backup og meta

วิธีป้องกันอุบัติเหตุบนท้องถนน จากภาวะ หลับใน ขณะขับรถ

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 12/05/2020

    วิธีป้องกันอุบัติเหตุบนท้องถนน จากภาวะ หลับใน ขณะขับรถ

    อันตรายบนท้องถนนที่พบในข่าวทั่วไปตามสื่อโซเชียลต่างๆ มักมีกันให้เห็นไม่เว้นแต่ละวัน บางกรณีก็ส่งผลร้ายแรงถึงชีวิต และอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุนี้ ก็คือภาวะ หลับใน ที่คุณอาจเผลอวูบเพราะความเหนื่อยล้า ในขณะที่กำลังขับเคลื่อนยานพาหนะ วันนี้ Hello คุณหมอ จึงนำความรู้ถึงการป้องกันมาฝากทุกคน โดยเฉพาะผู้ที่ชอบขับรถในเวลากลางคืน หรือมีคนรอบข้างตกอยู่ในอาการนี้บ่อยๆ

    รู้จักกับอาการ หลับใน และสัญญาณเบื้องต้นที่ทุกคนควรรู้

    “หลับใน” หรือภาษาอังกฤษเรียกว่า (Drowsy Driving) คำสั้นๆ ที่ทุกคนคงจะเคยได้ยินกันจนคุ้นหู ซึ่งเกิดจากการง่วงนอน ในขณะขับขี่ยานพานะส่วนตัว จนอาจเกิดการวูบหลับคาพวงมาลัยแบบฉับพลัน ซึ่งไม่สามารถคาดการณ์ได้ล่วงหน้าว่าคุณจะหลับตาลงไปได้ในตอนไหน จึงจำเป็นต้องควรจดจำสัญญาณเตือนจากร่างกายของคุณเอง ดังนี้

    • การหาวถี่ๆ หลายๆ ครั้ง
    • ตาเริ่มปิดเอง รวมถึงลืมตาขึ้นได้ยาก
    • สัปหงก ศีรษะเริ่มก้มลง
    • เริ่มขับรถออกนอกเส้นทาง หรือเลนถนน

    จากการรายงานความปลอดภัยในการจราจรบนทางหลวงแห่งชาติของสหรัฐอเมริกา (NHTSA) ผู้ขับขี่ที่มีอาการง่วงนอนนั้นประสบอุบัติเหตุทางรถยนต์อย่างน้อย 100,000 ครั้งต่อปี มีผู้เสียชีวิตมากกว่า 1,500 คน และมีผู้บาดเจ็บราวๆ ประมาณ 71,000 ต่อปี ซึ่งเป็นตัวเลขที่ค่อนข้างสูงเลยทีเดียว

    ใครที่เสี่ยงต่อ การหลับใน มากที่สุด

    จริงๆ แล้วทุกคนมีความเสี่ยงเท่ากันหมด หากไม่ได้รับการพักผ่อน หรือไม่มีการเตรียมร่างกายมากให้พร้อม ก็สามารถทำให้เกิดอุบัติเหตุขึ้นได้ทุกเมื่อ

    • พนักงานเข้ากะโดยเฉพาะช่วงเวลากลางคืน
    • ผู้ที่ประกอบอาชีพเกี่ยวข้องกับการขับรถ เช่น คนขับแท็กซี่ หรือรถโดยสารต่างๆ เป็นต้น
    • คนที่พักผ่อนไม่เพียงพอ
    • ผู้ใช้ยาที่มีส่วนประกอบทำให้เกิดการง่วงนอน เช่น ยากล่อมประสาทบางชนิด ยาคลายกล้ามเนื้อ
    • บุคคลที่พึ่งได้รับแอลกอฮอล์เข้าสู่ร่างกาย

    นอกจากนี้ยังรวมถึงความเร็ว และช่วงเวลาในการขับขี่ เพราะอุบัติเหตุที่พบบ่อยที่สุดจะเป็นช่วงเวลาหลังพระอาทิตย์ตก และช่วงเช้าตรู่ ซึ่งเป็นเวลาการนอนหลับตามธรรมชาติของมนุษย์เราอยู่แล้ว ส่วนเรื่องของความเร็วคุณควรขับให้อยู่ในความเร็วที่กฎหมายท้องถิ่นกำหนดไว้ หากเกิดอาการง่วงนอน แบบฉับพลันอย่างน้อยก็สามารถลดความเสี่ยงที่ก่อให้เกิดอุบัติเหตุได้

    ป้องกันอันตรายที่อาจคร่าชีวิต ด้วยเคล็ดลับเหล่านี้

    • นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ อย่างน้อย 7 ชั่วโมงต่อวัน
    • ยึดเวลาการนอนหลับให้สม่ำเสมอกันทุกวัน
    • หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ หรือยาที่ทำให้เกิดความง่วงนอน
    • ไม่ควรขับรถตัวคนเดียว ถ้าจำเป็นที่ต้องเดินทางไกลควรหาผู้ที่ขับขี่รถเป็นมาเปลี่ยนสลับ
    • หลีกเลี่ยงการขับรถในช่วงเวลากลางคืน
    • ดื่มเครื่องดื่มประเภทคาเฟอีนเพื่อช่วยในการตื่นตัว

    ถ้าคุณรู้ตนเองว่ามีอาการเริ่มง่วงนอน ขึ้นมาเมื่อใด อีกหนทางที่ปลอดภัยที่สุดคือ หยุดจอดรถในสถานที่ ที่คุณสามารถงีบหลับได้ในเวลสั้นๆ เพื่อเพิ่มพลังในการเดินทางต่อไป

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 12/05/2020

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา