวลาหนึ่ง อย่างสั้น ๆ เนื่องจากสมองได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ ซึ่งอาจเกิดจากปัญหาจากปอด ระบบไหลเวียนเลือด หรือภาวะคาร์บอนมอนออกไซด์เป็นพิษ (Carbon Monoxide Poisoning) ส่วนใหญ่ก่อนที่จะเป็นลมมักจะมีอาการมึนงง วิงเวียน อ่อนเพลีย อ่อนแรง และรู้สึกคลื่นไส้ สำหรับบางคนอาจมีอาการที่เรียกว่า “วูบ” ซึ่งเป็นอาการที่เสียงรอบ ๆ ตัวค่อย ๆ เบาลงหรือดับไป ส่วนใหญ่แล้วผู้ที่เป็นลมมักจะฟื้นตัวภายในระยะเวลาภายในไม่กี่นาที หากไม่มีอาการป่วยอื่น ๆ ร่วมด้วย อาการเป็นลม เป็นกลไกหนึ่งของร่างกาย เมื่อระดับเลือดและออกซิเจนในสมองลดลง จนต่ำเกินไป ร่างกายจะทำการปิดตัวเองหรือชัตดาวน์ส่วนที่ไม่สำคัญของร่างกาย เพื่อให้เลือดและออกซิเจนไปเลี้ยงอวัยวะที่สำคัญอื่น ๆ […]

เด็กทารก

ทารกกับอากาศร้อน กับสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ควรรู้

โดยปกติแล้ว ไม่ควรพาทารกที่อายุน้อยกว่า 6 เดือนไปโดนแสงแดดโดยตรง เนื่องจากผิวของทารกยังมีเมลานิน ซึ่งเป็นเม็ดสีที่ช่วยปกป้องผิวจากแสงแดดน้อยเกินไป ทั้งยังไม่ควรทาครีมกันแดดให้กับทารกที่อายุต่ำกว่า 6 เดือนอีกด้วย แต่ในประเทศไทยนั้น ทารกกับอากาศร้อน นั้นอาจเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่อาจต้องเตรียมพร้อมเมื่อต้องพาทารกออกไปข้างนอกในช่วงอากาศร้อน [embed-health-tool-vaccination-tool] ทารกกับอากาศร้อน สิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ควรรู้ อากาศร้อนแค่ไหน ถึงไม่ควรพาทารกเดินทาง สถาบันกุมารเวชศาสตร์แห่งสหรัฐอเมริกา (American Academy of Pediatrics หรือ AAP) ระบุว่า เด็กทุกเพศทุกวัยที่มีสุขภาพแข็งแรงดี สามารถเล่นกลางแจ้ง หรือเดินทางในช่วงอากาศร้อนได้ หากอุณหภูมิไม่เกิน 32 องศาเซลเซียส แต่หากเป็นเด็กทารก หรือเด็กวัยเตาะแตะ ไม่ควรเผชิญอากาศร้อนหรือแสงแดดติดต่อกันเป็นเวลานานเกินไป เพราะเสี่ยงเกิดปัญหาสุขภาพได้ง่าย อากาศร้อนส่งผลต่อร่างกายทารกอย่างไร อากาศร้อนสามารถส่งผลกระทบต่อทารก และทำให้เกิดภาวะสุขภาพได้นานัปการ ที่พบได้บ่อย ได้แก่ ผดร้อน ผดร้อน หรือผด (Heat rash หรือ Prickly heat) คือ รอยหรือตุ่มแดงขนาดเล็กที่เกิดขึ้นเพราะอากาศร้อนจัด ทำให้รู้สึกคันตามผิวหนังในบริเวณที่เกิดผด ยิ่งเด็กทารกยิ่งเสี่ยงเกิดผดร้อนได้ง่าย เพราะต่อมเหงื่อยังพัฒนาไม่เต็มที่ โดยผดร้อนในทารกอาจเกิดขึ้นได้กับทุกส่วนในร่างกายที่อับชื้น เช่น บริเวณที่สัมผัสผ้าอ้อม บริเวณใต้คาง ภาวะขาดน้ำ การเผชิญอากาศร้อนหรือแสงแดดจัดทำให้ทารกเสี่ยงเกิดภาวะขาดน้ำได้ง่ายขึ้น คุณพ่อคุณแม่จึงควรทำให้ร่างกายของเด็กชุ่มชื้นอยู่เสมอ หากเป็นเด็กอายุต่ำกว่า 6 เดือน […]

เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพอื่น ๆ

ขับขี่ปลอดภัย