โรคกลัวสังคม เป็นโรควิตกกังวลชนิดหนึ่งที่อาจทำให้เกิดความกลัวอย่างรุนแรงในสภาพแวดล้อมทางสังคม ผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้อาจมีปัญหาในการพูดคุยกับผู้คน การพบปะผู้คนใหม่ ๆ อีกทั้งยังกลัวการถูกตัดสินจากผู้อื่น อาการดังกล่าวนั้นไม่ได้พบเฉพาะในผู้ใหญ่ แต่เด็ก ๆ ก็อาจเป็นโรคนี้ได้เช่นกัน
โรคกลัวสังคม คืออะไร
โรคกลัวสังคม (Social phobia) คือ โรควิตกกังวลนิดหนึ่งที่อาจทำให้เกิดความหวาดกลัวอย่างรุนแรงเมื่อต้องพูดคุยกับผู้คน พบปะผู้คนใหม่ ๆ และการเข้าสังคม นอกจากนั้น ผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้อาจกลัวการถูกตัดสินหรือพิจารณาจากผู้อื่น โรคกลัวสังคมอาจเป็นความกลัวที่ไม่มีเหตุผล และอาจรุนแรงจนไม่สามรถก้าวข้ามผ่านไปได้
โรคกลัวสังคมอาจแตกต่างจากการเขินอาย เพราะการเขินอายอาจเกิดขึ้นเพียงระยะเวลาสั้น ๆ และอาจไม่รบกวนชีวิตประจำวัน ส่วนโรคกลัวสังคมอาจเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง จนอาจส่งผลทำให้ร่างกายอ่อนแอ และอาจส่งผลต่อความสามารถต่าง ๆ ดังนี้
- การทำงาน
- การเรียนหนังสือ
- การพัฒนาความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับคนนอกครอบครัว
โรคกลัวสังคมอาจเป็นปัญหาที่เริ่มในช่วงวัยรุ่น สำหรับบางคนอาจดีขึ้นเมื่ออายุมากขึ้น แต่สำหรับหลาย ๆ คนอาจไม่หายไปเองถ้าไม่ได้รับการรักษา ดังนั้น อาจต้องไปพบคุณหมอ เพื่อเข้ารับการรักษาอย่างถูกวิธี
อาการของโรคกลัวสังคม
อาการของโรคกลัวสังคม อาจมีอาการเกิดขึ้นทั้งด้านกายภาพ และทางจิตใจ โดยอาการที่อาจเกิดขึ้นมีดังนี้
ลักษณะอาการทางกายภาพ
- หน้าแดง
- มีอาการพูดลำบาก
- เวียนหัวหรือมึนหัว
- เหงื่อออกมากเกินไป
- ตัวสั่นหรือมีอาการสั่น
- อัตราการเต้นของหัวใจอย่างรวดเร็ว
- คลื่นไส้ อาเจียน
ลักษณะอาการทางจิต
- กังวลอย่างมากเกี่ยวกับสถานการณ์ทางสังคม
- กังวลเกี่ยวกับความอับอายในที่สาธารณะ
- กังวลว่าคนอื่นจะสังเกตเห็นว่ากำลังเครียดหรือวิตกกังวล
- มีความกังวลกับวันหรือสัปดาห์ กังวลก่อนเหตุการณ์นั้น ๆ จะมาถึง
- ต้องการดื่มแอลกอฮอล์เวลาที่ต้องเข้าสังคม
- ปลีกตัวออกจากสังคม
- ขาดเรียน หรือลางาน
หากโรคกลัวสังคมเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ผู้ป่วยอาจพยายามหลีกเลี่ยงสถานการณ์ทางสังคมทั้งหมด เช่น
- การถามคำถาม
- การสัมภาษณ์งาน
- การใช้ห้องน้ำสาธารณะ
- การคุยโทรศัพท์
- การรับประทานอาหารในที่สาธารณะ
- การไปช้อปปิ้ง
วิธีรับมือของคุณพ่อคุณแม่
เมื่อเด็กเกิดโรคกลัวสังคม คุณพ่อคุณแม่อาจดูแลเด็กได้ดังนี้
- สอนให้เด็กรู้จักการเอาใจใส่ คุณพ่อคุณแม่อาจสอบถามเด็กว่าเพื่อนคนอื่น ๆ รู้สึกอย่างไร เวลาเกิดเหตุการณ์ต่าง ๆ ขึ้น และอาจตามติดสถานการณ์ของเด็กอยู่เสมอ
- สอนให้เด็กเข้าใจในเรื่องของการมีพื้นที่ส่วนบุคคล คุณพ่อคุณแม่อาจบอกเด็กว่า เป็นเรื่องสำคัญที่ทุกคนอาจต้องมีพื้นที่ส่วนตัว เพื่อความรู้สึกสบายใจ อาจสอยให้เด็กเข้าใจว่า เด็กควรให้เกียรติกับพื้นที่ส่วนตัวของแต่ละคน และอาจฝึกฝนวิธีการโต้ตอบกับผู้อื่นให้กับเด็ก
- ฝึกฝนเด็กในเรื่องของการเข้าหาผู้อื่น คุุณพ่อคุณแม่อาจสอนเด็ก ๆ ให้เข้าใจถึงวิธีที่เหมาะสมในการเริ่มบทสนทนา อาจสอนให้รู้จักให้ความสนใจกับผู้อื่น หรือหัดให้เด็กเข้าร่วมกลุ่มกับเพื่อน ๆ โดยวิธีการฝึกฝนนี้คุณพ่อคุณแม่อาจพูดคุยกับเด็กระหว่างรับประทานอาหาร หรืออาจพูดคุยระหว่างขับรถไปส่งที่โรงเรียน
- สอนเด็กให้รู้จักกับการรอคอย คุณพ่อคุณแม่อาจหาเวลาอยู่กับเด็กอย่างน้อย 1 ชั่วโมง/วัน อาจเล่นกับเด็กเพื่ออธิบายถึงความหมายของการรอ การผลัดเปลี่ยนกัน การแบ่งปัน และพูดคุยซึ่งกันและกัน เพื่อสร้างความสัมพันธ์ในครอบครัวและความอบอุ่นใจ
[embed-health-tool-bmi]