พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 8 ที่โดดเด่นคือ ตัวอ่อนเริ่มพัฒนาเป็นรูปเป็นร่างมากขึ้น นิ้วมือที่เป็นพังผืดแยกออกจากกัน และมีเปลือกตา ในช่วงนี้คุณแม่ควรดูแลตัวเอง ทั้งเลือกรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ หลีกเลี่ยงอาหารรสจัด ผ่อนคลายความเครียด และรับประทานวิตามินบำรุงครรภ์ตามที่คุณหมอแนะนำ นอกจากนี้ อาจออกกำลังกายเบา ๆ เช่น เดินเล่น ว่ายน้ำ และควรหลีกเลี่ยงการออกแรงมากหรือทำกิจกรรมที่อาจเป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์ด้วย
[embed-health-tool-pregnancy-weight-gain]
พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 8
ลูกจะเติบโตอย่างไร
สำหรับ พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 8 ในช่วงนี้ทารกจะมีขนาดตัวยาวประมาณ 2.7 เซนติเมตร ทารกจะเริ่มเคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่อง นิ้วมือและนิ้วเท้าจากที่เคยติดกันคล้ายพังผืด จะเริ่มแยกออกจากกันและเริ่มมองเห็นเป็นรูปเป็นร่าง
ตัวอ่อนจะเริ่มดูเหมือนทารกมากขึ้น มีริมฝีปากบน จมูกน้อย ๆ และเปลือกตาขนาดจิ๋ว เริ่มมองเห็นได้ชัดเจนขึ้น รวมถึงน้ำคร่ำก็จะมีปริมาณเพิ่มขึ้นประมาณสัปดาห์ละ 30 มิลลิลิตร
ความเปลี่ยนแปลงของร่างกายและรูปแบบการใช้ชีวิต
ร่างกายจะเปลี่ยนไปอย่างไรบ้าง
ฮอร์โมนการตั้งครรภ์ ซึ่งรวมถึงฮอร์โมนที่เรียกว่าโปรเจสเตอโรน คือตัวการที่ทำให้รู้สึกเวียนศีรษะ เหนื่อยล้าอ่อนเพลีย วิธีแก้ปัญหาที่ดีที่สุดก็คือการพักผ่อน อย่าพยายามฝืนร่างกาย โดยอาจงีบหลับช่วงสั้น ๆ เพื่อช่วยเรียกคืนพลังงานที่สูญเสียไป ควรสังเกตอาการของร่างกายให้ดี อย่าให้ร่างกายทำงานหักโหมเกินไป
ควรระมัดระวังอะไรบ้าง
อาการแพ้ท้องอาจทำให้รู้เหนื่อยอ่อน นี่คือเคล็ดลับดี ๆ ที่จะช่วยให้จัดการกับอาการแพ้ท้องได้
- เลือกอาหารให้เหมาะ
ควรเลือกอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตน้อย ไขมันต่ำ และย่อยง่าย รวมถึงเลือกกินของว่างอื่น ๆ ที่มีประโยชน์ต่อด้วย ควรหลีกเลี่ยงอาหารมัน ๆ รสจัด และมีไขมันเยอะ
- แบ่งเป็นมื้อเล็ก ๆ และกินบ่อย ๆ
ในช่วง ตั้งครรภ์ การกินอาหารวันละ 3 มื้อ ด้วยปริมาณเท่าเดิมอาจทำได้ยาก ฉะนั้นจึงควรแบ่งเป็นมื้อเล็ก ๆ และกินบ่อย ๆ แทน เช่น เปลี่ยนจากกินอาหารวันละ 3 มื้อเป็นวันละ 5 มื้อ เพื่อช่วยให้ร่างกายย่อยอาหารได้ดีขึ้น และดูดซึมสารอาหารได้มากขึ้น ทั้งยังอาจลดอาการแพ้ท้อง คลื่นไส้อาเจียน รวมถึงท้องอืดจุกเสียดได้ด้วย
- ดื่มน้ำให้มากๆ
ดื่มน้ำมาก ๆ โดยอาจลองดื่มจิงเจอร์เอล (Ginger Ale) หรือชาขิง เพื่อช่วยเยียวยาอาการคลื่นไส้
- หลีกเลี่ยงอาหารหรือกลิ่นที่ชวนให้คลื่นไส้
หลีกเลี่ยงอาหารหรือกลิ่นที่ชวนให้คลื่นเหียน และควรอยู่ในห้องที่ไร้กลิ่น และสามารถระบายอากาศได้เป็นอย่างดี อาการคลื่นไส้จะได้ไม่แย่ลง
- สูดอากาศบริสุทธิ์
ถ้าสภาพอากาศเป็นใจ อาจเปิดหน้าต่างเพื่อให้อากาศในบ้านถ่ายเท หรือออกไปเดินสูดอากาศบริสุทธิ์ในสวนบ้าง ก็สามารถช่วยให้อาการแพ้ท้องบรรรเทาลงได้ แต่ควรหลีกเลี่ยงสถานที่ที่มีมลพิษเยอะ เช่น ริมถนน เพราะอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพได้
- กินวิตามินบำรุงครรภ์อย่างระวัง
วิตามินบำรุงครรภ์อาจทำให้คุณแม่ ตั้งครรภ์ รู้สึกคลื่นไส้ได้ จึงไม่ควรกินวิตามินในขณะท้องว่าง โดยคุณแม่ตั้งครรภ์อาจกินของขบเคี้ยวที่ดีต่อสุขภาพก่อน แล้วค่อยกินวิตามินตาม
การพบหมอ
ควรปรึกษาคุณหมออย่างไรบ้าง
ในช่วง ตั้งครรภ์ ปริมาณเลือดจะเพิ่มขึ้น 40 – 50 เปอร์เซ็นต์ ทำให้คุณแม่ตั้งครรภ์รู้สึกปวดศีรษะ ซึ่งถือเป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นกับคุณแม่ตั้งครรภ์ส่วนใหญ่ แต่หากอาการปวดศีรษะที่เป็นทำให้รู้สึกไม่สบาย หรือรบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน ควรปรึกษาหมอทันที หมอจะได้แนะนำวิธีการรักษาอาการปวดศีรษะที่ปลอดภัยกับทั้งคุณแม่และ ทารกในครรภ์ ซึ่งอาจต้องใช้วิธีแก้ปวดศีรษะทางธรรมชาติแทนการกินยา
การทดสอบที่ควรรู้
อาจต้องเข้ารับการตรวจแปปสเมียร์ (Pap Smear Test) ซึ่งเป็นการตรวจเพื่อหาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ โดยศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคแนะนำให้ผู้หญิงตั้งครรภ์ทุกคน ทำการตรวจหาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์เมื่อเริ่มตั้งครรภ์ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ส่วนใหญ่ต้องรักษาด้วยยาปฎิชีวะนะ ยิ่งรักษาได้เร็วเท่าไหร่ ความเสี่ยงที่จะเกิดอันตรายกับลูกน้อยในครรภ์ก็จะยิ่งลดลง
สุขภาพและความปลอดภัย
ควรทำอย่างไรเพื่อให้สุขภาพดีและปลอดภัยต่อการตั้งครรภ์
คุณแม่ตั้งครรภ์อาจรู้สึกกังวลไปต่าง ๆ นานา ซึ่งถือเป็นเรื่องปกติ เพราะนั่นแสดงให้เห็นว่าสัญชาตญานความเป็นคุณแม่ของกำลังพัฒนาขึ้น สาเหตุที่ทำให้วิตกกังวลตอนตั้งครรภ์ ก็คือ ความต้องการปกป้องลูกจากอันตรายนั่นเอง
คุณแม่ส่วนใหญ่ไม่อยากให้ ทารกในครรภ์ ได้รับอันตราย จึงงดออกกำลังกาย หรือทำกิจกรรมใช้แรงทั้งหลาย ท้้ง ๆ ที่ความเป็นจริงแล้ว การออกกำลังกายถือเป็นสิ่งจำเป็นที่คุณแม่ตั้งครรภ์ควรทำเป็นประจำ เพราะมีประโยชน์มากมาย เพียงแต่อาจต้องหลีกเลี่ยงกิจกรรมหรือการออกกำลังกายบางประเภท เช่น
- การปั่นจักรยาน
หากคุณแม่เป็นมือใหม่ หรือไม่เคยปั่นจักรยานมาก่อน ก็ไม่ควรมาเริ่มหัดปั่นจักรยานตอนตั้งครรภ์ แต่สำหรับคุณแม่ที่ปั่นจักรยานเป็นอยู่แล้ว
ผู้เชี่ยวชาญแนะนำว่าสามารถปั่นจักรยานได้จนถึงอายุครรภ์ 6 เดือน แต่ไม่ควรปั่นจักรยานแบบเร็วหรือหักโหมเกินไป เพราะอาจเสียสมดุล หรือเกิดอุบัติเหตุ จนได้รับอันตรายได้
- กีฬาที่มีการปะทะ
กีฬาที่มีโอกาสการปะทะ เช่น ฟุตบอล บาสเกตบอล เพราะเสี่ยงหกล้ม เกิดอุบัติเหตุและได้รับบาดเจ็บสูง
- การออกกำลังกายแบบเข้มข้น
การออกกำลังกายแบบความเข้มข้นสูง หรือหักโหมเกินไป นอกจากจะทำให้เสี่ยงเกิดการบาดเจ็บบริเวณหน้าท้องแล้ว ยังอาจเกิดอุบัติเหตุได้อีกด้วย
- การขี่ม้า
แม้คุณแม่บางคนอาจะมีความสามารถในการขี่ม้าหรือชื่นชอบกีฬาชนิดนี้ แต่การขี่ม้าก็ถือเป็นกิจกรรมที่เสี่ยงอันตราย ไม่ว่าจากการตกหลังม้า ม้าดีด หรือการกระแทกรุนแรง ฉะนั้นควรหยุดขี่ม้าทันทีที่รู้ว่าตัวเองตั้งครรภ์ ไม่ควรเอาชีวิตตัวเองและลูกในครรภ์ไปเสี่ยง
- การอบซาวน่า
การนอนแช่น้ำร้อนหรือนั่งอยู่ในห้องซาวน่า อาจเป็นอันตรายต่อ ทารกในครรภ์ ได้ เพราะอุณหภูมิที่สูงเกินไปอาจทำเด็กพิการแต่กำเนิดได้
การวิ่งออกกำลังกาย คุณแม่นักวิ่งมือใหม่ไม่ควรมาหัดวิ่งในช่วงตั้งครรภ์ ส่วนคุณแม่ที่วิ่งเป็นประจำ ก็ไม่ควรออกกำลังกายด้วยการวิ่งหากมีอายุครรภ์เกิน 6 เดือน เพราะนอกจากจะเสี่ยงหกล้มสูงแล้ว ยังอาจต้องระมัดระวังเรื่องอุณหภูมิที่สูงเกินไปด้วย
หากคุณแม่ที่มีอายุครรภ์ยังไม่ถึง 6 เดือนอยากวิ่ง ควรวิ่งแค่เหยาะ ๆ ระยะสั้น ๆ และดื่มน้ำเป็นระยะในช่วงวิ่ง เพื่อป้องกันภาวะขาดน้ำ (Dehydration)
- ดำน้ำ
การดำน้ำ ถือเป็นกิจกรรมที่ไม่ควรทำอย่างยิ่งเวลาตั้งครรภ์ เมื่อขึ้นมาบนผิวน้ำ เพราะนอกจากเสี่ยงเกิดอุบัติเหตุใต้น้ำแล้ว เวลาที่ขึ้นจากน้ำ อาจเกิดฟองอากาศในเลือด ซึ่งเป็นอันตรายทั้งต่อและลูกในครรภ์
- ตีเทนนิส
การเล่นเทนนิสในนระหว่างตั้งครรภ์ อาจทำให้คุณแม่มีปัญหาในการทรงตัว จนหกล้ม หรือเกิดอุบัติเหตุร้ายแรงได้
- สไลเดอร์ในสวนน้ำ
เล่นสไลเดอร์ ถือเป็นอีกหนึ่งกิจกรรมที่เสี่ยงอันตรายสูง คุณแม่อาจหกล้มหรือได้รับบาดเจ็บที่ท้องได้ จึงไม่ควรเล่นเป็นอย่างยิ่ง
ไม่ว่าจะชอบเล่นกีฬาขนาดไหนในช่วงก่อนตั้งครรภ์ ก็ควรออกกำลังกายให้น้อยลงเมื่อมีอายุครรภ์เกิด 6 เดือนไปแล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้ามีความเสี่ยงที่จะคลอดก่อนกำหนด หรือภาวะทารกเจริญเติบโตช้า คุณแม่ตั้งครรภ์ควรปรึกษาคุณหมอ เพื่อให้คุณหมอช่วยแนะนำประเภทของกิจกรรม รวมไปถึงตารางการออกกำลังกายที่เหมาะสมและปลอดภัยกับทั้งและลูกในครรภ์