backup og meta

เขย่าทารก พฤติกรรมอันตรายที่ผู้ใหญ่ควรระวัง

เขย่าทารก พฤติกรรมอันตรายที่ผู้ใหญ่ควรระวัง

เขย่าทารก เป็นพฤติกรรมที่ก่อให้เกิดภาวะ Shaken Baby Syndrome เพราะเมื่อคุณพ่อคุณแม่เล่นกับลูกน้อยด้วยการจับลูกเขย่า หรือเขย่าเพื่อให้ลูกหยุดร้อง อาจส่งผลให้เกิดเลือดออกในสมอง เพิ่มความเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ และอาจร้ายแรงถึงขั้นทำให้เสียชีวิตได้ โดยเฉพาะเด็กทารกที่มีอายุน้อยกว่า 1 ปี

Shaken Baby Syndrome เกิดจากอะไร

เขย่าทารก เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะ Shaken Baby Syndrome พบในเด็กทารกวัย 3 – 8 เดือน เพราะแรงเขย่านั้นส่งผลให้เนื้อสมองเกิดการกระแทกกับผนังกะโหลกศีรษะ โดยสมองของเด็กวัยนี้จะมีน้ำในช่องสมองมากกว่าเนื้อสมอง เมื่อเขย่าตัวเด็กแรงๆ เนื้อสมองจึงเกิดการแกว่งไปแกว่งมาแล้วกระแทกกับกะโหลก จนทำให้เนื้อสมองเกิดความบอบช้ำเสียหาย

เพราะเหตุใดจึงห้าม เขย่าทารก

สมองของเด็กทารกนั้นมีขนาดใหญ่ อีกทั้งกล้ามเนื้อคอก็ยังไม่แข็งแรงมากพอต่อการพยุงศีรษะได้ ดังนั้นการเขย่าทารกอย่างรุนแรงจะทำให้เนื้อสมองกระทบกระแทกกับกะโหลกศีรษะ ส่งผลให้เส้นเลือดที่หุ้มสมองอันบอบบางนั้นเกิดการฉีกขาดได้ จนกระทั่งเกิดภาวะเลือดออกจากสมองที่เป็นอันตราย

อาการที่เกิดจากการเขย่าทารก

เมื่อเด็กทารกถูกเขย่าตัวแรง ๆ อาจเกิดบาดแผลภายในที่ไม่สามารถมองเห็นได้ แต่คุณพ่อคุณแม่อาจสังเกตจากความผิดปกติบางอย่าง เช่น ซึม ไม่กินนม อาเจียน  ร้องไห้งอแงตลอดเวลา หายใจลำบากจนกระทั่งไม่สามารถตอบสนองต่อเสียงเรียกได้ ซึ่งเป็นอาการที่คุณพ่อคุณแม่ควรพาลูกไปพบแพทย์โดยเร็วที่สุด หากปล่อยทิ้งไว้นานอาจมีอาการรุนแรงขึ้นจนถึงเสียชีวิตได้

การกระทำแบบไหนที่คุณพ่อคุณแม่มือใหม่ควรระวัง

เพื่อป้องกันการเกิด Shaken Baby Syndrome คุณพ่อคุณแม่และผู้ใหญ่ที่ต้องการเล่นกับเด็กทารกควรหลีกเลี่ยงการกระทำเหล่านี้

  • จับตัวทารกเหวี่ยงไปมา การจับตัวทารกเหวี่ยงไปมาแรง ๆ จนหัวสั่นคลอน ย่อมส่งผลต่อสมองของทารก อาจก่อให้เกิดการกระทบกระเทือนและเป็นอันตรายต่อสมอง
  • หยอกล้อลูกด้วยการจับตัวลูกโยนขึ้นสูง แล้วให้หล่นลงมาค่อยอุ้มประคอง เพราะถึงแม้ว่าจะไม่ใช่การเขย่าตัวทารกแรง ๆ ก็ตาม แต่ก็ทำให้สมองของทารกกระทบกระเทือนได้เช่นเดียวกัน
  • อุ้มลูกโดยไม่ประคองศีรษะ ขณะที่อุ้มเด็กทารกทุกครั้ง จำเป็นต้องประคองศีรษะเพื่อป้องกันศีรษะสั่นคลอนหรือหักได้
  • เขย่าทารกเมื่องอแง คุณพ่อคุณแม่ควรพยายามควบคุมอารมณ์โกรธของตัวเองไม่ให้โมโหจนขาดสติ และควรหาวิธีอื่น ๆ ปลอบประโลมให้ทารกหยุดร้องไห้แทน อาจกอดเบา ๆ ร้องเพลงกล่อม
  • ปล่อยให้ทารกล้มหงายหลัง ควรระวังไม่ให้ทารกหรือเด็กเล็ก ๆ นั่งล้มไปทางด้านหลังอย่างรุนแรง เนื่องจากจะทำให้ศีรษะได้รับความกระทบกระเทือนที่เสี่ยงต่อการเกิดภาวะ Shaken Baby Syndrome

เมื่อคุณพ่อคุณแม่ทราบถึงอันตรายจากการเขย่าทารกหรือโรค Shaken Baby Syndrome แล้ว หากเคยมีพฤติกรรมนี้ก็ไม่ควรทำอีก เพื่อช่วยป้องกันทารกมีอาการเจ็บป่วยหรือเสียชีวิตจากภาวะ Shaken Baby Syndrome

 

[embed-health-tool-vaccination-tool]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Shaken baby syndrome. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/shaken-baby-syndrome/symptoms-causes/syc-20366619?page=0&citems=10. Accessed March 16, 2022.

What Is Shaken Baby Syndrome?. https://www.webmd.com/parenting/baby/shaken-baby-syndrome#1. Accessed March 16, 2022.

Abusive Head Trauma (Shaken Baby Syndrome). https://kidshealth.org/en/parents/shaken.html. Accessed March 16, 2022.

Shaken baby syndrome. https://medlineplus.gov/ency/article/007578.htm. Accessed March 16, 2022.

Shaken Baby Syndrome. https://my.clevelandclinic.org/health/diseases/13779-shaken-baby-syndrome. Accessed March 16, 2022.

เวอร์ชันปัจจุบัน

16/03/2022

เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย Duangkamon Junnet

อัปเดตโดย: Duangkamon Junnet


บทความที่เกี่ยวข้อง

วรรณกรรมเยาวชน แนะนำเล่มไหนดีที่จะช่วยปลูกฝังนิสัยรักการอ่าน

โรคหัดเยอรมัน ทำร้ายทารกในครรภ์ ป้องกันอย่างไรได้บ้าง


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

Duangkamon Junnet


เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์ · แก้ไขล่าสุด 16/03/2022

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา