backup og meta
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ถามคุณหมอ
บันทึก
สารบัญ

สลิปเพอะลี่เอ็ม (Slippery-Elm)

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย Ploylada Prommate · แก้ไขล่าสุด 07/12/2017

การใช้ประโยชน์

slippery-elm ใช้ทำอะไร

Slippery-elm สามารถใช้เพื่อบรรเทาอาการ เช่น :

  • อาการไอ
  • เจ็บคอ
  • อาการจุกเสียด
  • ท้องร่วงท้องเสีย
  • ท้องผูก
  • ริดสีดวงทวาร
  • อาการลำไส้แปปรวน (IBS)
  • ติดเชื้อในกระเพาะปัสสาวะและทางเดินปัสสาวะ
  • ซิฟิลิส
  • เริม
  • พยาธิตัวตืด
  • แผลในกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กส่วนต้น
  • ปัญหาที่ลำไส้ใหญ่
  • โรคถุงผนังลำไส้ใหญ่อักเสบ
  • ติดเชื้อ GI
  • กรดในกระเพาะอาหาร
  • กรดไหลย้อน (GERD)
  • ปวดฟัน

บางครั้งใช้เพื่อการแท้งในผู้หญิง

Slippery-elm สามารถใช้ทาผิวเพื่อแผลไหม้ โรคเกาต์ โรคไขข้อ แผลเย็น หนอง พุพองและสารหล่อลื่น

Slippery-elm อาจใช้เพื่อประโยชน์อื่นๆ ได้อีก ปรึกษาเภสัชกรและแพทย์เพื่อข้อมูลเพิ่มเติม

 

การทำงานของ slippery-elm เป็นอย่างไร

มีการศึกษาเกี่ยวกับการทำงานของ slippery-elm ที่ไม่เพียงพอนัก จึงจำเป็นต้องปรึกษาแพทย์ผู้ดูแลและนักสมุนไพรศาสตร์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม แต่อย่างไรก็ตาม มีการศึกษาที่กล่าวว่ามีสารเคมีที่ช่วยบรรเทาอาการเจ็บคอ อีกทั้งยังสามารถทำให้เกิดเมือกซึ่งมีผลต่อปัญหาในช่องท้องและลำไส้

ข้อควรระวังและคำเตือน

เราควรรู้อะไรบ้างก่อนใช้ slippery-elm

ปรึกษาแพทย์ผู้ทำการรักษาหรือเภสัชกรหรือผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพร ในกรณีที่ :

  • ตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร เนื่องจากในขณะที่ตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร ควรจะได้รับยาตามคำสั่งแพทย์เท่านั้น
  • ใช้ยาชนิดอื่นอยู่ รวมถึงยาทุกชนิดที่ซื้อรับประทานเองโดยไม่มีใบสั่งยาจากแพทย์
  • แพ้สารจาก slippery-elm หรือแพ้ยาชนิดอื่น หรือแพ้สมุนไพรชนิดอื่น
  • มีอาการป่วย มีอาการผิดปกติ หรือมีพยาธิสภาพอื่นๆ
  • มีอาการแพ้ต่าง ๆ เช่น แพ้อาหาร สีผสมอาหาร สารกันบูด หรือเนื้อสัตว์

ข้อปฏิบัติในการใช้สมุนไพรนั้นมีความเข้มงวดที่น้อยกว่าการใช้ยารักษาโรค จำเป็นต้องมีการศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมเพื่อรับรองความปลอดภัย ซึ่งการจะใช้ประโยชน์ของสมุนไพรนั้นต้องศึกษาความเสี่ยงก่อนใช้และควรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมกับแพทย์ผู้ดูแลหรือนักสมุนไพรศาสตร์ก่อน

 

 

 

slippery-elm นั้นปลอดภัยแค่ไหน

สำหรับเด็ก:

สามารถใช้ได้หากอยู่ภายใต้คำแนะนำของแพทย์ โดยขนาดการใช้ขึ้นอยู่กับน้ำหนักของเด็ก

สำหรับผู้ที่ตั้งครรภ์หรืออยู่ในช่วงให้นมบุตร:

ยังไม่มีข้อมูลที่เพียงพอเกี่ยวกับความปลอดภัยของการใช้สมุนไพรนี้ระหว่างการตั้งครรภ์และช่วงให้นมบุตร ทางที่ดีควรหลีกเลี่ยงการใช้

ผลข้างเคียง

ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้ slippery-elm มีอะไรบ้าง

Slippery-elm อาเกิดผลข้างเคียงและอาการแพ้ที่ผิวหนัง ไม่ใช่ทุกคนที่จะมีผลข้างเคียงดังกล่าว บางครั้งอาจเกิดผลข้างเคียงอื่นๆ ที่ไม่ได้กล่าวถึงซึ่งหากพบอาการข้างเคียงใดๆ ควรปรึกษาแพทย์หรือนักสมุนไพรศาสตร์

ปฏิกิริยาระหว่างยา

ยาที่อาจเกิดปฏิกิริยากับ slippery-elm มีอะไรบ้าง

การใช้ยาดังกล่าวนี้อาจเกิดปฏิกริยากับยาหรือการรักษาอื่นๆ ที่ใช้อยู่เป็นประจำได้ ควรปรึกษาแพทย์หรือนักสมุนไพรศาสตร์ก่อนใช้

ยาสำหรับรับประทาน (ยาที่ใช้ในปาก)

Slippery-elm มีสารเส้นใยที่เรียกว่า mucilage ซึ่ง mucilage สามารถลดยาที่ร่างกายดูดซึมเข้าไปได้ การรับประทาน slippery-elm ขณะที่รับยานี้อาจลดผลของการใช้ยา การป้องกันการเกิดปฏิกริยาระหว่างกันคือรับ slippery-elm หลังยานี้อย่างน้อยหนึ่งชั่วโมง

ขนาดการใช้

ข้อมูลนี้ไม่สามารถเป็นคำสั่งในการใช้ยาได้ ควรปรึกษานักสมุนไพรศาสตร์หรือแพทย์ก่อนการใช้ยาเสมอ

ปกติแล้วควรใช้ slippery-elm ในปริมาณเท่าใด

น้ำชา:

ผงเปลือก slippery-elm 4 กรัม (ประมาณ 2 ช้อนโต๊ะ)ในน้ำต้มสุก 2 ถ้วย คนประมาณ 3-5 นาที ดื่มสามครั้งต่อวัน

ทิงเจอร์:

แนะนำที่ขนาด 5 มิลลิลิตร 3 ครั้งต่อวัน

แคปซูล:

แนะนำที่ขนาด 400-500 มิลลิกรัม รับประทานร่วมกับน้ำหนึ่งแก้ว 3-4 ครั้งต่อวันติดต่อกัน 4-8 สัปดาห์

ยาอม:

ปฏิบัติตามฉลากยา

ยาภายนอก:

ผสมผงเปลือกกับน้ำอุ่นเพื่อให้ร้อน รอให้เย็นลงและทาที่บริเวณที่ต้องการ ห้ามทาลงบนแผลเปิด

 

ปริมาณในการใช้ slippery-elm อาจแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล โดยขึ้นอยู่กับอายุ สุขภาพและปัจจัยอื่นๆ การใช้ยาสมุนไพรนั้นอาจไม่ได้มีความปลอดภัยเสมอ จึงควรปรึกษานักสมุนไพรศาสตร์หรือแพทย์ในเรื่องปริมาณที่เหมาะสม

 

slippery-elm มักอยู่ในรูปแบบใด

Slippery-elm อาจอยู่ในรูปแบบดังต่อไปนี้ :

  • แคปซูลหรือยาเม็ด
  • ยาอม
  • ผงเปลือกเพื่อทำเป็นชาหรือสารสกัด
  • ผงเปลือกเพื่อใช้จี้ร้อน

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัย หรือการรักษาแต่อย่างใด

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย Ploylada Prommate · แก้ไขล่าสุด 07/12/2017

advertisement iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา