backup og meta

พฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพจิตในวัยรุ่น ที่ควรระวัง

พฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพจิตในวัยรุ่น ที่ควรระวัง

พฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพจิตในวัยรุ่น เป็นพฤติกรรมที่อาจเกิดขึ้นได้กับวัยรุ่นทุกคนที่กำลังประสบปัญหาต่าง ๆ ที่ส่งผลต่อสุขภาพจิต ผู้ปกครองจึงควรใส่ใจ และให้ความสำคัญกับพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปของวัยรุ่น วันนี้เรามาดูกันว่าพฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพจิตในวัยรุ่นมีอะไรบ้าง เพื่อที่คุณจะได้รู้ทันอาการและแก้ไขได้อย่างตรงจุด

สุขภาพจิตวัยรุ่น

วัยรุ่นช่วงอายุประมาณ 10-19 ปี เป็นช่วงเวลาที่สำคัญในการพัฒนาทางด้านร่างกาย อารมณ์ และสังคมหลายประการ รวมถึงการเผชิญหน้ากับเหตุการณ์ที่อาจส่งผลต่อสุขภาพจิต เช่น ความยากจน การล่วงละเมิดทางเพศ หรือความรุนแรง เหล่านี้ล้วนสามารถก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพในวัยรุ่นได้ทั้งสิ้น  ดังนั้นการส่งเสริมและปกป้องสุขภาพจิตในวัยรุ่นจึงมีความสำคัญ เพื่อลดปัจจัยเสี่ยงที่อาจก่อให้เกิดปัญหาร้ายแรงอื่น ๆ ตามมา และเพื่อสร้างเสริมสุขภาพร่างกาย จิตใจให้สมบูรณ์เพื่อเข้าสู่วัยผู้ใหญ่ต่อไป

พฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพจิตในวัยรุ่น คืออะไร

มีหลายปัจจัยที่อาจส่งผลต่อสุขภาพจิตในวัยรุ่น ยิ่งวัยรุ่นต้องเผชิญหน้ากับความเสี่ยงมากเท่าใด ก็ยิ่งส่งผลต่อสุขภาพจิตมากขึ้นเท่านั้น และปัจจัยที่อาจส่งผลต่อความเครียดในช่วงวัยรุ่น ได้แก่

  • ความต้องการอิสระมากขึ้น
  • ความกดดันในการปรับตัวเข้าสังคม
  • ลักษณะความแตกต่างทางเพศ
  • การเข้าถึงเทคโนโลยี
  • ความเหลื่อมล้ำและการยอมรับในความหลากหลายทางเพศ
  • ครอบครัว
  • ความรุนแรง

ตัวอย่างเหล่านี้เป็นปัจจัยเสี่ยงที่อาจส่งผลต่อสุขภาพจิตในวัยรุ่น และอาจก่อให้เกิด พฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพจิตในวัยรุ่น ได้เช่นกัน

พฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพจิตในวัยรุ่น มีอะไรบ้าง

พฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพจิตในวัยรุ่นเป็นพฤติกรรมที่วัยรุ่นปฏิบัติหรือเลือกทำ เพื่อหนีจากความเครียด ความวิตกกังวล หรือเพื่อต่อต้านสิ่งต่าง ๆ ซึ่งพฤติกรรมเสี่ยงเหล่านี้อาจส่งผลต่อสุขภาพร่างกาย และอาจส่งผลต่อสุขภาพจิตในระยะยาวได้ ดังนี้

การกลั่นแกล้ง หรือการใช้ความรุนแรง

วัยรุ่นที่มีพฤติกรรมชอบกลั่นแกล้งหรือใช้ความรุนแรงกับผู้อื่นตลอดเวลา มักมีความเสี่ยงสูงที่จะมีพฤติกรรมต่อต้านสังคมมากขึ้น เช่น มีปัญหาที่โรงเรียน การใช้สารเสพติด และมีพฤติกรรมก้าวร้าวมากขึ้น สัญญาณที่บอกว่าวัยรุ่นมีพฤติกรรมชอบกลั่นแกล้ง

  • ใช้ความรุนแรงทางร่างกาย และวาจา
  • มักอยู่ในกลุ่มที่ชอบรังแกผู้อื่นเหมือนกัน
  • มีความก้าวร้าวมากขึ้น
  • มีปัญหาที่โรงเรียนบ่อยครั้ง
  • ไม่รับผิดชอบต่อการกระทำของตน

ส่วนวัยรุ่นที่ยืนดูการกลั่นแกล้ง หรือถูกกลั่นแกล้ง มักมีแนวโน้มที่จะประสบกับภาวะซึมเศร้า ความวิตกกังวล และรู้สึกภาคภูมิใจในตนเองต่ำลง สัญญาณที่บอกว่าวัยรุ่นกำลังถูกกลั่นแกล้ง

  • อาการบาดเจ็บที่ไม่มีสาเหตุ
  • เสื้อผ้า หนังสือ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ สูญหายหรือถูกทำลาย
  • ชอบแกล้งป่วย
  • การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการกิน เช่น เด็กอาจกลับมาจากโรงเรียนด้วยความหิวเพราะไม่ได้กินข้าวกลางวัน
  • นอนหลับยากหรือฝันร้ายบ่อย ๆ
  • เกรดตก ไม่อยากไปโรงเรียน
  • ไม่มีเพื่อน หรือการหลีกเลี่ยงการเข้าทางสังคม
  • รู้สึกหมดความภูมิใจในตนเอง
  • พฤติกรรมทำลายตนเอง เช่น หนีออกจากบ้าน ทำร้ายตัวเอง หรือพูดถึงการฆ่าตัวตาย

ปัญหาพฤติกรรมการกิน

เป็นความผิดปกติที่เกิดขึ้นจากความเจ็บป่วยทางจิต ซึ่งอาจมีพฤติกรรมรบกวนการกิน ความเชื่อผิด ๆ ในการกิน ความกังวลเกี่ยวกับอาหาร กังวลเกี่ยวกับปริมาณอาหารที่อาจส่งผลต่อรูปร่าง หรือน้ำหนัก ซึ่งความผิดปกตินี้อาจก่อให้เกิดโรคแทรกซ้อนที่อาจส่งผลต่ออวัยวะในร่างกาย และอาจมีอาการ ดังนี้

  • ความกังวลเกี่ยวกับอาหารที่ส่งผลต่อรูปร่าง น้ำหนัก และรูปแบบการกิน
  • การลดน้ำหนักอย่างรวดเร็ว หรือการเปลี่ยนแปลงของน้ำหนักบ่อยครั้ง
  • รู้สึกหดหู่ วิตกกังวล หงุดหงิด หรือเครียด
  • การรับประทานอาหารในปริมาณน้อย หรือมากเกินกว่าปกติ
  • รับประทานอาหารแก้เบื่อหรือเครียด
  • ใช้อาหารในการจัดการกับอารมณ์ที่อึดอัดหรือวิตกกังวล
  • ใช้อาหารในการลงโทษตนเอง เช่น การอดอาหาร
  • มีพฤติกรรมลับ ๆ เกี่ยวกับอาหาร
  • ออกกำลังกายมากเกินไป

การสูบบุหรี่ ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และใช้สารเสพติด

การใช้ยาบางชนิด เช่น โคเคน ยาสูดพ่น คีตามีน กัญชา กระท่อม ยาบ้า สเตียรอยด์ เป็นประจำอาจนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงของสารในสมองทั้งระยะสั้นและระยะยาว ซึ่งอาจนำไปสู่ปัญหาสุขภาพจิตตามมาได้เช่นกัน และอาจทำให้เกิดอาการเหล่านี้

การสูบบุหรี่และการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในวัยรุ่นเป็นเรื่องที่อาจพบได้บ่อยครั้ง ซึ่งส่วนประกอบในบุรี่อาจเป็นสารเสพติดได้เช่นกัน และสามารถส่งผลเสียต่อสุขภาพปอดโดยตรง ส่วนการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณมากอาจส่งผลเสียต่อสมองซึ่งเป็นสาเหตุของความรุนแรงในวัยรุ่นได้

การเข้าถึงอินเทอร์เน็ต

การใช้อินเทอร์เน็ตและโซเชียลมิเดียในปริมาณที่พอดีอาจให้ประโยชน์กับคุณในหลายด้าน หรือช่วยให้คุณอยู่ร่วมกับครอบครัวหรือเพื่อนฝูงได้ใกล้ชิดมากขึ้น แต่หากใช้โซเชียลมิเดียในปริมาณมากเกินไปอาจส่งผลต่อสุขภาพจิตได้ เช่น การอ่านข่าวเชิงลบมากเกินไปอาจส่งผลทำให้เกิดความวิตกกังวล และความเครียดมากขึ้น ซึ่งอาจนำไปสู่ภาวะซึมเศร้าได้เช่นกัน

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Adolescent mental health. https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/adolescent-mental-health. Accessed August 10, 2021

Adolescent mental health and risk behaviours. https://youngmindsmatter.telethonkids.org.au/our-research/adolescent-mental-health/. Accessed August 10, 2021

Eating disorders. https://www.sane.org/information-stories/facts-and-guides/eating-disorders. Accessed August 10, 2021

Health Consequences of Drug Misuse. https://www.drugabuse.gov/drug-topics/health-consequences-drug-misuse/mental-health-effects. Accessed August 10, 2021

Special Issue “Adolescent Health Risk Behaviors and Mental Health”. https://www.mdpi.com/journal/ijerph/special_issues/Adolescent_Health_Risk_Behaviors_Mental_Health. Accessed August 10, 2021

Social Media and Mental Health: Benefits, Risks, and Opportunities for Research and Practice. https://link.springer.com/article/10.1007/s41347-020-00134-x. Accessed August 10, 2021

How the Internet affects your mental health. https://www.piedmont.org/living-better/how-the-internet-affects-your-mental-health. Accessed August 10, 2021

Effects of Bullying on Mental Health. https://www.stopbullying.gov/blog/2019/10/25/effects-bullying-mental-health.

 

เวอร์ชันปัจจุบัน

31/08/2021

เขียนโดย ทัตพร อิสสรโชติ

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

5 ปัญหาสุขภาพจิตของวัยรุ่น ที่ควรเฝ้าระวัง ก่อนนำไปสู่เหตุการณ์รุนแรง

เรื่องนี้อย่าปล่อยผ่าน การฆ่าตัวตายในวัยรุ่น ปัญหาใหญ่ระดับโลก



เขียนโดย ทัตพร อิสสรโชติ · แก้ไขล่าสุด 31/08/2021

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา