สุขภาพคุณแม่

"นับตั้งแต่รู้ตัวว่าตั้งครรภ์ คุณแม่ก็อาจจะทุ่มเทเวลาและแรงใจทั้งหมดที่มี เพื่อดูแลลูกน้อยให้มีสุขภาพดี แต่ สุขภาพคุณแม่ ก็เป็นอีกหนึ่งสิ่งที่สำคัญและไม่ควรละเลย เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับ การดูแลสุขภาพของคุณแม่ เพื่อให้มีสุขภาพที่ดี และพร้อมสำหรับการเป็นแม่คน ได้ที่นี่ "

สนับสนุนโดย:

เรื่องเด่นประจำหมวด

สุขภาพคุณแม่

‘ผมร่วงหลังคลอด’ ปัญหากวนใจคุณแม่ แต่รับมือได้!

นอกจากจะต้องเหนื่อยกับการเลี้ยงลูกน้อยที่เพิ่งคลอดแล้ว เชื่อว่าคุณแม่หลายๆ คนโดยเฉพาะคุณแม่มือใหม่กำลังหนักใจกับปัญหา ‘ผมร่วงหลังคลอด’ เพราะแค่ใช้มือสางผมเบาๆ ผมก็ร่วงหลุดออกมาเต็มฝ่ามือกันเลยทีเดียว ซึ่งสาเหตุที่ทำให้คุณแม่ต้องเผชิญกับปัญหาผมร่วงหลังคลอดนั้นเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนในร่างกายระหว่างตั้งครรภ์ แล้วอาการดังกล่าวจะหายไปหรือไม่ และจะรับมืออย่างไรดี? ตามมาค้นหาคำตอบไปพร้อมๆ กันในบทความนี้ได้เลย   ผมร่วงหลังคลอด เกิดจากอะไร?  ปกติแล้วคนเราจะมีเส้นผมทั้งศีรษะประมาณ 80,000 - 120,000 เส้น และผมจะหลุดร่วงประมาณ 50-100 เส้นต่อวัน แต่ในช่วงหลังคลอดนั้นคุณแม่อาจต้องเผชิญกับภาวะผมร่วงมากกว่า 100 เส้นต่อวัน โดยสาเหตุของอาการผมร่วงหลังคลอดนั้นเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนเอสโตรเจนหรือฮอร์โมนเพศหญิงในร่างกาย  ซึ่งโดยทั่วไปแล้วผมของคนเราจะมีการหลุดร่วงเป็นประจำทุกวัน แต่ในช่วงตั้งครรภ์ฮอร์โมนเอสโตรเจนจะเพิ่มจำนวนขึ้นส่งผลให้ผมร่วงลดลง อย่างไรก็ตาม หลังคลอดลูกแล้วระดับของฮอร์โมนเอสโตรเจนจะค่อยๆ ลดลงเพื่อกลับเข้าสู่ระดับปกติ ส่งผลให้เส้นผมที่หยุดร่วงไปหลายเดือนก่อนหน้านี้กลับมาร่วงอีกครั้ง เป็นเหตุผลว่าทำไมจำนวนของเส้นผมที่ร่วงหลังคลอดจึงดูเยอะผิดปกตินั่นเอง   อาการผมร่วงหลังคลอด มักเกิดขึ้นตอนไหน?  โดยทั่วไปแล้วคุณแม่จะเริ่มสังเกตุอาการผมร่วงช่วงประมาณ 3 เดือนหลังคลอด ซึ่งอาจพบว่ามีผมหลุดร่วงออกมาจำนวนมากตอนหวีผมหรือตอนสระผม อย่างไรก็ตาม อาการผมร่วงหลังคลอดนี้จะเกิดขึ้นเพียงชั่วคราวเท่านั้น โดยอาการจะค่อยๆ ทุเลาลงและจะกลับเข้าสู่สภาวะปกติภายในระยะเวลา 1 ปีหลังคลอด ดังนั้น คุณแม่ที่เพิ่งคลอดลูกและเกิดอาการผมร่วงไม่ต้องวิตกกังวล ทั้งนี้ หากพบว่าอาการผมร่วงยังไม่หายไปหลังจากคลอดลูกมานานแล้วกว่า 1 ปี ควรนัดหมายปรึกษาแพทย์ เนื่องจากอาการผมร่วงที่นานติดต่อกันอาจเป็นสัญญาณของปัญหาสุขภาพบางอย่างเช่น การขาดสารอาหารบางชนิด เช่น ภาวะขาดธาตุเหล็ก หรือโรคทางต่อมไทรอยด์ เป็นต้น วิธีรับมือกับอาการผมร่วงหลังคลอด แม้ว่าอาการผมร่วงหลังคลอดจะค่อยๆ ดีขึ้นและหายไปได้เอง แต่หากคุณแม่รู้สึกกังวลหรือไม่สบายใจ สามารถรับมือกับปัญหาดังกล่าวได้ด้วยวิธีต่อไปนี้  รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ […]

หมวดหมู่ สุขภาพคุณแม่ เพิ่มเติม

สำรวจ สุขภาพคุณแม่

สุขภาพคุณแม่

ข้อห้ามหลังยุติการตั้งครรภ์ และวิธีดูแลตัวเองอย่างเหมาะสม

การยุติการตั้งครรภ์เป็นบริการทางสุขภาพทางเลือกสำหรับผู้หญิงที่ไม่ต้องการมีบุตร หรือจำเป็นต้องยุติการตั้งครรภ์เนื่องจากมีภาวะสุขภาพที่ไม่สามารถดำเนินการตั้งครรภ์ต่อไปได้ ทั้งนี้ ผู้ที่ยุติการตั้งครรภ์ควรดูแลตัวเองอย่างดี และปฏิบัติตาม ข้อห้ามหลังยุติการตั้งครรภ์ เพื่อหลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพ เช่น งดมีเพศสัมพันธ์อย่างน้อย 2-3 สัปดาห์ งดใช้ผ้าอนามัยแบบสอด งดสวนล้างช่องคลอด เพื่อลดความเสี่ยงการติดเชื้อ ไม่เคลื่อนไหวร่างกายเยอะหรือออกกำลังกายหักโหมเกินไป เพื่อให้ช่วยให้ร่างกายฟื้นตัวและกลับสู่สภาพปกติโดยเร็ว [embed-health-tool-bmi] ประเภทของการยุติการตั้งครรภ์ การยุติการตั้งครรภ์อาจแบ่งประเภทได้ ดังนี้ การใช้ยายุติการตั้งครรภ์ (Medical technique) เป็นการชักนำการแท้งด้วยการใช้ยาไมเฟพริสโตน (Mifepristone หรือ RU486) ชนิดรับประทานควบคู่กับยาไมโสพรอสตอล (Misoprostol) ชนิดสอดทางช่องคลอด ซึ่งออกฤทธิ์ยับยั้งการตั้งครรภ์และกระตุ้นให้เยื่อบุโพรงมดลูกหลุดลอกตัวออกมาทางช่องคลอด มักใช้ยุติการตั้งครรภ์ในกรณีที่อายุครรภ์ไม่เกิน 9 สัปดาห์ การใช้เครื่องมือทางการแพทย์เพื่อยุติการตั้งครรภ์ (Surgical technique) คุณหมอจะใช้เครื่องดูดสุญญากาศ (Electric Vacuum Aspiration หรือ EVA) ดูดเนื้อเยื่อทารกและรกออกจากโพรงมดลูก หรืออาจใช้วิธีขูดมดลูก (Dilatation and Evacuation หรือ D&E) โดยการขยายปากมดลูกและคีบชิ้นส่วนของทารกในครรภ์และรกออกจากโพรงมดลูก มักใช้ยุติการตั้งครรภ์ตอนอายุครรภ์ 6-24 สัปดาห์ อาการหลังยุติการตั้งครรภ์ อาการที่พบได้หลังยุติการตั้งครรภ์ อาจมีดังนี้ เลือดออกทางช่องคลอด เลือดอาจไหลออกจากช่องคลอดแบบกะปริบกะปรอย เป็นสีน้ำตาลเข้ม […]


การดูแลตัวเองหลังคลอด

น้ำคาวปลากี่วันหมด และควรดูแลตัวเองหลังคลอดอย่างไร

น้ำคาวปลาเป็นของเหลวที่ไหลออกจากช่องคลอดหลังรกหลุดคลอดลูก ประกอบไปด้วยเลือด เศษเนื้อเยื่อมดลูก ของเหลว เช่น น้ำคร่ำ การมีน้ำคาวปลาเป็นภาวะธรรมชาติที่เกิดขึ้นกับคุณแม่หลังคลอดทุกคน และคุณแม่ก็อาจต้องการทราบว่า น้ำคาวปลากี่วันหมด โดยทั่วไปแล้วน้ำคาวปลาจะไหลออกมาในวันคลอดและจะมีน้ำคาวปลาเรื่อย ๆ ประมาณ 6-8 สัปดาห์หลังคลอด โดยปริมาณน้ำคาวปลาจะค่อย ๆ ลดลงและหมดไปเอง ระหว่างนั้นคุณแม่หลังคลอดควรรักษาสุขอนามัยของตัวเองให้ดี ใส่ผ้าอนามัยแบบแผ่นเพื่อรองรับน้ำคาวปลา และหลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่ทำให้เกิดการติดเชื้อ เช่น การสวนล้างช่องคลอด การใส่ผ้าอนามัยแบบสอด [embed-health-tool-ovulation] น้ำคาวปลาคืออะไร น้ำคาวปลา (Lochia) คือ ของเหลวและเนื้อเยื่อที่ไหลออกมาจากโพรงมดลูกของผู้หญิงหลังคลอด พบในคุณแม่ที่คลอดธรรมชาติทางช่องคลอด แต่ก็สามารถพบในผู้ที่ผ่าคลอด (C-section) ได้เช่นกัน แต่อาจมีปริมาณน้อยกว่าผู้ที่คลอดธรรมชาติ น้ำคาวปลาประกอบไปด้วยเลือด มูกปากมดลูก น้ำคร่ำ แบคทีเรีย จุลินทรีย์ เยื่อของทารกในครรภ์ เนื้อเยื่อมดลูก เป็นต้น มีกลิ่นคล้ายประจำเดือน และอาจไหลออกมาเป็นเวลาหลายสัปดาห์หลังคลอด ลักษณะน้ำคาวปลาของคุณแม่หลังคลอดแต่ละคนอาจแตกต่างกันไป โดยทั่วไปจะเป็นน้ำเลือดแล้วจึงเปลี่ยนไปเป็นมูกสีขาว ทั้งนี้ น้ำคาวปลาเป็นภาวะที่เกิดขึ้นเป็นปกติหลังคลอดและมักไม่ทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อน อย่างไรก็ตาม คุณแม่หลังคลอดควรดูแลสุขภาพให้ดี ด้วยการพักผ่อนให้เพียงพอและรับประทานอาหารที่ดี เพื่อให้ร่างกายฟื้นฟูกลับมาเป็นปกติโดยเร็ว ระยะของน้ำคาวปลา ระยะของน้ำคาวปลา อาจแบ่งได้ดังนี้ ระยะที่ 1 น้ำคาวปลาแดง (Lochia rubra) […]


ช่วงเวลาหลังคลอด

อาการคัดเต้า ไม่ได้ท้อง มีสาเหตุมาจากอะไร

อาการคัดเต้า ไม่ได้ท้อง เป็นอาการเจ็บปวด บวม กดแล้วเจ็บและไม่สบายตัวบริเวณเต้านม ซึ่งอาจเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน การผลิตน้ำนม และการเพิ่มขึ้นของปริมาณเลือดที่ไหลเวียนไปยังเต้านม ส่งผลให้มีอาการคัดเต้าแต่ไม่ได้ท้องเกิดขึ้นอย่างรุนแรง ซึ่งอาการคัดเต้าเป็นอาการที่เกิดขึ้นเพียงชั่วคราวเท่านั้น อย่างไรก็ตาม อาการคัดเต้ายังอาจเป็นสัญญาณของภาวะสุขภาพบางชนิดได้เช่นกัน [embed-health-tool-due-date] อาการคัดเต้า ไม่ได้ท้อง เกิดจากอะไรได้บ้าง อาการคัดเต้า ไม่ได้ท้อง อาจเกิดขึ้นได้จากสาเหตุต่าง ๆ ดังนี้ อาการคัดเต้าก่อนมีประจำเดือน เป็นสัญญาณก่อนมีประจำเดือนที่เกิดจากระดับของฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน (Progesterone) ในร่างกายที่เพิ่มสูงขึ้น ส่งผลให้เต้านมขยายใหญ่ คัดตึง และเจ็บปวดเมื่อสัมผัส โดยอาการคัดเต้าจะหายไปในวันที่ประจำเดือนมาวันแรก แต่หากตั้งครรภ์อาการคัดเต้าจะเกิดขึ้นประมาณสัปดาห์ที่ 1-2 ของการตั้งครรภ์ และจะเกิดขึ้นติดต่อกันนานกว่า 3 เดือน ซีสต์เต้านม (Fibrocystic Breast Disease) เกิดจากเนื้อเยื่อเต้านมเป็นพังผืดและถุงน้ำเต้านมเต็มไปด้วยของเหลวอาจเกิดขึ้นเพียงข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้ง 2 ข้าง ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงจนเกิดเป็นก้อนเนื้อ ซึ่งมีปัจจัยมาจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน โดยเฉพาะในช่วงก่อนมีประจำเดือน อาจทำให้มีอาการเจ็บ คัดเต้า บวม ไม่สบายเต้านมและใต้วงแขน มีก้อนที่เต้านมก่อนมีประจำเดือนในแต่ละครั้ง ซึ่งก้อนที่เกิดขึ้นจะหายไปเมื่อประจำเดือนมา อาการคัดเต้าในผู้หญิงให้นมลูก เป็นสัญญาณเริ่มต้นของการผลิตน้ำนมมักเกิดขึ้นประมาณ 1-4 วันหลังคลอด โดยเลือดจะไหลเวียนไปยังเต้านมมากขึ้น ทำให้เต้านมมีน้ำนม เลือด […]


ช่วงเวลาหลังคลอด

ยาเพิ่มน้ำนม ช่วยกระตุ้นน้ำนมได้อย่างไร และมีอะไรบ้าง

ยาเพิ่มน้ำนม เป็นยาสำหรับคุณแม่ที่มีปัญหาน้ำนมน้อยหรือน้ำนมไม่ไหล เนื่องจากความผิดปกติของฮอร์โมนและสารสื่อประสาทในร่างกายที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมการผลิตและการหลั่งของน้ำนม การกินยาเพิ่มน้ำนมจึงอาจช่วยให้คุณแม่มีน้ำนมเพิ่มขึ้นและเพียงพอต่อทารก อย่างไรก็ตาม ก่อนใช้ยาควรปรึกษาคุณหมอก่อนเสมอเพื่อป้องกันผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นกับคุณแม่และทารก [embed-health-tool-bmr] การผลิตน้ำนมตามธรรมชาติ น้ำนมแม่ประกอบด้วยแอนติบอดี เอนไซม์ สารอาหารและฮอร์โมน ดังนั้น การเลี้ยงลูกด้วยน้ำนมแม่จึงมีประโยชน์อย่างมากต่อร่างกายทารก เช่น ช่วยป้องกันการติดเชื้อ ส่งเสริมสติปัญญา ป้องกันภาวะน้ำหนักเกิน ป้องกันโรคเบาหวาน โดยน้ำนมจะเริ่มผลิตขึ้นในร่างกายระหว่างอายุครรภ์ 10-22 สัปดาห์ และภายใน 48 ชั่วโมงหลังคลอด น้ำนมอาจถูกผลิตและหลั่งออกมาเล็กน้อย และหลังจากคลอด 4 วัน ระดับฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนจะลดลงทำให้น้ำนมมีปริมาณเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากการผลิตน้ำนมถูกควบคุมโดยฮอร์โมนและสารสื่อประสาท โดยการยับยั้งฮอร์โมนโดปามีน (Dopamine) ที่มีหน้าที่ขัดขวางการผลิตน้ำนม และเพิ่มระดับฮอร์โมนโปรแลคติน (Prolactin) ที่ผลิตจากต่อมใต้สมองส่วนหน้าที่ช่วยในการกระตุ้นต่อมน้ำนมเพื่อสร้างน้ำนม สำหรับการตอบสนองต่อการดูดนมของทารก เกิดจากฮอร์โมนออกซิโตซิน (Oxytocin) ถูกปล่อยออกมาจากต่อมใต้สมองส่วนหลังเพื่อให้เต้านมหลั่งน้ำนมออกมา แต่หากคุณแม่มีความเครียดร่างกายจะหลั่งฮอร์โมนแคทีโคลามีน (Catecholamine) ซึ่งจะยับยั้งฮอร์โมนออกซิโตซินที่อาจทำให้น้ำนมไม่ไหลออกจากเต้านมได้ ยาเพิ่มน้ำนม มีอะไรบ้าง สำหรับคุณแม่ที่มีปัญหาน้ำนมน้อยซึ่งส่งผลต่อการให้น้ำนมลูก ควรเข้าพบคุณหมอเพื่อรับยาเพิ่มน้ำนม ดังนี้ กาแล็กตาโกก (Galactagogue) เป็นยาที่อาจช่วยเพิ่มการหลั่งฮอร์โมนโปรแลคตินที่ผลิตจากต่อมใต้สมอง ซึ่งทำหน้าที่กระตุ้นต่อมน้ำนมเพื่อช่วยในการสร้างน้ำนม โดยสามารถเริ่มใช้ได้ภายใน 3 สัปดาห์หลังคลอด เพื่อความปลอดภัยและประสิทธิภาพที่ดีของยา เมโทโคลพราไมด์ (Metoclopramide) ออกฤทธิ์ยับยั้งการหลั่งฮอร์โมนโดปามีนและเพิ่มการหลั่งฮอร์โมนโปรแลคติน ซึ่งอาจเพิ่มปริมาณน้ำนมได้ประมาณ 66-100% ภายใน 2-5 วัน […]


สุขภาพคุณแม่

ไวท์ดอท หรือจุดขาวที่หัวนม เกิดจากอะไร รักษาได้หรือไม่

ไวท์ดอท (White dot) คือ ตุ่มขาวเล็ก ๆ คล้ายหัวสิวที่เกิดขึ้นบริเวณหัวนม ปกติแล้วจะพบในผู้หญิงให้นมลูก แต่ก็สามารถพบในช่วงเวลาอื่น ๆ ได้เช่นกัน เช่น ช่วงเป็นประจำเดือน ช่วงวัยหมดประจำเดือน ช่วงที่รับประทานยาคุมกำเนิด โดยทั่วไป ไวท์ดอทเกิดจากตะกอนน้ำนมและคราบไขมันอุดตันบริเวณท่อน้ำนม จนอาจส่งผลให้น้ำนมไหลได้น้อยลง และรู้สึกคัดตึงเต้านม การรักษาอาจทำได้ด้วยการประคบร้อนที่เต้านมและหัวนมแล้วนวดคลึงเพื่อดันสิ่งที่อุดตันอยู่ออก การใช้เข็มสะกิดไวท์ดอทให้หลุดออก เป็นต้น ทั้งนี้ หากดูแลเบื้องต้นแล้วอาการไม่ดีขึ้น มีอาการปวดเต้านมรุนแรง หรือมีอาการไม่สบายอื่น ๆ ร่วมด้วยอเช่น มีไข้ อ่อนเพลีย ครั่นเนื้อครั่นตัว ปวดตัว ควรไปพบคุณหมอเพื่อรับการรักษาที่เหมาะสม [embed-health-tool-vaccination-tool] ไวท์ดอท คือ อะไร ไวท์ดอท คือ จุดขาวเล็ก ๆ ลักษณะคล้ายสิวที่พบบริเวณลานหัวนม บางครั้งอาจมีลักษณะเป็นตุ่มพอง (Milk blister หรือ Bleb) เกิดจากเนื่อเยื่อ ตะกอนน้ำนม หรือคราบไขมันสะสมอยู่ในท่อน้ำนม ส่งผลให้ท่อน้ำนมอุดตัน (Plugged duct) จนมีน้ำนมคั่งค้างอยู่ในเต้านมและไม่ไหลออกมาตามปกติ มีก้อนแข็งเป็นไตที่เต้านม ผู้หญิงบางคนที่มีไวท์ดอทอาจไม่รู้สึกเจ็บเต้านม เพียงแต่จะสังเกตเห็นไวท์ดอทที่ขึ้นบริเวณรอบ ๆ […]


การดูแลตัวเองหลังคลอด

แม่ลูกอ่อนกินอะไรได้บ้าง และที่ควรเลี่ยงมีอะไรบ้าง

การกินอาหารอย่างเหมาะสมหลังคลอดลูกมีประโยชน์ต่อสุขภาพของแม่และทารก จึงอาจทำให้แม่มือใหม่มีข้อสงสัยว่า แม่ลูกอ่อนกินอะไรได้บ้าง เพื่อช่วยในการบำรุงและฟื้นฟูร่างกายหลังคลอด ช่วยในการผลิตน้ำนมและเพิ่มสารอาหารในน้ำนมแม่ นอกจากนี้ ยังควรหลีกเลี่ยงอาหารบางชนิดที่อาจมีสารปนเปื้อน เพราะเมื่อกินเข้าไปแล้วอาจส่งต่อจากแม่ไปสู่ทารกผ่านทางน้ำนม ที่อาจส่งผลเสียต่อสุขภาพร่างกายและพัฒนาการทางสมองของทารกได้ [embed-health-tool-due-date] แม่ลูกอ่อนกินอะไรได้บ้าง แม่มือใหม่หลายคนอาจมีคำถามว่า แม่ลูกอ่อนกินอะไรได้บ้าง ซึ่งเป้าหมายในการเลือกกินอาหารของแม่ลูกอ่อน คือ การกินอาหารที่ช่วยในการฟื้นฟูร่างกายหลังคลอดและช่วยผลิตน้ำนม ซึ่งแม่ลูกอ่อนจึงควรได้รับพลังงานประมาณ 1,800-2,000 แคลอรี่/วัน เพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย ดังนั้น อาหารที่แม่ลูกอ่อนกินได้ อาจมีดังนี้ โปรตีน เช่น เนื้อสัตว์ต่าง ๆ ถั่ว ธัญพืช นม ผลิตภัณฑ์จากนม ไข่ เต้าหู้ ซึ่งอาจช่วยซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ ช่วยฟื้นฟูร่างกายหลังคลอด ช่วยในการเพิ่มปริมาณน้ำนมและสารอาหารในน้ำนม ผักและผลไม้ เช่น ฟักทอง หัวปลี คะน้า มะละกอ กล้วย เนื่องจากอุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุที่มีประโยชน์ต่อร่างกายของแม่ลูกอ่อน และอาจช่วยเพิ่มสารอาหารในน้ำนมซึ่งส่งผลดีต่อทารก นอกจากนี้ ใยอาหารยังอาจช่วยให้ระบบขับถ่ายดีขึ้นด้วย แคลเซียม เช่น นม ผลิตภัณฑ์จากนม ปลาตัวเล็กที่กินกระดูกได้ อาจช่วยเสริมความแข็งแรงของกระดูกที่สูญเสียไปในขณะตั้งครรภ์ ธาตุเหล็ก เช่น ตับ เลือดหมู เลือดไก่ […]


การดูแลตัวเองหลังคลอด

น้ำคาวปลา 3 ระยะ สังเกตอย่างไร และวิธีดูแลเมื่อมีน้ำคาวปลา

น้ำคาวปลา (Lochia) เป็นของเหลวและเศษชิ้นส่วนเนื้อเยื่อภายในมดลูกที่ถูกขับออกมาจากช่องคลอดหลังคลอดบุตร คุณแม่หลังคลอดอาจมี น้ำคาวปลา 3 ระยะ ได้แก่ น้ำคาวปลาแดง พบในช่วง 3-4 วันหลังคลอด น้ำคาวปลาเหลืองใส พบในช่วง 4-10 วันหลังคลอด และน้ำคาวปลาขาว พบในช่วง 10 วันขึ้นไปหลังคลอด ปกติแล้ว น้ำคาวปลาไม่ก่อให้เกิดอันตรายใด ๆ และจะหยุดไหลไปเองภายในช่วง 4-6 สัปดาห์หลังคลอด หากมีน้ำคาวปลาไหลออกมาจากช่องคลอด คุณแม่หลังคลอดสามารถดูแลตัวเองเบื้องต้นได้ด้วยการรักษาสุขอนามัยให้ดีอยู่เสมอ สวมแผ่นอนามัยหรือผ้าอนามัยเพื่อซึมซับน้ำคาวปลา รวมไปถึงพักผ่อนให้เพียงพอเพื่อฟื้นฟูสุขภาพ ทั้งนี้ หากผ่านไปหลายสัปดาห์แล้วยังมีเลือดออกจากช่องคลอดในปริมาณมากร่วมกับมีอาการผิดปกติ เช่น วิงเวียนศีรษะ ใจสั่น อ่อนเพลีย อาจเป็นสัญญาณของภาวะตกเลือดหลังคลอด นอกจากนี้หากน้ำคาวปลามีลักษณะที่เปลี่ยนแปลง เช่น สีข้นเหม็นขึ้น ร่วมกับมีการปวดท้อง อาจสงสัยภาวะการติดเชื้อ ควรไปพบคุณหมอเพื่อรับการรักษา [embed-health-tool-due-date] น้ำคาวปลา 3 ระยะ มีอะไรบ้าง น้ำคาวปลา คือ เลือด เยื่อเมือกปากมดลูก เนื้อเยื่อโพรงมดลูกและเนื้อเยื่อของทารกที่เหลืออยู่ น้ำคร่ำ แบคทีเรียและจุลินทรีย์ ที่หลุดลอกออกมาหลังจากรกลอกตัวออกจากโพรงมดลูกและไหลออกจากช่องคลอด มีลักษณะคล้ายประจำเดือนและอาจมีกลิ่นอับหรือเหม็นเปรี้ยว น้ำคาวปลาที่ไหลออกมาเป็นภาวะทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นได้กับคุณแม่หลังคลอดทุกคน โดยทั่วไปน้ำคาวปลาอาจหลั่งออกมาหลายสัปดาห์กว่าจะหมด […]


การดูแลตัวเองหลังคลอด

อาการตกเลือดหลังคลอด การรักษาและการป้องกัน

อาการตกเลือดหลังคลอด เป็นภาวะที่มีการเสียเลือดภายหลังคลอดมากกว่า 1,000 มิลลิลิตร ส่งผลทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่อันตรายกับมารดาตามมา เช่น ภาวะซีด ความดันโลหิตลง ช็อค และเสียชีวิตได้ ซึ่วงภาวะการตกเลือดหลังคลอดนี้เป็นสาเหตุการตายอันดับ1ของสตรีตั้งครรภ์ ดังนั้น การทราบถึงปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดการตกเลือดหลังคลอด อาจช่วยให้คุณหมอสามารถดูแลคุณแม่ตั้งครรภ์ได้ตั้งแต่เนิ่น ๆ มีการเฝ้าระวัง เพื่อป้องกันอาการตกเลือดหลังคลอดที่อาจเกิดขึ้น หรือกรณีที่เกิดแล้วได้รัยบการรักษาอย่างทันท่วงที ก็สามารถทำให้ลดการสูญเสียได้ [embed-health-tool-due-date] ตกเลือดหลังคลอด คืออะไร ตกเลือดหลังคลอด คือภาวะที่มีการเสียเลือดภายหลังคลอดมากกว่า 1,000 มิลลิลิตร ส่งผลให้เกิดภาวะซีด ความดันตก และเสียชีวิตได้โดยอาการตกเลือดหลังคลอดแบ่งได้เป็น 2 ระยะ คือ การตกเลือดหลังคลอดปฐมภูมิ คือการตกเลือดที่เกิดขึ้นภายใน 24 ชั่วโมงแรกหลังคลอด และการตกเลือดทุติยภูมิ คือการตกเลือดภายหลัง 24 ชั่วโมงหลังคลอดและอยู่ภายใน 12 สัปดาห์หลังคลอด สาเหตุที่พบบ่อยของการตกเลือดหลังคลอด มีดังนี้ ภาวะมดลูกไม่หดรัดตัว (Uterine Atony) เป็นภาวะที่มดลูกไม่หดตัวทำให้ไม่สามารถยึดหลอดเลือดในรกได้ ส่งผลให้เสียเลือดมากหลังคลอด รกไม่คลอดออกมาหรือรกคลอดออกมาไม่ครบสมบูรณ์ (Retained Placental Tissue) เป็นภาวะที่ชิ้นส่วนรกที่ยังค้างอยู่ในโพรงมดลูก ส่งผลให้มดลูกไม่สามารถหดตัวได้อย่างเต็มที่ ทำให้มีเลือดออกมากหลังคลอด การบาดเจ็บ ( Trauma) […]


สุขภาพคุณแม่

ริดสีดวง หลังคลอด สาเหตุ อาการ วิธีรักษา

ริดสีดวงเป็นภาวะสุขภาพที่พบได้บ่อยในหญิงตั้งครรภ์ โดยเฉพาะในช่วงไตรมาสที่ 3 หรือเดือนที่ 7-9 ของการตั้งครรภ์ แต่บางครั้ง แม้จะคลอดบุตรแล้ว ก็อาจเกิดภาวะ ริดสีดวง หลังคลอด ได้ภายใน 1 เดือนหลังคลอด ซึ่งเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น การขยายตัวของมดลูกระหว่างตั้งครรภ์ทำให้เลือดไหลเวียนได้ไม่สะดวก อาการท้องผูก การคลอดตามธรรมชาติที่ต้องออกแรงเบ่ง การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในร่างกาย ทำให้เกิดก้อนนูนหรือติ่งเนื้อที่อาจยื่นออกมาขณะถ่ายอุจจาระ มีเลือดออกภายหลังถ่ายอุจจาระ หรือเกิดอาการเจ็บและคันบริเวณทวารหนัก ซึ่งกระทบต่อสุขภาพของคุณแม่และการดูแลลูกหลังคลอด โดยทั่วไป อาการของริดสีดวงหลังคลอดมักหายไปเองภายในไม่กี่วันหรือไม่กี่สัปดาห์ หากอาการไม่ดีขึ้น ควรไปพบคุณหมอ สาเหตุที่ทำให้เกิด ริดสีดวง หลังคลอด ภาวะริดสีดวงหลังคลอด อาจเกิดจากปัจจัยต่อไปนี้ การขยายตัวของมดลูก หญิงตั้งครรภ์มีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นและร่างกายทารกในครรภ์ขยายใหญ่ขึ้นจนเพิ่มแรงดันในช่องท้องและกระดูกอุ้งเชิงกราน ทำให้เลือดไหลเวียนจากบริเวณกระดูกอุ้งเชิงกรานได้ยากขึ้น ส่งผลให้เลือดคั่งค้างและก่อตัวเป็นริดสีดวงบริเวณทวารหนัก อาการท้องผูก หญิงตั้งครรภ์ที่อยู่ในระยะใกล้คลอดอาจมีอาการท้องผูกเนื่องจากจากทารกในครรภ์ตัวใหญ่ขึ้น มดลูกขยายตัวและกดทับหน้าท้องและลำไส้ใหญ่ จนส่งผลต่อระบบย่อยอาหาร ทำให้ต้องนั่งถ่ายอุจจาระนานและออกแรงเบ่งเยอะขณะขับถ่าย อาจทำให้เส้นเลือดดำบริเวณทวารหนักโป่งพอง จนเกิดเป็นริดสีดวงได้ การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน ในขณะตั้งครรภ์ ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนในร่างกายจะเพิ่มสูงขึ้น ส่งผลให้ผนังเส้นเลือดคลายตัวและอาจบวมพองได้ง่าย ซึ่งอาจทำให้เกิดโรคริดสีดวง ทารกตัวใหญ่ การออกแรงเบ่งคลอดและการคลอดทารกที่น้ำหนักมากกว่า 3.8 กิโลกรัม อาจเพิ่มแรงดันบริเวณทวารหนัก และเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดภาวะริดสีดวงหลังคลอดได้ การใช้เวลาคลอดนาน การใช้เวลาคลอดบุตรนานกว่า […]


สุขภาพคุณแม่

ครีมทาหน้าสําหรับคนท้อง และครีมที่ควรหลีกเลี่ยง

คนท้องจะมีการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน จนอาจส่งผลต่อสุขภาพผิว เช่น เป็นสิว ฝ้า กระ ผิวแห้ง ผิวแพ้ง่าย การใช้ ครีมทาหน้าสำหรับคนท้อง จึงอาจช่วยบำรุงและฟื้นฟูให้สุขภาพผิวแข็งแรง และลดปัญหาผิวที่อาจเกิดขึ้นในระหว่างตั้งครรภ์ อย่างไรก็ตาม จำเป็นต้องเลือกครีมทาหน้าสำหรับคนท้องอย่างระมัดระวัง เนื่องจากส่วนผสมบางชนิดในครีมทาหน้า หากใช้ในปริมาณที่มากเกินไป อาจเป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์ [embed-health-tool-pregnancy-weight-gain] ครีมทาหน้าสําหรับคนท้อง ควรเลือกอย่างไร ครีมทาหน้าสำหรับคนท้อง เพื่อช่วยแก้ปัญหาผิวดังต่อไปนี้ อาจไม่ส่งผลกระทบต่อทารกในครรภ์ ปัญหาผิวแห้ง อาจเลือกครีมทาหน้าที่มีส่วนผสมของน้ำมันมะพร้าว โกโก้บัตเตอร์ (Cocoa Butter) เปปไทด์ (Peptide) และกรดไฮยาลูโรนิค (Hyaluronic Acid) เพื่อช่วยเพิ่มความชุ่มชื้น ความยืดหยุ่น และเพิ่มความแข็งแรงให้กับผิว จึงอาจช่วยลดปัญหาผิวแห้งได้ ปัญหาสิวและรอยดำ อาจเลือกครีมทาหน้าที่มีส่วนผสมของกรดไกลโคลิก (Glycolic Acid) หรือกรดอะซีลาอิก (Azelaic Acid) ซึ่งอาจช่วยรักษาสิว ลดรอยดำ ปรับผิวให้กระจ่างใสและช่วยลดเลือนริ้วรอย แต่ควรใช้ในปริมาณน้อยเพื่อความปลอดภัย ปัญหาริ้วรอย อาจเลือกครีมทาหน้าที่มีส่วนผสมของวิตามินซี วิตามินอี วิตามินเค วิตามินบี 3 และชาเขียว เนื่องจากมีคุณสมบัติเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยเพิ่มความสดใสให้กับผิว […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

คุณกำลังกังวลเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ใช่หรือไม่?

หยุดกังวลได้แล้ว มาเข้าชุมชนสนทนาเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ และแลกเปลี่ยนข้อมูลกับคุณแม่และว่าที่คุณแม่คนอื่น ๆ เข้าร่วมชุมชนได้เลย!





ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน