backup og meta

ภาวะเจ็บครรภ์คลอดนานเกินปกติ คืออะไร ควรเตรียมตัวรับมืออย่างไร

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย พลอย วงษ์วิไล


เขียนโดย ทีม Hello คุณหมอ · แก้ไขล่าสุด 28/02/2023

    ภาวะเจ็บครรภ์คลอดนานเกินปกติ คืออะไร ควรเตรียมตัวรับมืออย่างไร

    ภาวะเจ็บครรภ์คลอดนานเกินปกติ หรือ การคลอดล่าช้า หรือ การเจ็บคลอดเนิ่นนาน (Prolonged Labor) หมายถึงระยะเวลาที่หญิงตั้งครรภ์เจ็บท้องก่อนคลอดยาวนานกว่า 20-24 ชั่วโมงขึ้นไป ซึ่งเป็นภาวะที่อาจเกิดขึ้นได้โดยมีสาเหตุแตกต่างกันไป

    ภาวะเจ็บครรภ์คลอดนานเกินปกติ คืออะไร

    ภาวะเจ็บครรภ์คลอดนานเกินปกติ หรือที่เรียกว่า การคลอดล่าช้า หมายถึงการที่คุณแม่มีอาการปวดท้องคลอดเป็นเวลานานมากเกินกว่า 20-24 ชั่วโมงขึ้นไป โดยภาวะดังกล่าวนี้ไม่ได้เกิดขึ้นกับคุณแม่ตั้งครรภ์ทุกคน แต่มักจะเกิดขึ้นในกรณี ดังต่อไปนี้

    • ทารกตัวใหญ่เกินไป หรือทารกอยู่ในท่าที่ผิดปกติ
    • ช่องเชิงกรานของคุณแม่แคบเกินไปหรือขยายตัวได้ไม่ดี
    • ลักษณะมดลูกของคุณแม่มีความผิดปกติ หรือเป็นเยื่อบุโพรงมดลูกอักเสบ
    • มดลูกหดรัดตัวไม่สม่ำเสมอ ทำให้ปากมดลูกไม่ขยายออก การคลอดจึงดำเนินต่อไปไม่ได้

    หากคุณแม่ประสบภาวะเจ็บครรภ์คลอดนานเกินปกติ ทีมแพทย์และทีมพยาบาลจะคอยดูแลอย่างใกล้ชิด ด้วยการตรวจในรูปแบบต่าง ๆ เช่น ตรวจด้วยสายสวนวัดความดันในมดลูก (Intrauterine Pressure Catheter : IUPC) ตรวจด้วยเครื่อง Electronic Fetal Monitoring (EFM) เพื่อวัดอัตราการเต้นของหัวใจทารกอยู่ตลอด เพื่อให้มั่นใจว่า คุณแม่และลูกน้อยมีสุขภาพที่แข็งแรง และไม่เป็นอันตราย

    ความเสี่ยงของภาวะเจ็บครรภ์คลอดนานเกินปกติ

    หากคุณแม่เจ็บท้องคลอดนานเกินไป คุณหมอจะวินิจฉัยเพื่อทำการ C–section หรือผ่าท้องคลอดบุตร เพราะหากทิ้งไว้นานเกินไป มีความเสี่ยงที่ทารกในครรภ์จะหัวใจเต้นผิดปกติ หรือได้รับปริมาณออกซิเจนที่ต่ำเกินไป จนทำให้เสี่ยงต่อความปลอดภัยของคุณแม่และทารกได้ หรือหากรอให้คลอดธรรมชาติ ถ้ามีการออกแรงเบ่งคลอดเป็นเวลานานเกินไป อาจเป็นอันตรายต่อทารก และอาจทำให้ระดับออกซิเจนของทารกต่ำ จังหวะการเต้นของหัวใจผิดปกติ มีสารผิดปกติในน้ำคร่ำ ติดเชื้อในมดลูก

    เมื่อใกล้วันคลอด คุณแม่ควรเตรียมพร้อมทั้งร่างกายและจิตใจ อาบน้ำอุ่น ออกกำลังกายด้วยการเดินเบา ๆ เพื่อช่วยให้ผ่อนคลาย ทำจิตใจให้สงบ และปรึกษาคุณหมอหากรู้สึกกังวลใจเกี่ยวกับการคลอด

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    พลอย วงษ์วิไล


    เขียนโดย ทีม Hello คุณหมอ · แก้ไขล่าสุด 28/02/2023

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา