วัยหมดประจำเดือน เป็นอย่างไร
เมื่อเข้าใกล้วัยหมดประจำเดือน ร่างกายจะผลิตฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรนน้อยลง ระดับฮอร์โมนลูทิไนซิง (Luteinizing Hormone หรือ LH) ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่กระตุ้นรังไข่ และฮอร์โมนกระตุ้นการเจริญของไข่ (Follicle Stimulating Hormone หรือ FSH) เพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากรังไข่ตอบสนองต่อฮอร์โมนทั้ง 2 ชนิดนี้น้อยลง ซึ่งความแปรปรวนของฮอร์โมนที่เกิดขึ้นอาจทำให้มีอาการของวัยหมดประจำเดือน เช่น ร้อนวูบวาบ อารมณ์แปรปรวน เหงื่อออกตอนกลางคืน ช่องคลอดแห้ง ความต้องการทางเพศลดลง ประจำเดือนมาผิดปกติ โดยอาจมาช้าหรือเร็ว อาจมามากหรือน้อย สำหรับในช่วงนี้ แม้ว่าภาวะเจริญพันธุ์จะลดลง แต่ก็ยังคงสามารถตั้งครรภ์ได้
หากสังเกตว่าตนเองมีอาการของวัยหมดประจำเดือนที่เกิดขึ้นครบ 1 ปี อาจเป็นไปได้ว่าได้เข้าสู่วัยหมดประจำเดือนแล้ว เนื่องจากฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรนต่ำมากจนไม่เกิดการตกไข่อีกต่อไป ซึ่งส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นเมื่ออายุประมาณ 40-55 ปี
วัยหมดประจําเดือน ท้องได้ไหม
การตั้งท้องตามธรรมชาติในช่วงวัยหมดประจำเดือนอาจมีโอกาสเกิดขึ้นได้ แต่อาจเกิดขึ้นได้น้อยมาก เนื่องจากฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรนน้อยลงจึงทำให้ไม่เกิดการตกไข่ แต่หากยังคงมีประจำเดือนอยู่ก็อาจมีโอกาสที่จะตั้งท้องได้ อย่างไรก็ตาม ไข่ที่ตกในช่วงใกล้วัยหมดประจำเดือนอาจมีคุณภาพต่ำหรือไม่สมบูรณ์ ซึ่งอาจส่งผลให้อสุจิที่เข้ามาผสมกับไข่ไม่สามารถปฏิสนธิและพัฒนาไปเป็นตัวอ่อน หรืออาจเกิดปัญหาแท้งบุตรในอนาคตได้เช่นกัน
ความคิดเห็นทั้งหมด
แบ่งปันความคิดเห็นของคุณ
ร่วมแสดงความคิดเห็นของคุณกับ Hello คุณหมอ
สมัครสมาชิก หรือ เข้าสู่ระบบ เพื่อร่วมการพูดคุย