backup og meta

วิธีการรับมือเมื่อเด็กกลัวความมืด

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย พลอย วงษ์วิไล


เขียนโดย Sopista Kongchon · แก้ไขล่าสุด 29/04/2022

    วิธีการรับมือเมื่อเด็กกลัวความมืด

    เด็กกลัวความืด เป็นปัญหาที่พบได้บ่อย โดยเฉพาะในเด็กเล็ก เนื่องจากเด็กมักจะมีจินตนาการสูง ชอบคิดว่าอาจจะมีสัตว์ประหลาดที่อยู่ใต้เตียง หรือกลัวว่าตัวอะไรจะโผล่มาในความมืด ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่จึงควรศึกษาเกี่ยวกับวิธีการรับมืออย่างเหมาะสมเมื่อเด็กมีอาการกลัวความมืด

    เด็กกลัวความมืด พ่อแม่รับมืออย่างไร

    สิ่งที่ดีที่สุดที่คุณพ่อคุณแม่สามารถทำได้ คือการสื่อสาร โดยควรพูดคุยกับลูกด้วยความเข้าใจ ซึ่งเด็กๆ จะสามารถเข้าใจได้ และที่สำคัญคือไม่ควรพูดกับลูกว่า การกลัวความมืดเป็นเรื่องงี่เง่า เพราะนอกจากจะไม่ช่วยให้อาการกลัวของเด็กหายไป ยังทำให้เด็กรู้สึกผิด รวมถึงรู้สึกอายด้วย นอกจากนี้ยังมีสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ควรทำและไม่ควรทำดังต่อไปนี้

    ควรใจเย็น

    เวลาพูดกับเด็ก ๆ เรื่องอาการกลัวความมืดให้พูดด้วยความใจเย็น และไม่ใช้อารมณ์เวลาพูดกับลูก เพราะอาจทำให้ทุกอย่างแย่ลง ให้คุณพ่อคุณแม่แก้ไขสถานการณ์โดยทำให้เด็ก ๆ รู้สึกว่าตัวเองปลอดภัย และทำให้พวกเขารู้สึกว่ารับมือกับความกลัวได้ นอกจากนี้ ยังอาจตั้งชื่อให้กับความกลัว เพื่อให้เด็ก ๆ รู้ว่าตัวเองกำลังกลัวอะไรแล้ว และทำความเข้าใจกับความกลัวนั้น

    อย่าใช้อารมณ์

    เด็กกลัวความมืดอาจไม่ใช่เรื่องแปลก และคุณพ่อคุณแม่ไม่ควรที่จะหงุดหงิด หรืออารมณ์เสีย เมื่อรู้ว่าสิ่งที่ลูกกลัวไม่มีอยู่จริง

    ฝึกให้เด็กตัดสินใจ

    ลองให้ลูก ๆ มีอำนาจในการตัดสินใจที่จะจัดการกับความกลัว โดยอาจถามลูกว่า อยากให้พ่อแม่นอนด้วยหรือไม่ หรือให้เข้ามาดูลูกเป็นระยะ และให้เด็ก ๆ ตัดสินใจว่าเวลาไหนที่ลูกจะรู้สึกปลอดภัยที่สุด เช่น อยากให้คุณพ่อคุณแม่มาหาทุก ๆ 5 นาทีหรือทุก ๆ 2 ชั่วโมง ซึ่งการให้เด็กตัดสินใจ จะช่วยให้ลูกรู้สึกดีขึ้น นอกจากนี้ยังควรให้ลูกอยู่กับอุปกรณ์ที่ทำให้พวกเขารู้สึกสบาย และรู้สึกปลอดภัย เช่น ผ้าห่ม ตุ๊กตา

    อย่าทำเป็นเรื่องเล่นๆ

    อย่าแกล้งลูกด้วยการขู่ว่า มีอะไรบางอย่างในความมืด เช่น มีสัตว์ป่า มีสัตว์ประหลาดอยู่ใต้เตียง หรือบอกลูกว่า ‘ถ้าลูกเป็นเด็กดี สัตว์ประหลาดจะหายไป’ การทำแบบนี้จะทำให้เด็กความกลัวของเด็กยังอยู่ และเด็กจะรู้สึกว่าไม่สามารถเอาชนะความกลัวนี้ได้ ดังนั้นจึงไม่ควรแกล้งลูกหรือขู่ลูก

    ทำบรรยากาศให้สงบก่อนนอน

    ก่อนนอนไม่ควรให้เด็กๆ ดูโทรทัศน์ หรืออ่านหนังสือที่น่ากลัว เพราะจะรบกวนการนอนหลับของเด็กได้

    อย่าละเลยปัญหาใหญ่

    ความเครียดที่พบบ่อย เช่น ปัญหาการหย่าร้าง สัตว์เลี้ยงเสียชีวิต หรือการมีลูก สามารถทำให้ครอบครัวอยู่ในความเครียดได้ และเด็กๆ สามารถรับรู้ความเครียดของพ่อแม่ และพวกเขาอาจรู้สึกกังวล ซึ่งความกังวลสามารถปรากฏในรูปแบบของการกลัวความมืด ในตอนกลางคืน

    เมื่อไหร่ควรไปพบคุณหมอ

    คุณพ่อคุณแม่สามารถทำให้เด็ก ๆ อาการกลัวความมืดได้ภายในไม่กี่สัปดาห์ แต่หากเด็กกลัวความมืดเป็นเวลานาน ควรปรึกษาแพทย์ นอกจากนี้หากลูกมีอาการดังต่อไปนี้ ควรไปพบคุณหมอทันที

    • เด็กกลัวความมืดและกังวล เป็นเวลานาน และมีอาการรุนแรงมากขึ้น
    • เด็กกลัวความมืดหลังจากผ่านช่วงเวลาที่กระทบกระเทือนจิตใจ หรือยังมีอาการกลัวความมืดอยู่ แม้ว่าเหตุการณ์นั้นจะจบลงไปแล้ว

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    พลอย วงษ์วิไล


    เขียนโดย Sopista Kongchon · แก้ไขล่าสุด 29/04/2022

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา