อาการสมาธิสั้นในเด็ก เป็นภาวะเรื้อรังที่เกิดขึ้นก่อนเด็กมีอายุ 12 ปี เด็กบางคนเริ่มมีอาการตั้งแต่อายุ 3 ขวบและอาจเป็นต่อเนื่องจนถึงวัยผู้ใหญ่ โดยคุณพ่อคุณแม่อาจสังเกตว่าเด็กสมาธิสั้นหรือไม่ได้จากอาการกระสับกระส่ายอยู่ไม่นิ่ง หรือไม่สามารถจดจ่ออยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้นาน คุณพ่อคุณแม่จึงควรศึกษาวิธีรับมือเมื่อเด็กมีอาการสมาธิสั้น ก่อนนำไปสู่ภาวะที่รุนแรงขึ้นจนกระทบกระเทือนการใช้ชีวิตเมื่อเตบโตขึ้นในอนาคต
[embed-health-tool-vaccination-tool]
อาการสมาธิสั้นในเด็ก
อาการของเด็กสมาธิสั้นมีความรุนแรงหลายระดับ และพบได้มากในเด็กผู้ชายมากกว่าเด็กผู้หญิง สำหรับเด็กผู้ชาย มักมีอาการอยู่ไม่นิ่ง หุนหันพลันแล่นเป็นหลัก ส่วนเด็กผู้หญิงอาจมีอาการขาดสมาธิในการจดจ่อกับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง
อาการของเด็กสมาธิสั้นแบ่งได้ 3 ประเภท ดังนี้
- สมาธิสั้นแบบขาดสมาธิ (Predominantly Inattentive) เด็กที่ถูกจัดอยู่ในกลุ่มนี้อาจไม่มีสมาธิจดจ่ออยู่กับสิ่งรอบตัว เช่น ไม่ใส่ใจรายละเอียดจนเกิดความผิดพลาด มีปัญหาในการจดจ่อกับสิ่งที่ต้องทำ มีอาการเมินเฉย ไม่ตอบโต้เมื่อมีคนพูดด้วยมีอาการลืมบ่อย ฟุ้งซ่าน
- สมาธิสั้นแบบอยู่ไม่นิ่งและหุนหันพลันแล่นเป็นหลัก (Predominantly Hyperactive/Impulsive) เด็กที่สมาธิสั้นในกลุ่มนี้จะมีอาการอยู่ไม่สุข พูดมากเกินไป ชอบขัดจังหวะผู้ถาม ไม่ชอบการรอ ไม่สามารถทำกิจกรรมใด ๆ หรืออาจทำอย่างเงียบ ๆ ไม่สามารถอยู่นิ่งได้จะต้องวิ่ง ปีน หรือเคลื่อนไหวร่างกายอยู่ตลอดเวลา
- สมาธิสั้นแบบผสม เด็กที่มีลักษณะโรคสมาธิสั้นแบบผสมจะมีอาการของทั้ง 2 ลักษณะผสมกันไปตามสถานการณ์หรืออารมณ์ของเด็กที่ไม่อาจคาดเดาได้
ปัจจัยเสี่ยงเด็กสมาธิสั้น
อาการเด็กสมาธิสั้นอาจจะมีสาเหตุไม่แน่ชัด แต่เป็นไปได้ว่าอาจมาจากปัจจัยเสี่ยงในด้านต่าง ๆ ดังนี้
- กรรมพันธุ์ หากมีคนในครอบครัว เป็นโรคสมาธิสั้นหรือเป็นโรคทางจิตเวชอื่น ๆ อาจเป็นสาเหตุที่ส่งผลให้เด็กมีโอกาสเสี่ยงเป็นโรคนี้ได้
- ปัจจัยทางสิ่งแวดล้อม แม้ว่าปัจจัยทางสิ่งแวดล้อมจะไม่ใช่สาเหตุหลักของการทำให้เด็กสมาธิสั้น แต่ปัจจัยต่าง ๆ ก็ส่งผลทำให้อาการสมาธิสั้นดีหรือแย่ลงได้ เช่น การได้รับสารพิษอย่างตะกั่ว การใช้ยาขณะที่มารดาตั้งครรภ์ การสูบบุหรี่ขณะตั้งครรภ์ ดื่มแอลกอฮอล์ขณะตั้งครรภ์ คลอดก่อนกำหนด ปัจจัยต่าง ๆ เหล่านี้ล้วนเป็นตัวกระตุ้นทำให้เด็กมีอาการสมาธิสั้นได้
- ภาวะเสี่ยงคลอดก่อนกำหนด
วิธีรักษาอาการเด็กสมาธิสั้น
คุณพ่อคุณแม่ควรฝึกทักษะให้ลูกรู้จักเข้าสังคม ทำความเข้าใจกับพฤติกรรมลูก พูดคุยเอาใจใส่และให้เด็กรับประทานยาตามที่คุณหมอแนะนำ ดังนี้
นอกจากนี้ควรพาเด็กสมาธิสั้นเข้ารับการบำบัดจิตใจ พฤติกรรม และตรวจสุขภาพกับคุณหมอเป็นประจำ เพื่อดูพัฒนาการของอาการสมาธิสั้นว่ามีอาการดีขึ้นหรือไม่
วิธีป้องกันอาการเด็กสมาธิสั้น
วิธีป้องกันอาการเด็กสมาธิสั้นอาหารสมาธิสั้นในเด็ก ได้แก่
- ขณะตั้งครรภ์ คุณแม่ควรดูแลตนเอง เช่น หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ การสูบบุหรี่ขณะตั้งครรภ์หรือการใช้ยาต่าง ๆ โดยที่ไม่ได้รับคำสั่งจากแพทย์ หรือพฤติกรรมใดก็ตามที่อาจส่งผลต่อการพัฒนาทารกในครรภ์
- ดูแลลูกไม่ให้ได้รับสารพิษและไม่ให้ใกล้ชิดในบริเวณที่มีมลพิษ เช่น การสัมผัสหรือการได้รับสิ่งที่มีสารตะกั่วเป็นส่วนประกอบ ควันบุหรี่
- จำกัดเวลาในการใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ถึงแม้ว่าวิธีนี้จะยังไม่ได้รับการพิสูจน์ว่ามีส่วนช่วยในการป้องกันอาการสมาธิสั้นในเด็กได้ แต่การจำกัดการใช้คอมพิวเตอร์ สมาร์ทโฟน และวิดีโอเกม ในช่วงก่อนอายุ 5 ขวบจะช่วยให้เด็กมีสมาธิมากขึ้น นอกจากนี้ การใช้อุปกรณ์อิเล็กโทรนิกส์ตั้งแต่ยังเด็กยังส่งผลต่อสายตาและสุขภาพอื่น ๆ