ประโยชน์ของการอัลตราซาวด์
การอัลตราซาวด์มีข้อดี ดังต่อไปนี้
ช่วยประเมินการเติบโตของทารก ทั้งการเจริญเติบโต ความแข็งแรง และพัฒนาการของทารก ว่าอยู่ในระดับปกติหรือไม่ เช่น ขนาดตัวและอวัยวะ การเคลื่อนไหว จังหวะการหายใจ จังหวะการเต้นของหัวใจ
ยืนยันจำนวนทารกในท้อง การอัลตราซาวด์ช่วยให้ทราบว่าในท้องของคุณแม่มีทารกกี่คน หากพบว่าเป็นลูกแฝด การอัลตราซาวด์ก็จะช่วยตรวจสอบชนิดการตั้งครรภ์แฝดได้ว่าเป็นแบบใช้รกร่วมกันหรือใช้แยกกัน ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการวางแผนดูแลสุขภาพระหว่างตั้งครรภ์
เห็นภาพทารกได้ชัดเจน มีทั้งในรูปแบบภาพนิ่ง และภาพเคลื่อนไหว ทำให้เห็นภาพเนื้อเยื่อและอวัยวะต่าง ๆ ของทารกได้ชัดเจนกว่าการเอกซเรย์
ใช้ตรวจภาวะแทรกซ้อนได้ สามารถตรวจพบความที่ผิดปกติภายในครรภ์ได้อย่างแม่นยำ เช่น ภาวะเลือดออก ภาวะรกเกาะต่ำ การตั้งครรภ์นอกมดลูก ความผิดปกติของกระดูกทารก ภาวะทารกเติบโตช้า ทั้งยังอาจใช้ตรวจคัดกรองกลุ่มอาการดาวน์ของทารกได้ด้วย
ช่วยยืนยันอายุครรภ์ ซึ่งจะทำให้ทราบวันกำหนดคลอดได้ ช่วยให้สามารถวางแผนการคลอดได้ง่ายขึ้น
มีความปลอดภัย เป็นวิธีตรวจที่ปลอดภัยทั้งต่อแม่และทารก ไม่ทำให้รู้สึกอึดอัดหรือเจ็บระหว่างตรวจ ไม่มีผลข้างเคียง ไม่ต้องฉีดยาหรือกินยา และไม่จำเป็นต้องใช้การฉายรังสีเหมือนการเอกซเรย์
ควรทำอัลตราซาวด์ทั้งหมดกี่ครั้ง
หากการตั้งครรภ์เป็นไปตามปกติ คุณหมออาจยังไม่แนะนำให้เข้ารับการอัลตราซาวด์ ท้อง 1 เดือน โดยปกติแล้ว การอัลตราซาวด์จะแบ่งออกเป็น 3 ครั้ง ซึ่งเป็นการตรวจทุกไตรมาส ได้แก่
- อัลตราซาวด์ครั้งที่ 1 สามารถตรวจครรภ์ได้ในช่วงอายุครรภ์ 11-13 สัปดาห์ ด้วยการตรวจอัลตราซาวด์ทางช่องคลอด ที่ให้ภาพที่ชัดเจนกว่าการอัลตราซาวด์ทางช่องท้อง โดยการใช้เครื่องมือขนาดเล็ก สอดเข้าไปตรวจภายในช่องคลอด การตรวจในระยะนี้เพื่อยืนยันการตั้งครรภ์และคำนวณระยะเวลาการตั้งครรภ์ หากไม่พบว่ามีปัญหาที่ควรแก้ไขหรือต้องตรวจเพิ่ม ก็สามารถรออัลตราซาวด์ครั้งต่อไปอีกประมาณ 3 เดือน
- อัลตราซาวด์ครั้งที่ 2 สามารถตรวจครรภ์ได้ในช่วงอายุครรภ์ 18-20 สัปดาห์ ตรวจด้วยการตรวจอัลตราซาวด์ทางช่องท้อง โดยการทาเจลบริเวณหน้าท้องของแม่ และใช้หัวตรวจเคลื่อนไปทั่วบริเวณหน้าท้อง ในช่วงนี้อวัยวะของทารกจะชัดเจนขึ้นและสังเกตได้ง่ายขึ้น เป็นช่วงที่สามารถตรวจหาความผิดปกติของทารกได้
- อัลตราซาวด์ครั้งที่ 3 สามารถตรวจครรภ์ได้ในช่วงอายุครรภ์ 28-32 สัปดาห์ ด้วยการตรวจอัลตราซาวด์ทางช่องท้อง ในช่วงนี้เป็นการตรวจดูพัฒนาการของทารกว่าเป็นปกติหรือไม่ และตรวจติดตามน้ำหนักของทารกเมื่อเทียบกับอายุครรภ์ หากมีภาวะผิดปกติเกิดขึ้นจะได้วินิจฉัยและรักษาได้ทันก่อนจะเกิดภาวะแทรกซ้อน
ความคิดเห็นทั้งหมด
แบ่งปันความคิดเห็นของคุณ
ร่วมแสดงความคิดเห็นของคุณกับ Hello คุณหมอ
สมัครสมาชิก หรือ เข้าสู่ระบบ เพื่อร่วมการพูดคุย