การเลี้ยงลูกแบบให้อิสระ (Permissive Parenting)
ผู้ปกครองจะเลี้ยงด้วยความรัก ความอบอุ่น ไม่กำหนดขอบเขตหรือตั้งกฎให้ลูกปฏิบัติตาม หลีกเลี่ยงการทำโทษลูก และจะคอยสนับสนุนให้ลูกทำในสิ่งที่ต้องการ ซึ่งการเลี้ยงลูกในรูปแบบนี้อาจทำให้ลูกมีความมั่นใจในตัวเอง กล้าตัดสินใจ แต่ขณะเดียวกันก็อาจทำให้ลูกมีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม เช่น เอาแต่ใจ ไม่มีมารยาท ไม่มีความรับผิดชอบ หากโดนเตือนโดนต่อว่าเพียงเล็กน้อยอาจมีอารมณ์หงุดหงิด ก้าวร้าวรุนแรงเนื่องจากเคยชินกับความเป็นอิสระทำตามใจตัวเองมากเกินไป
-
การเลี้ยงลูกอย่างสมเหตุสมผล (Authoritative parenting)
เป็นการเลี้ยงลูกคล้ายกับรูปแบบเข้มงวด แต่แตกต่างตรงที่ผู้ปกครองยังคอยรับฟังความรู้สึก ความคิด และความต้องการของลูก โดยจะพิจารณาตามสถานการณ์ อาจยังคงมีข้อกำหนดที่ควรปฏิบัติอยู่แต่เมื่อลูกทำผิดพลาดจะไม่ใช้ความรุนแรง แต่จะสอนและแนะนำวิธีจัดการกับปัญหา เพื่อให้ลูกเรียนรู้วิธีแก้ปัญหาด้วยตัวเองเมื่อเจอสถานการณ์ตึงเครียด
-
การเลี้ยงลูกแบบละเลย (Uninvolved parenting)
เป็นการเลี้ยงลูกแบบขาดการเอาใจใส่ ใช้เวลาร่วมกับลูกน้อยซึ่งอาจมาจากปัจจัยบางอย่าง เช่น งานหนัก อยู่ในสถานการณ์ที่ต้องหาเงินเลี้ยงดูครอบครัว อีกทั้งผู้ปกครองมักจะไม่ค่อยสนใจว่าลูกจะมีความต้องการอย่างไร กำลังทำอะไร หรือคิดอะไรอยู่ เด็กที่โตมาด้วยการเลี้ยงลูกแบบละเลยอาจรู้สึกขาดความอบอุ่นและความรักของพ่อแม่ จนแสวงหาสิ่งที่ขาดจากคนแปลกหน้า ทำให้อาจนำตัวเองไปอยู่ในสังคมที่ไม่ดี เสพยาเสพติด ดื่มแอลกอฮอล์ แต่ในขณะเดียวกัน ลูกที่ถูกละเลยอาจโตมาเป็นบุคคลมีคุณภาพ ประสบความสำเร็จได้ เนื่องจากเรียนรู้ที่จะคิด พูด ทำอะไรด้วยตัวเองตั้งแต่เล็ก ๆ
วิธีเลี้ยงลูก ในแต่ละช่วงวัย
วิธีเลี้ยงลูก ในแต่ละช่วงวัยให้เหมาะสมและช่วยส่งเสริมพัฒนาการให้ลูก อาจทำได้ดังนี้
-
ทารกแรกเกิด
ช่วงอายุ 0-1 ปี ลูกจะเริ่มมีพัฒนาการด้านการเคลื่อนไหว ตอบสนอง เช่น การยิ้ม โบกมือ เอื้อมแขนไปจับวัตถุสิ่งของที่อยู่ตรงหน้า อีกทั้งยังเริ่มเปล่งเสียงเรียกพ่อแม่ หรือพูดคุยโต้ตอบ นอกจากนี้ เมื่อทารกอายุ 9 เดือน ถึง 1 ปี ก็จะเริ่มหัดคลาน และพยายามลุกขึ้นยืน เดิน ตามลำดับ โดยคุณพ่อคุณแม่สังเกตได้จากการคว้าหาที่ยึดเพื่อพยุงตัวขึ้น การดันตัวจากพื้น
วิธีเลี้ยงลูกช่วงวัยทารก
- ให้ทารกกินนมในช่วงอายุ 6 เดือนแรก เมื่อสังเกตว่าลูกมีฟันขึ้นอาจให้อาหารอ่อน เช่น ผักต้ม ซีเรียล เต้าหู้ ไข่ โดยทำให้นิ่มและขนาดเล็กมากที่สุด เพื่อให้ทารกรับรู้รสชาติอาหารใหม่ ๆ และเริ่มฝึกให้ทารกเริ่มรับประทานอาหารแข็ง
- อุ้มทารกอย่างระมัดระวัง ไม่ควรเขย่าทารก เพราะบริเวณลำคอและศีรษะของทารกยังไม่แข็งแรง
- พูดคุยกับลูกบ่อย ๆ เพื่อให้ลูกจดจำและเริ่มเปล่งเสียงตามคำที่ได้ยิน
- อ่านหนังสือ ร้องเพลง และเปิดเพลงให้ลูกฟัง เพื่อกระตุ้นพัฒนาการด้านภาษา
- เอาใจใส่ลูกน้อย ใช้เวลากอดและอุ้มให้มาก ๆ เพราะจะทำให้ทารกรับรู้ได้ถึงความรัก ความปลอดภัย
- ควรระวังไม่ให้ผ้าห่ม ผ้าอ้อม ตุ๊กตา หรือหมอน ที่อยู่รอบตัวทารกบดบังใบหน้าจนทำให้หายใจไม่ออก
- ให้ทารกนอนพักผ่อนมาก ๆ สำหรับทารกแรกเกิด ควรนอนอย่างน้อย 12-16 ชั่วโมง/วัน
- ไม่ควรนำของเหลว อาหารร้อน และของมีคมอันตรายไปวางไว้ใกล้ลูก เพราะอาจทำให้ทารกเอื้อมมือคว้าจนเกิดอุบัติเหตุ
- ผู้ปกครองควรงดการสูบบุหรี่ใกล้ลูกเพราะอาจทำให้ทารกสูดดมควันที่เป็นพิษ
- ควรให้ลูกได้รับวัคซีนตามกำหนด เพื่อป้องกันโรคที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ เนื่องจากระบบภูมิคุ้มกันในทารกแรกเกิดยังพัฒนาไม่เต็มที่
-
ความคิดเห็นทั้งหมด
แบ่งปันความคิดเห็นของคุณ
ร่วมแสดงความคิดเห็นของคุณกับ Hello คุณหมอ
สมัครสมาชิก หรือ เข้าสู่ระบบ เพื่อร่วมการพูดคุย