backup og meta

วิธีดูแลเต้านมของคุณแม่หลังคลอด เพื่อสุขภาพที่ดีของเต้านม

วิธีดูแลเต้านมของคุณแม่หลังคลอด เพื่อสุขภาพที่ดีของเต้านม

รู้หรือไม่? มี วิธีดูแลเต้านมของคุณแม่หลังคลอด ที่จะช่วยให้คุณแม่มือใหม่หมดปัญหาเรื่องเต้านม โดยคุณสามารถดูแลเต้านมของคุณได้ง่าย ๆ เพียงเริ่มดูแลอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ให้นมลูกจนถึงเวลาหย่านม เพื่อสุขภาพที่ดีของเต้านมเราจึงอยากชวนคุณแม่ทุกคนมาเรียนรู้ วิธีดูแล เต้านมของคุณแม่หลังคลอด ถ้าพร้อมแล้วมาลองทำตามไปพร้อม ๆ กันเลยค่ะ

วิธีดูแลเต้านมของคุณแม่หลังคลอด

หลังจากการคลอด เต้านมของคุณจะบวมด้วยน้ำนม อาจทำให้บริเวณเต้านมรู้สึกหนักหรือไวต่อความรู้สึกมากเป็นพิเศษ และเกิดความรู้สึกไม่สบายตัว ซึ่งคุณแม่สามารถป้องกันหรือบรรเทาปัญหาที่เกิดขึ้นกับ เต้านมของคุณแม่หลังคลอด ได้ด้วยวิธีดังต่อไปร้

ใส่เสื้อชั้นใน

สำหรับคุณแม่หลังคลอดที่ให้นมลูก การเลือกซื้อเสื้อชั้นในที่สามารถรองรับเต้านมได้ดีถือเป็นเรื่องสำคัญ เพราะหากคุณไม่สวมเสื้อชั้นเป็นเวลานาน อาจทำให้เต้านมหย่อนคล้อยได้ การสวมเสื้อชั้นในที่รองรับเต้านมของคุณในการทำกิจกรรมระหว่างวันสามารถช่วยป้องกันความเจ็บปวดและหย่อนคล้อยในขณะให้นมลูก

การดูแลผิว

ผู้หญิงบางคนอาจมีปัญหาผิวแห้งในบริเวณหน้าอก รวมถึงส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย เพื่อลดปัญหาผิวแห้งกร้านแนะนำให้ใช้โลชั่นบำรุงผิวที่เหมาะสมกับสภาพผิวของคุณเป็นประจำ

การดูแลหัวนม

เพื่อป้องกันไม่ให้หัวนมพุพอง เลือดออก และแตก คุณอาจดูแลบริเวณหัวนมด้วยการใช้น้ำนมแม่ น้ำมันมะพร้าว น้ำมันมะกอก หรือครีมจากดอกดาวเรืองถูบริเวณหัวนม เพื่อช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นของผิว แต่หากอาการหัวนมแตกมีอาการรุนแรง ควรปรึกษาแพทย์

รับมือกับอาการบวมของ เต้านม

ทำการประคบเย็นหรือประคบน้ำแข็งเพื่อลดอาการบวมและปวดเมื่อย นอกจากนี้คุณแม่ยังควรให้นมลูกบ่อย ๆ เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำนมอุดตันในท่อน้ำนม หากหัวนมแบนเนื่องจากเต้านมบวม ให้บีบน้ำนมออกโดยการนวดและกดหน้าอกของคุณเบา ๆ

หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่

การสูบบุรี่นอกจากจะส่งผลต่อสุขภาพร่างกาย ยังอาจส่งผลให้สุขภาพผิวแย่ลง ทำให้ผิวของคุณแม่ขาดความยืดหยุ่น ไม่กระชับ และอาจส่งผลให้เต้านมหย่อนยานได้

หลีกเลี่ยงการสัมผัสหน้าอกหรือหัวนม

หลังจากที่ลูกหย่านมแล้ว คุณแม่ควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสหน้าอกหรือหัวนม เพราะการสัมผัสหน้าอกหรือหัวนมบ่อยครั้งจะเป็นการกระตุ้นให้ร่างกายผลิตน้ำนมต่อไปโดยไม่จำเป็น

ตรวจสอบ เต้านม เป็นประจำ

หากคุณมีก้อนเนื้อหรือมีอาการเจ็บหน้าอก ให้รับเข้ารับการตรวจกับแพทย์ในทันที เพราะนั่นอาจเป็นอาการของโรคเต้านมอักเสบ ปัญหาที่เกิดขึ้นจากการอุดตันของท่อน้ำนมหรือหัวนมแตก ทำให้เกิดอาการเจ็บในบริเวณเต้านม คุณแม่สามารถสังเกตได้จากอาการดังต่อไปนี้

สัญญาณอาการของเต้านมอักเสบ

  • รอยแดงบนเต้านม
  • รู้สึกมีก้อนเนื้อในเต้านม
  • ปวดเมื่อยและอ่อนเพลีย
  • มีไข้ต่ำ

การรักษาเต้านมอักเสบ

  • พักผ่อนให้เพียงพอ
  • ให้นมลูก 8-12 ครั้ง/24 ชั่วโมง ทั้งสองข้าง หรือใช้วิธีปั๊มน้ำนมออกทั้งสองข้างเพื่อระบายน้ำนม
  • นวดเต้านมเบา ๆ เป็นประจำ
  • ประคบร้อนก่อนให้นมเพื่อช่วยผ่อนคลายเต้านม
  • ปรึกษาแพทย์เพื่อรับยาในการรักษา หรือเข้ารับการรักษาด้วยวิธีการอื่นตามคำแนะนำของแพทย์

คุณแม่ควรหมั่นตรวจสุขภาพของเต้านมเป็นประจำ และคอยสังเกตความผิดปกติต่าง ๆ ทั้งอาการที่กล่าวมาข้างต้น และความผิดปกติอื่น ๆ ของเต้านมและบริเวณโดยรอบ หากพบอาการผิดปกติควรปรึกษาแพทย์ในทันที เพื่อจะได้ทำการตรวจหาสาเหตุ และรักษาได้อย่างทันท่วงที

[embed-health-tool-ovulation]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Mastitis . https://www.llli.org/breastfeeding-info/mastitis/. Accessed Apr 10, 2021

What to Expect While Breastfeeding. https://www.cdc.gov/nutrition/infantandtoddlernutrition/breastfeeding/what-to-expect.html. Accessed Apr 10, 2021

Breast Care. https://www.urmc.rochester.edu/ob-gyn/obstetrics/after-delivery/breast-care.aspx. Accessed Apr 10, 2021

Breast Care After Birth. https://www.fairview.org/sitecore/content/Fairview/Home/Patient-Education/Articles/English/b/r/e/a/s/Breast_Care_After_Birth_82256. Accessed Apr 10, 2021

Alekseev NP, Vladimir II, Nadezhda TE. Pathological postpartum breast engorgement: prediction, prevention, and resolution. Breastfeed Med. 2015;10(4):203-208. doi:10.1089/bfm.2014.0047. Accessed Apr 10, 2021

Mangesi L, Dowswell T. Treatments for breast engorgement during lactation. Cochrane Database Syst Rev. 2010;(9):CD006946. doi:10.1002/14651858.CD006946.pub2. Accessed Apr 10, 2021

เวอร์ชันปัจจุบัน

22/06/2021

เขียนโดย ทัตพร อิสสรโชติ

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

ตั้งครรภ์ หลังเป็นมะเร็งเต้านม เป็นไปได้และปลอดภัยหรือไม่

เต้านม ของคุณแม่จะเปลี่ยนไปหรือไม่ หลังให้นมลูก


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ทัตพร อิสสรโชติ · แก้ไขล่าสุด 22/06/2021

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา