backup og meta
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ถามคุณหมอ
บันทึก
สารบัญ

บัตเตอร์เบอ (Butterbur)

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย Ploylada Prommate · แก้ไขล่าสุด 06/12/2017

การนำไปใช้

Butterbur นั้นนำไปใช้เพื่ออะไรได้บ้าง?

Butterbur เป็นพืชชนิดหนึ่ง ผู้คนใช้ส่วนใบ และหน่อของมันเพื่อทำยา

Butterbur นั้นถูกใช้เพื่อรักษาอาการปวด ท้องไส้ปั่นป่วน แผลในกระเพาะอาหาร ไมเกรน และอาการปวดหัวอื่นๆ อาการไอเรื้อรัง หนาวสั่น ความวิตกกังวล กาฬโรค ไข้หวัด อาการนอนไม่หลับ ไอกรน โรคหืด ไข้ละอองฟาง อาการระคายเคืองในกระเพาะปัสสาวะ ทางเดินปัสสาวะหดเกร็ง Butterbur ยังถูกใช้เพื่อกระตุ้นความอยากอาหารอีกด้วย

บางรายใช้ Butterbur ทาลงบนผิวหนัง เพื่อช่วยเพิ่มการรักษาบาดแผล

มันทำงานอย่างไร?

การศึกษาเกี่ยวกับการทำงานของ Butterbur ยังไม่เพียงพอนัก โปรดปรึกษานักสมุนไพร หรือแพทย์ของท่านเพื่อขอข้อมูลเพิ่มเติม อย่างไรก็ตาม เป็นที่ทราบกันว่า Butterbur มีสารเคมีที่ช่วยลดการบีบเกร็งและลดอาการบวม อักเสบ

 

ข้อควรระวัง และคำเตือน

อะไรที่คุณควรรู้ก่อนที่จะใช้ Butterbur?

ปรึกษาแพทย์ หรือนักสมุนไพรของท่าน ตามเงื่อนไขดังต่อไปนี้

  • หากคุณกำลังตั้งครรภ์ หรืออยู่ในระหว่างให้นมบุตร เพราะระหว่างที่คุณตั้งครรภ์ หรือให้นมบุตรนั้น ควรรับประทานยาที่ได้รับการแนะนำจากแพทย์เท่านั้น
  • หากคุณกำลังใช้ยาอื่นๆ ซึ่งรวมถึงยาชนิดใดก็ตามที่คุณใช้อยู่ ที่หาซื้อได้โดยไม่ต้องใช้ใบสั่งยาจากแพทย์
  • หากคุณมีอาการแพ้ Butterbur หรือตัวยาอื่น หรือสมุนไพรอื่นๆ
  • หากคุณมีอาการป่วย ความผิดปกติ หรือสภาพทางการแพทย์อื่นๆ
  • หากคุณมีอาการแพ้ประเภทอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นจากอาหาร สีย้อม สารกันบูด หรือสัตว์ต่างๆ

กฎหมายควบคุมสมุนไพรเสริมอาหารนั้นมีความเข้มงวดน้อยกว่ากฎหมายควบคุมยา จึงจำเป็นต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมเพื่อประเมินความปลอดภัยก่อนการนำไปใช้ ซึ่งจะต้องแน่ใจว่าประโยชน์ของสมุนไพรเสริมอาหารชนิดนี้นั้นมีมากกว่าอันตรายที่อาจเกิดขึ้น โปรดปรึกษานักสมุนไพร หรือแพทย์ของท่านเพื่อรับข้อมูลเพิ่มเติม

 

การใช้ Butterbur นั้นปลอดภัยแค่ไหน?

ผลิตภัณฑ์จาก Butterbur ที่มีสาร pyrrolizidine alkaloids (PAs) ไม่ปลอดภัยในการรับประทาน หรือการทาลงบนบริเวณที่มีบาดแผล ซึ่งบาดแผลจะทำให้สารเคมีซึมเข้าไปในร่างกาย ห้ามใช้ผลิตภัณฑ์ Butterbur นอกเสียจากว่าจะได้รับการรับรอง และมีฉลากปลอดสาร PAs

เป็นไปได้ว่าผลิตภัณฑ์ Butterbur ที่ปราศจากสาร PAs นั้นปลอดภัยในการรับประทานสำหรับทั้งผู้ใหญ่และเด็กหากใช้อย่างเหมาะสม สารสกัดจากรากที่ปราศจากสาร PAs ดูจะปลอดภัยสำหรับผู้ใหญ่ในการใช้ในเวลาถึง 16 สัปดาห์ มีข้อพิสูจน์ว่า Butterbur สกัดที่ปราศจากสาร PAs บางผลิตภัณฑ์ (Petadolex, Weber&Weber, GmbH & Co, Germany) สามารถนำมาใช้ในเด็กอายุ 6-17 ปี ได้นานถึง 4 เดือน

ข้อมูลเกี่ยวกับความปลอดภัยในการใช้ผลิตภัณฑ์ Butterbur ที่ปราศจากสาร PAs บนผิวปกติยังมีไม่เพียงพอ ดังนั้นจึงไม่ควรใช้

 

ข้อควรระวังเป็นพิเศษ และคำเตือน:

สำหรับผู้ที่กำลังตั้งครรภ์ และกำลังให้นมบุตร: การรับประทาน Butterbur นั้นค่อนข้างไม่ปลอดภัย

ผลิตภัณฑ์ Butterbur ที่มีสาร pyrrolizidine alkaloids (PAs) อาจทำให้เกิดความพิการแต่กำเนิด และเกิดความเสียหายต่อตับ

ยังมีข้อมูลไม่เพียงพอ เกี่ยวกับความปลอดภัยในการใช้ Butterbur ที่ปลอดสาร PAs ในผู้ที่กำลังตั้งครรภ์ และผู้ที่กำลังให้นมบุตร ฉะนั้นไม่ควรนำมาใช้

ผู้มีอาการแพ้หญ้า ragweed และพืชใกล้เคียง: Butterbur อาจทำให้เกิดอาการแพ้ในผู้ที่ไวต่อพืชในตระกูล Asteraceae และ Compositae ซึ่งมีหญ้า ragweed ดอกเบญจมาศ ดอกดาวเรือง ดอกเดซี และอื่นรวมอยู่ด้วย หากท่านมีอาการแพ้ ตรวจสอบกับผู้ให้บริการด้านสุขภาพก่อนใช้ Butterbur

ผู้เป็นโรคตับ: น่ากังวลว่า Butterbur อาจทำให้อาการโรคตับแย่ลง ฉะนั้นไม่ควรนำมาใช้

ผลข้างเคียง

มีผลข้างเคียงอย่างไรบ้างที่อาจได้รับจาก Butterbur?

Butterbur อาจทำให้เรอ ปวดหัว คันลูกตา ท้องเสีย เป็นโรคหืด ท้องไส้ปั่นป่วน อ่อนล้า กระสับกระส่าย อย่างไรก็ตาม มันน่าจะทำให้มีอาการกระสับกระส่าย และอ่อนล้ามากกว่าตัวยา cetirizine (เช่น Zyrtec) ผลิตภัณฑ์จาก Butterbur อาจทำให้เกิดอาการแพ้ ในผู้ที่แพ้หญ้า ragweed ดอกเบญจมาศ ดอกดาวเรือง ดอกเดซี และสมุนไพรที่เกี่ยวข้องอื่นๆ

ผลิตภัณฑ์ Butterbur อาจมีสาร pyrrolizidine alkaloids (PAs) ที่สามารถสร้างความเสียหายแก่ ตับ ปอด และการไหลเวียนของเลือด และอาจทำให้เป็นมะเร็งได้

ไม่ใช่ทุกคนที่จะได้รับผลข้างเคียงเหล่านี้ และอาจมีผลข้างเคียงอื่นๆนอกเหนือจากที่กล่าวมาข้างต้น หากคุณมีความกังวลใดๆเกี่ยวกับผลข้างเคียงของยา โปรดปรึกษานักสมุนไพร หรือแพทย์ของท่าน

ปฏิกิริยาต่างๆ

Butterbur อาจทำปฏิกิริยาอย่างไรกับฉันบ้าง?

Butterbur อาจมีปฏิกิริยากับยาที่คุณรับประทานอยู่ หรือสภาพทางการแพทย์ของคุณ ปรึกษานักสมุนไพร หรือแพทย์ของท่านก่อนการนำไปใช้

ผลิตภัณฑ์ที่อาจมีปฏิกิริยากับ Butterbur คือยาที่เพิ่มการทำลายตัวยาอื่นๆของตับ (Cytochrome P450 3A4 (CYP3A4) inducers)

เมื่อ Butterbur ถูกทำลายโดยตับ สารเคมีบางอย่างก่อตัวขึ้นขณะที่ตับทำลาย Butterbur นั้นเป็นอันตราย ยาที่เพิ่มการทำลาย Butterbur ของตับอาจเพิ่มฤทธิ์ที่เป็นอันตรายของสารเคมีใน Butterbur

ตัวยาเหล่านี้ได้แก่ carbamazepine (เช่น Tegretol), phenobarbital, phenytoin (เช่น Dilantin), rifampin, rifabutin (เช่น Mycobutin) และอื่นๆ

ขนาดใช้ยา

ข้อมูลที่นำเสนอนี้ไม่สามารถใช้อ้างอิงเป็นคำแนะนำทางการแพทย์ โปรดปรึกษานักสมุนไพร หรือแพทย์ของท่าน ก่อนการนำยาตัวนี้ไปใช้เสมอ

ขนาดในการใช้ Butterbur โดยทั่วไปคือเท่าไหร่?

ขนาดในการใช้ต่อไปนี้ผ่านการทำการวิจัยทางวิทยาศาสตร์

โดยการรับประทาน

เพื่อป้องกันอาการปวดหัวจากไมเกรน: เหง้า Butterbur สกัดบางผลิตภัณฑ์ (Petadolex, Weber&Weber, GmbH & Co, Germany) ถูกนำมาใช้ในขนาด 50 ถึง 100 มิลลิกรัม สองครั้งต่อวัน โดยทานพร้อมอาหาร ขนาดการใช้ที่มากกว่านี้จะทำให้ตัวยาทำงานดีขึ้น ส่วนขนาด 50 มิลลิกรัม สองครั้งต่อวัน อาจไม่ส่งผลเต็มที่กับผู้ใหญ่ ผู้วิจัยบางรายแนะนำให้ใช้ยาสกัด 4-6 เดือน จากนั้นค่อยลดขนาดยาลงจนกว่าอาการไมเกรนจะกำเริบขึ้นอีก จึงแนะนำให้ใช้ยาในขนาดนี้ สำหรับเด็ก 6-9 ปีที่มีไมเกรน ให้ใช้ขนาด 25 มิลลิกรัม สองครั้งต่อวัน เด็กที่โตกว่านี้ควรใช้ 50 มิลลิกรัม สองครั้งต่อวัน การใช้ยาสามครั้งต่อวันนั้นทำได้ หากเด็กไม่ตอบสนองต่อการรับยาสองครั้งต่อวัน

สำหรับไข้ละอองฟาง: ให้ใช้สารสกัดจาก Butterbur บางผลิตภัณฑ์อย่าง ZE 339 และ Zeller AG ครั้งละหนึ่งเม็ด โดยทาน 3-4 ครั้งต่อวัน สารสกัดจากราก Butterbur อย่าง Petaforce ในขนาด 50 มิลลิกรัม สองครั้งต่อวัน ก็ถูกใช้รักษาไข้ละอองฟางเช่นกัน

ขนาดในการนำไปใช้นั้นอาจแตกต่างกันในผู้ป่วยแต่ละราย ซึ่งขนาดการใช้นั้นขึ้นอยู่กับอายุ สุขภาพ และเงื่อนไขอื่นๆอีกมากมายสมุนไพรเสริมอาหารนั้นไม่ได้ปลอดภัยเสมอไป โปรดขอคำปรึกษาจากนักสมุนไพร หรือแพทย์ของท่าน สำหรับขนาดในการใช้ยาที่เหมาะสม

พบ Butterbur ในรูปแบบใดได้บ้าง?

สมุนไพรเสริมอาหารชนิดนี้ อาจพบได้ในรูปแบบต่อไปนี้

  • รูปแบบผง
  • รูปแบบสารสกัดเหลว
  • รูปแบบทิงเจอร์
  • รูปแบบผลิตภัณฑ์เสริมอาหารชนิดแคปซูล

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาทางการแพทย์ การวิเคราะห์โรค หรือการรักษา

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย Ploylada Prommate · แก้ไขล่าสุด 06/12/2017

advertisement iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา