backup og meta

ลูกน้อยร้องไห้บ่อย เกิดจากอะไร ควรรับมืออย่างไร

ลูกน้อยร้องไห้บ่อย เกิดจากอะไร ควรรับมืออย่างไร

ลูกน้อยร้องไห้บ่อย อาจทำให้คุณพ่อคุณแม่รู้สึกกังวลใจและเกิดความเครียด โดยปกติแล้วเมื่อลูกร้องไห้อาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น ความหิว เหนื่อย ความเครียด หรืออาจเกิดจากอาการโคลิค (Colic) ซึ่งเป็นอาการที่อาจพบบ่อยในเด็กแรกเกิดถึง 3 เดือน ส่งผลทำให้เด็กร้องไห้งอแงมากและอาจควบคุมได้ยาก ดังนั้น การเข้าใจถึงสาเหตุและการดูแลให้ลูกรู้สึกสบายตัว จึงอาจช่วยทำให้ลูกน้อยร้องไห้น้อยลง

ลูกน้อยร้องไห้บ่อย เกิดจากอะไร

การร้องไห้ของลูกเป็นการสื่อสารที่เด็กสามารถทำได้ เพื่อบ่งบอกถึงความผิดปกติที่เกิดขึ้น เนื่องจากพวกเขายังไม่สามารถพูดได้ ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่อาจต้องสังเกตทุกครั้งที่ลูกร้องไห้ว่าพวกเขากำลังจะสื่อสารอะไร ซึ่งสาเหตุที่อาจทำให้ลูกน้อยร้องไห้บ่อย อาจมีดังนี้

อาจมีอาการเหนื่อย

เด็กต้องการการพักผ่อนที่เพียงพอและเหมาะสม ดังนั้นหากเด็กรู้สึกเหนื่อยหรืออ่อนเพลีย คุณพ่อคุณแม่ควรให้เด็กพักผ่อนทันที โดยอาจสังเกตลักษณะอาการที่บ่งบอกถึงความเหนื่อยล้า เช่น การขยี้ตา หาว ทำสีหน้าอ่อนเพลีย และในบางครั้งอาจ

ร้องไห้งอแงออกมานั่นเอง ซึ่งอาการดังกล่าวจะพบได้ในเด็กเล็ก ๆ หากเป็นเด็กที่โตกว่าจะมีอาการร้องไห้น้อยลง

อาจกำลังหิว

อาการนี้สามารถพบได้บ่อยในเด็กทารก เนื่องจากยังไม่สามารถสื่อสารหรือโต้ตอบกับคุณพ่อคุณแม่ได้ จึงร้องไห้ออกมาเพื่อเป็นสัญญาณให้รู้ว่าพวกเขากำลังหิว

อาจต้องการให้คุณพ่อคุณแม่สนใจ

การร้องไห้อาจเป็นวิธีที่เด็กใช้ในการทำให้คุณพ่อคุณแม่สนใจ ดังนั้น เมื่อเด็กร้องไห้เพื่อเรียกร้องความสนใจ คุณพ่อคุณแม่อาจต้องปล่อยผ่าน หรือควรมีการพูดคุยให้เข้าใจถึงเหตุและผลอย่างตรงไปตรงมา

อาจเกิดจากคาเฟอีนในนมแม่

สำหรับคุณแม่ที่ดื่มเครื่องดื่มหรืออาหารที่มีคาเฟอีนเป็นประจำทุกวัน อาจต้องหลีกเลี่ยงคาเฟอีนในขณะให้นมลูก เพราะอาจส่งผลต่อน้ำนม ทำให้เด็กไม่ง่วงนอน ตื่นกลางดึกบ่อยและอาจทำให้งอแงมากขึ้น

ถึงแม้การร้องไห้อาจเป็นอีกหนึ่งวิธีที่เด็กใช้ในการสื่อสาร แต่หากเด็กร้องไห้นานกว่า 15 นาทีไปจนถึง 1 ชั่วโมง นั่นอาจเป็นสัญญาณที่บ่งบอกว่าเด็กอาจกำลังมีปัญหา ไม่ว่าจะเรื่องของอาการป่วยหรือมีบางอย่างที่ทำให้ไม่สบายตัว

ลูกน้อยร้องไห้บ่อยคุณพ่อคุณแม่ควรทำอย่างไร

วิธีแก้ปัญหาเมื่อลูกน้อยร้องไห้บ่อยอาจทำได้หลายวิธี ซึ่งคุณพ่อคุณแม่อาจใช้วิธีต่อไปนี้ เพื่อช่วยให้ลูกหยุดร้องไห้

  • อุ้มลูกแล้วโยกเบา ๆ พร้อมกับลูบหลัง
  • ให้ลูกดูดจุกนมหลอก
  • เปลี่ยนผ้าอ้อม ในกรณีที่ผ้าอ้อมมีความเปียกชื้นมากเกินไป
  • สำรวจที่นอนของลูกว่ามีสิ่งผิดปกติ หรือมีแมลงตัวเล็ก ๆ มาทำร้ายลูกหรือไม่
  • อุ้มแล้วพาเดินไปข้างนอก
  • ร้องเพลงกล่อม 
  • ให้ดื่มนม ในกรณีที่ร้องไห้เพราะความหิว

เมื่อไหร่ที่ควรพาลูกไปหาคุณหมอ

หากลูกน้อยร้องไห้บ่อยผิดปกติหรือร้องไห้ไม่หยุด อาจจำเป็นที่จะต้องมีการปรึกษากับคุณหมอเพื่อสาเหตุของการร้องไห้ เช่น อาการติดเชื้อในหู ซึ่งอาจทำให้ลูกเกิดอาการเจ็บปวดจนร้องไห้ออกมา การร้องไห้ไม่ใช่แค่เพียงต้องปลอบเพื่อให้หยุดร้องไห้เสมอไป คุณพ่อคุณแม่ควรสังเกตอาการของลูกด้วย เพราะสาเหตุของการร้องไห้อาจมาจากโรคภัยไข้เจ็บ เช่น ไข้หวัด ปวดท้อง แต่ถ้าลูกร้องไห้มากจนเกินไปและไม่ยอมหยุดร้องไห้ จนคุณพ่อคุณแม่สงสัยว่าลูกอาจมีอาการโคลิค ควรปรึกษาคุณหมอเพื่อการตรวจสอบปัญหาและดำเนินการรักษาต่อไป

[embed-health-tool-vaccination-tool]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Crying: babies and children 0-8 years. https://raisingchildren.net.au/newborns/behaviour/crying-colic/crying-0-8-years. Accessed December 25, 2017

Could Your Baby’s Crying Be Colic?. https://www.webmd.com/parenting/baby/what-is-colic#1. Accessed December 25, 2017

Crying: children 1-8 years. https://raisingchildren.net.au/toddlers/behaviour/crying-tantrums/crying-children-1-8-years#:~:text=All%20children%20cry%20when%20they,sad%20or%20angry%2C%20for%20example. Accessed February 12, 2022

Crying Child That Is Not Acting Normally. https://www.peacehealth.org/medical-topics/id/aa81977. Accessed February 12, 2022

Crying, Age 3 and Younger. https://www.mottchildren.org/health-library/crybb. Accessed February 12, 2022

เวอร์ชันปัจจุบัน

11/10/2022

เขียนโดย Khongrit Somchai

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย

อัปเดตโดย: สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


บทความที่เกี่ยวข้อง

โนโรไวรัส สาเหตุอาการท้องเสียที่ระบาดในเด็ก

เด็กแรกเกิด ทำอะไรบ้างใน 1 วัน กับสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ควรรู้


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


เขียนโดย Khongrit Somchai · แก้ไขล่าสุด 11/10/2022

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา