บางครั้งคุณพ่อคุณแม่อาจใช้เวลาก่อนนอนร่วมกับลูก ด้วยการทำกิจกรรมเบา ๆ ร่วมกัน เช่น การอ่านหนังสือนิทาน การฟังลูกเล่าเรื่องที่โรงเรียน หรือชวนกันทำกิจกรรมผ่อนคลายอื่น ๆ เช่น การฝึกหายใจเพื่อผ่อนคลาย ซึ่งอาจช่วยลดความเครียด อาการแพนิค หรือความวิตกกังวล ช่วยให้จิตใจสงบ และหลับสบายในเวลากลางคืน
ขั้นตอนการทำสมาธิก่อนนอนที่เหมาะสมกับลูก อาจมีดังนี้
- สูดลมหายใจเข้าทางจมูกช้า ๆ ลึก ๆ (ประมาณ 5 วินาที) ให้รู้สึกว่าท้องป่อง
- กลั้นลมหายใจไว้สักครู่ จากนั้นหายใจออกทางปากช้า ๆ (ประมาณ 5 วินาที) จนรู้สึกว่าท้องแฟ่บ
- ทำซ้ำประมาณ 3-5 นาที
การเลี้ยงลูก ให้มีสุขภาพใจที่ดี
คุณพ่อคุณแม่สามารถสนับสนุนให้ลูกมีสุขภาพใจที่ดีได้ ดังนี้
มีเวลาให้ลูกเสมอ
ใช้เวลาที่มีค่าร่วมกับลูกบ่อย ๆ ทั้งการใช้เวลาร่วมกันทำกิจกรรมภายในบ้าน เช่น จัดเวรทำความสะอาดบ้าน ใช้เวลาเล่นกับลูกหลังมื้อเย็นหรือก่อนเข้านอน รวมถึงการทำกิจกรรมนอกบ้าน เช่น ไปออกกำลังกาย ไปเที่ยวด้วยกันในวันหยุด ออกไปซื้อของเข้าบ้านด้วยกัน พยายามมีส่วนร่วมในชีวิตของลูกในช่วงเวลาที่ลูกต้องการ เช่น การเข้าร่วมกิจกรรมที่โรงเรียน การใช้เวลากับลูกในวันเกิด การเอาใจใส่ลูกอย่างสม่ำเสมอนอกจากจะช่วยพัฒนาความสัมพันธ์ในครอบครัวให้แน่นแฟ้นขึ้นแล้ว ยังอาจช่วยให้คุณพ่อคุณแม่รับรู้สัญญาณของปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในชีวิตลูก และช่วยให้คำปรึกษาหรือแก้ไขได้ทันท่วงที
เป็นผู้ฟังและให้คำปรึกษาที่ดี
การใช้เวลาพูดคุยและรับฟังลูก ช่วยหาทางแก้ไข หรือให้คำแนะนำเมื่อลูกมีปัญหาในชีวิต เช่น ทะเลาะกับเพื่อน มีปัญหาการเรียน อาจช่วยให้ลูกรู้สึกสบายใจขึ้น และไม่เก็บเรื่องที่กังวลใจไว้เพียงลำพัง จนอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพจิตใจและสุขภาพร่างกายของลูก เช่น เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคซึมเศร้า โรคแพนิค โรควิตกกังวล คุณพ่อคุณแม่อาจช่วยวางแผนอนาคต และสนับสนุนกิจกรรมที่ลูกสนใจอยากทำ เปิดโอกาสให้ลูกได้ลองหาประสบการณ์ และพัฒนาทักษะในด้านนั้น ๆ การที่คุณพ่อคุณแม่ให้ความสนใจและสนับสนุนความคิดของเด็ก อาจทำให้เด็กกระตือรือร้นในการวางแผนเกี่ยวกับเรื่องอนาคตและอยากทำสิ่งต่าง ๆ มากขึ้น แต่ทั้งนี้ ไม่ควรบังคับหรือกดดันลูกมากจนเกินไปด้วย
ความคิดเห็นทั้งหมด
แบ่งปันความคิดเห็นของคุณ
ร่วมแสดงความคิดเห็นของคุณกับ Hello คุณหมอ
สมัครสมาชิก หรือ เข้าสู่ระบบ เพื่อร่วมการพูดคุย