backup og meta
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ถามคุณหมอ
บันทึก

มดลูกบีบตัวขณะตั้งครรภ์ เรื่องใกล้ตัวของคุณแม่ตั้งครรภ์

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย แพทย์หญิงอรกนิษฐา อรุณาทิตย์ · สูตินรีเวชวิทยา · โรงพยาบาลสุขุมวิท


เขียนโดย ทัตพร อิสสรโชติ · แก้ไขล่าสุด 30/11/2022

มดลูกบีบตัวขณะตั้งครรภ์ เรื่องใกล้ตัวของคุณแม่ตั้งครรภ์

มดลูกบีบตัวขณะตั้งครรภ์ อาจเป็นสัญญาณบอกถึงการเจ็บครรภ์คลอด โดยจะแสดงอาการเมื่อใกล้ถึงกำหนดคลอด ซึ่งมดลูกบีบตัวเกิดขึ้นได้เมื่อร่างกายพร้อมสำหรับการคลอดทารกซึ่งเป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นได้ แต่ถ้ามีอาการก่อนอายุครรภ์ 37 สัปดาห์ อาจเป็นอาการของภาวะแทรกซ้อนบางอย่างที่เกี่ยวกับการตั้งครรภ์ เช่น รกลอกตัวก่อนกำหนด เจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด

มดลูกบีบตัวขณะตั้งครรภ์ คืออะไร

การบีบตัวของมดลูกขณะตั้งครรภ์เป็นอาการปกติที่สามารถเกิดขึ้นได้ แต่จะแสดงอาการเมื่อใกล้ถึงกำหนดคลอดทารก แต่ถ้าแสดงอาการก่อน 37 สัปดาห์ อาจเป็นสัญญาณคลอดก่อนกำหนด การบีบตัวของมดลูกเป็นการที่กล้ามเนื้อบีบและคลายตัว ทำให้คุณรู้สึกท้องแข็งและอ่อนลงเมื่อมดลูกคลายตัว

การบีบตัวของมดลูก (Braxton Hicks Contraction) เกิดขึ้นในช่วงไตรมาสที่ 2 และ 3 อาจมีอาการไม่รุนแรงจนไปถึงรุนแรงมาก สามารถเกิดขึ้นเร็วที่สุดในสัปดาห์ที่ 20 แต่ส่วนใหญ่มักเกิดในสัปดาห์ที่ 28-30 และมักหายไปเอง แต่ถ้าเกิดในช่วงเดือนที่ 9 และแสดงอาการทุก ๆ 10-20 นาที อาจเป็นสัญญาณของการเจ็บครรภ์คลอด

อาการของภาวะมดลูกบีบตัวขณะตั้งครรภ์

อาการที่อาจเกิดขึ้นเมื่อมดลูกบีบตัวขณะตั้งครรภ์ที่อาจพบบ่อยมีดังนี้

  • ปวดหลังส่วนล่าง
  • ปวดอุ้งเชิงกรานและท้องส่วนบน
  • เกิดความดันในอุ้งเชิงกราน
  • อาการเจ็บปวด
  • มดลูกบีบตัวนาน 60-90 วินาที
  • มดลูกบีบตัวทุก 5-10 นาที่
  • ไม่สามารถเดินหรือพูดได้เมื่อมดลูกบีบตัว

สาเหตุที่ทำให้มดลูกบีบตัว

มดลูกบีบตัวขณะตั้งครรภ์เกิดขึ้นได้เมื่อร่างกายพร้อมสำหรับการคลอดทารก ซึ่งเป็นเรื่องปกติที่สามารเกิดขึ้นได้ แต่อาจมีบางสาเหตุที่ทำให้มดลูกบีบตัวขณะตั้งครรภ์ได้เช่นกัน คือ

  • ออกแรงมากเกินไปหรืออออกกำลังกายมากเกินไปในช่วงใกล้ครบกำหนดคลอด
  • ร่างกายขาดน้ำ
  • มดลูกอาจบีบตัวหลังการมีเพศสัมพันธ์

การเตรียมพร้อมเมื่อมีอาการมดลูกบีบตัวขณะตั้งครรภ์

หากมีอาการมดลูกบีบตัวขณะตั้งครรภ์แต่ไม่แสดงอาการรุนแรงแสดงว่าอยู่ในระยะใกล้คลอด และยังสามารถทำกิจกรรมเพื่อเตรียมความพร้อมในการคลอดบุตรได้ ซึ่งกิจกรรมต่อไปนี้จะช่วยให้คุณแม่รู้สึกผ่อนคลายและพร้อมรับมือกับการคลอดที่อาจเกิดขึ้น

  • การออกกำลังกายที่มีแรงกระแทกต่ำ เช่น โยคะ การเดิน
  • เล่นโยคะก่อนคลอดเน้นการหายใจและเตรียมความพร้อมร่างกาย
  • ออกกำลังกายเป็นประจำช่วยให้ผ่อนคลาย
  • อาบน้ำอุ่น
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์

ผลข้างเคียงเมื่อมดลูกบีบตัวขณะตั้งครรภ์

หากมีการบีบตัวของมดลูกขณะตั้งครรภ์ก่อนก่อนสัปดาห์ที่ 37 ของการตั้งครรภ์ อาจส่งผลให้มดลูกเปิดและคลอดก่อนกำหนด ซึ่งอาจส่งผลเสียต่อทารกได้ ทารกที่คลอดก่อนกำหนดจะต้องได้รับการดูแลเป็นพิเศษ เพราะทารกอาจมีความพิการทางร่างกายและจิตใจในระยะยาว หรือเสียชีวิตได้

อาการต่อไปนี้เป็นอาการที่แสดงว่ากำลังจะคลอดก่อนกำหนด

  • รู้สึกแน่นท้องเป็นประจำ ซึ่งเกิดจากการบีบตัวของมดลูก
  • ปวดหลังช่วงล่างอย่างต่อเนื่อง
  • ปวดท้องน้อย
  • มีเลือดออกทางช่องคลอด
  • มีน้ำปนเลือดออกจากช่องคลอด

หากมีสัญญาณของอาการเหล่านี้ควรรีบเข้ารับคำปรึกษาจากคุณหมอ เพื่อจะได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด



ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

แพทย์หญิงอรกนิษฐา อรุณาทิตย์

สูตินรีเวชวิทยา · โรงพยาบาลสุขุมวิท


เขียนโดย ทัตพร อิสสรโชติ · แก้ไขล่าสุด 30/11/2022

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา