backup og meta
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ถามคุณหมอ
บันทึก

ภาวะแทรกซ้อนขณะตั้งครรภ์ ที่พบได้บ่อยมีอะไรบ้าง

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย แพทย์หญิงอรกนิษฐา อรุณาทิตย์ · สูตินรีเวชวิทยา · โรงพยาบาลสุขุมวิท


เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 30/11/2022

ภาวะแทรกซ้อนขณะตั้งครรภ์ ที่พบได้บ่อยมีอะไรบ้าง

ภาวะแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์ เป็นภาวะหรือปัญหาด้านสุขภาพของทารกหรือคุณแม่ที่เกิดขึ้นระหว่างตั้งครรภ์จนกระทั่งกำหนดคลอด โดยไม่สามารถป้องกันหรือหลีกเลี่ยงได้ บางอย่างอาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคบางอย่าง เมื่อเกิดภาวะแทรกซ้อนแล้ว จำเป็นเข้ารับการตรวจโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อรับการวินิจฉัยและรักษา ไม่ควรปล่อยทิ้งไว้เพราะอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้

ภาวะแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์ ที่พบได้บ่อย

ภาวะครรภ์เป็นพิษ

ภาวะครรภ์เป็นพิษ (Preeclampsia) เป็นภาวะแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์ที่มักจะเกิดขึ้นหลัง 20 สัปดาห์แรกของการตั้งครรภ์ นับเป็นภาวะที่อันตราย เพราะจะทำให้ระดับความดันโลหิตของคุณแม่เพิ่มขึ้น และอาจทำให้เกิดความเสียหายต่ออวัยวะอื่น ๆ เช่น ไต หัวใจ นอกจากนี้ อาจนำไปสู่การชัก และเพิ่มอัตราการเสียชีวิตของแม่และทารกได้ด้วย

ปัจจัยเสี่ยงในการเกิดภาวะครรภ์เป็นพิษ ได้แก่

  • การตั้งครรภ์ครั้งแรก
  • อายุ 35 ปีขึ้นไป
  • เคยมีภาวะครรภ์เป็นพิษในการตั้งครรภ์ครั้งก่อน
  • มีโรคประจำตัวบางอย่าง เช่น ความดันโลหิตสูง โรคอ้วน โรคไต
  • ตั้งครรภ์ลูกแฝด

คุณแม่ควรฝากครรภ์และสังเกตอาการระหว่างตั้งครรภ์เป็นระยะ เพื่อป้องกันภาวะครรภ์เป็นพิษ หากมีอาการของภาวะครรภ์เป็นพิษ แพทย์อาจจะแนะนำให้คลอดบุตรก่อนกำหนด เพื่อความปลอดภัยของคุณแม่ แต่หากมีอายุครรภ์น้อยเกินไป ก็อาจจะต้องเฝ้าระวังอาการอย่างใกล้ชิด เพื่อป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นได้ทั้งกับแม่และทารก

ความดันโลหิตสูง

ภาวะความดันโลหิตสูงนั้นสามารถพบได้ในช่วงต่างๆของหารตั้งครรภ์ ถ้าตรวจพบตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์หรือเพิ่งเกิดขึ้นใหม่ในช่วงตั้งครรภ์แต่ก่อนอายุครรภ์ 20 สัปดาห์ และไม่มีโปรตีนรั่วในปัสสาวะเรียกว่า Chronic Hypertension ความสำคัญคือเพิ่มความเสี่ยงที่จะกลายเป็นครรภ์เป็นพิษหรือ Preeclampsia ซึ่งถ้าภาะนี้ไม่หายไปหลังคลอด12สัปดาห์ ก็จะเรียกว่า Chonic Hypertension เช่นเดียวกัน

คุณแม่ตั้งครรภ์ที่มีภาวะความดันโลหิตสูง อาจเสี่ยงที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์อื่น ๆ ด้วย และอาจส่งผล กระทบต่อทารกในครรภ์ เช่น คลอดก่อนกำหนด ร่างกายทารกพัฒนาได้ไม่เต็มที่ หรือทารกเสียชีวิตในครรภ์ เป็นต้น

โรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์

โรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์นี้มักเกิดขึ้นเพราะฮอร์โมนในร่างกายเปลี่ยนแปลง ทำให้ร่างกายมีการดื้อต่ออินซูลิน ถึงแม้ว่าระดับอินซูลินจะเพิ่มขึ้นในช่วงตั้งครรภ์ แต่ประสิทธิภาพการนำกลูโคสเข้าเซล์เพื่อใช้สร้างพลังงานลดลง ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ ภาวะแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์นี้สามารถเกิดขึ้นได้แม้แต่กับคุณแม่ที่ไม่ได้เป็นโรคเบาหวาน หรือมีระดับน้ำตาลในเลือดเป็นปกติก่อนตั้งครรภ์

โรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์นี้ควบคุมได้ ด้วยการปรับอาหารร่วมกับการใช้อินซูลิน เพื่อช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้เหมาะสม สำหรับคุณแม่ที่ไม่ได้เป็นโรคเบาหวานมาก่อนการตั้งครรภ์ ภาวะนี้มักหายไปเองหลังจากคลอดบุตร

โลหิตจาง

ภาวะโลหิตจางเกิดขึ้นเมื่อระดับของเซลล์เม็ดเลือดแดงมีจำนวนต่ำกว่าปกติ มีผลมาจากการขาดแร่ธาตุต่าง ๆ เช่น ธาตุเหล็ก วิตามินบี ทำให้เหนื่อยล้า ร่างกายอ่อนแอกว่าปกติ

คุณแม่อาจรับมือกับภาวะโลหิตจางขณะตั้งครรภ์ด้วยการรับประทานอาหารเสริมธาตุเหล็กและกรดโฟลิก ตามคำแนะนำของแพทย์

การติดเชื้อ

การติดเชื้อประเภทต่าง ๆ ทั้งแบคทีเรีย เชื้อรา เชื้อไวรัส หรือเชื้อปรสิตอาจเกิดขึ้นได้ในระหว่างการตั้งครรภ์ ซึ่งเป็นอันตรายทั้งต่อแม่และทารก จำเป็นต้องรับการรักษาในทันที

การติดเชื้อที่พบได้บ่อยขณะตั้งครรภ์ ได้แก่

  • การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ
  • ภาวะช่องคลอดอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย (Bacterial Vaginosis)
  • การติดเชื้อแบคทีเรียกลุ่ม Streptococcus
  • การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี (Hepatitis B virus)
  • โรคไข้หวัดใหญ่
  • โรคไข้ซิก้า (Zika)
  • การติดเชื้อหัดเยอรมัน

นอกเหนือจากรักษาตามอาการแล้ว การฉีดวัคซีนอาจช่วยป้องกันการติดเชื้อบางชนิด เช่น โรคไข้หวัดใหญ่  ไวรัสตับอักเสบบี หัดเยอรมัน หากเป็นไปได้ ก่อนการตั้งครรภ์คุณแม่ควรตรวจสอบประวัติการฉีดวัคซีนให้เรียบร้อย

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

แพทย์หญิงอรกนิษฐา อรุณาทิตย์

สูตินรีเวชวิทยา · โรงพยาบาลสุขุมวิท


เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 30/11/2022

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา