backup og meta
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ถามคุณหมอ
บันทึก

คนท้องเป็นหวัด อันตรายหรือไม่และควรรับมืออย่างไรดี

เขียนโดย แพทย์หญิงศิริมาศ อิงคนารถ · สูตินรีเวชวิทยา · โรงพยาบาลวิภาวดี



แก้ไขล่าสุด 27/07/2023

คนท้องเป็นหวัด อันตรายหรือไม่และควรรับมืออย่างไรดี

คนท้องเป็นหวัด คือหนึ่งในปัญหาพื้นฐานที่คุณแม่ตั้งครรภ์มักรู้สึกกังวลใจ จึงจำเป็นที่แม่ท้องต้องดูแลรักษาสุขภาพและระวังการติดเชื้อโรคต่างๆ มากเป็นพิเศษ โดยเฉพาะการเป็นไข้หวัดระหว่างการตั้งครรภ์ทำให้เกิดความเสี่ยงต่อคุณแม่และทารกในครรภ์ เนื่องจากอาการของไข้หวัดในหญิงตั้งครรภ์อาจมีความรุนแรงมากกว่าปกติ และอาจส่งผลกระทบให้เกิดความพิการของทารกได้ด้วย

คนท้องเป็นหวัด จะป้องกันอย่างไร

อาการไข้หวัดนั้นสามารถติดต่อได้ระหว่างบุคคลหรือผ่านการสัมผัสของผู้ที่มีเชื้อหวัดอยู่ วิธีการหลีกเลี่ยงการติดไข้หวัด มีดังนี้

  • หลีกเลี่ยงการอยู่ในกลุ่มคนหมู่มากเนื่องจากเป็นช่องทางการติดไข้หวัดที่เร็วที่สุด
  • ล้างมือด้วยสบู่บ่อยๆ
  • อยู่ห่างจากผู้ป่วยที่เป็นไข้หวัด
  • ไม่ควรขยี้ตา จมูกหรือสัมผัสปากด้วยมือที่ไม่สะอาด เนื่องจากเชื้อไวรัสสามารถเข้าสู่ร่างกายได้ผ่านการสัมผัส

การรักษาด้วยวิธีธรรมชาติที่ได้ผล 

นอกจากยาแล้ว คุณแม่ตั้งครรภ์สามารถปฏิบัติตามวิธีดังต่อไปนี้ เพื่อบรรเทาอาการไข้หวัดเบื้องต้น

  • ควรพักผ่อนเมื่อมีอาการไข้หวัด เนื่องจากอาการไข้หวัดอาจทำให้รู้สึกเวียนศีรษะ ปวดศีรษะ หรือมีน้ำมูก
  • ควรดื่มน้ำมากๆ เช่น น้ำเปล่าหรือน้ำผลไม้
  • อมลูกอมที่มีน้ำมะนาวหรือน้ำผึ้งเป็นส่วนผสมเพื่อบรรเทาอาการเจ็บคอและไอ
  • อาจใช้เครื่องทำความชื้นในอากาศในห้องเพื่อลดอาการคัดจมูก

ยาที่ใช้กับอาการไข้หวัด 

โดยส่วนใหญ่ยาที่ใช้ได้อย่างปลอดภัยในหญิงตั้งครรภ์นั้นต้องปรึกษาแพทย์เป็นหลัก แต่ยาสามัญประจำบ้านที่ช่วยบรรเทาอาการหวัดสำหรับคนท้องเป็นหวัดโดยเฉพาะอาการไข้สูง สามารถรับประทาน พาราเซตามอลได้ ส่วนอาการคัดจมูก หรือ มีน้ำมูก ควรให้แพทย์แนะนำยาเฉพาะที่ หรืออาจใช้การล้างจมูกแทนได้ อย่างไรก็ตาม การใช้ยาประเภทใดก็ตาม ควรปรึกษาแพทย์ทุกครั้ง

การฉีดยาสำหรับคนท้องเป็นหวัด

โดยทั่วไปแล้ว คนท้องสามารถรับการฉีดยาเพื่อรักษาอาการไข้หวัดได้ ซึ่งวิธีนี้อาจเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการป้องกันอาการไข้หวัด โดยสามารถรับการฉีดได้เมื่อเข้าสู่สัปดาห์ที่ 20 ของการตั้งครรภ์ โดยปกติแล้ว ช่วงเวลาระบาดของไข้หวัดจะอยู่ระหว่างเดือนพฤษภาคมไปถึงเดือนกรกฎาคม โดยสายพันธุ์จะเปลี่ยนไปทุกๆ ปี ดังนั้นจึงควรได้รับการจัดฉีดวัคซีนทุกปี

การรับการฉีดวัคซีน สามารถป้องกันการเกิดไข้หวัดได้จนถึงหลังคลอด 6 เดือน หากไม่เคยได้รับวัคซีน แต่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ แพทย์อาจให้รับประทานยาต้านเชื้อไวรัสในกรณีอยู่ร่วมกับผู้ที่มีเชื้อหวัด

แต่ทั้งนี้การฉีดวัคซีนอาจทำให้เกิดอาการข้างเคียง เช่น อ่อนเพลีย หรือปวดกล้ามเนื้อ หลังจากรับวัคซีน นอกจากนี้ หญิงตั้งครรภ์สามารถรับการฉีดวัคซีนได้ในขณะให้นมบุตร  เนื่องจากวัคซีนไม่ส่งผลเสียต่อทารก แต่การฉีดวัคซีนทางจมูกเป็นวิธีที่ไม่แนะนำสำหรับผู้ที่ตั้งครรภ์

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด



เขียนโดย

แพทย์หญิงศิริมาศ อิงคนารถ

สูตินรีเวชวิทยา · โรงพยาบาลวิภาวดี



แก้ไขล่าสุด 27/07/2023

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา