backup og meta
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ถามคุณหมอ
บันทึก

การสื่อสารกับทารก ทักษะสำคัญของลูกน้อยที่ไม่ควรมองข้าม

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


เขียนโดย กัญญ์วรา ยุทธ์ธนพิริยะ · แก้ไขล่าสุด 04/04/2023

การสื่อสารกับทารก ทักษะสำคัญของลูกน้อยที่ไม่ควรมองข้าม

การสื่อสารกับทารก อาจเป็นวิธีที่ทารกแสดงออก เช่น ร้องไห้ ส่งยิ้ม การส่งเสียง เพื่อบ่งบอกบางสิ่งบางอย่างให้กับคุณพ่อคุณแม่ได้รู้ แต่การสื่อสารของทารกอาจจะไม่สามารถสื่อได้อย่างชัดเจนว่าพวกเขาต้องการอะไร ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่อาจต้องการสังเกตว่า ทารกตอบสนองต่อเสียงของคุณพ่อคุณแม่อย่างไร นอกจากนี้ การสื่อสารกับทารกเป็นประจำทุกวัน อาจช่วยกระตุ้นให้ทารกมีพัฒนาการด้านการสื่อสาร และพัฒนาการด้านการพูดที่ดีขึ้นได้

วิธีสื่อสารของทารก ที่ควรรู้

ตามปกติแล้วทารกมักจะส่งเสียงร้องเมื่อเกิดสิ่งที่ผิดปกติบางอย่าง เช่น หิว รู้สึกไม่สบายตัว รู้สึกถึงสิ่งแปลกปลอมต่าง ๆ ซึ่งการร้องไห้อาจเป็นวิธีเบื้องต้นที่ลูกใช้สื่อสารกับคุณพ่อคุณแม่ อย่างไรก็ตาม ทารกก็ยังใช้รูปแบบอื่น ๆ ในการสื่อสารด้วยเช่นกัน นอกจากนี้ ทารกยังสามารถบอกความแตกต่างระหว่างเสียงของมนุษย์และเสียงอื่น ๆ ได้ด้วย ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่อาจต้องพยายามสังเกตว่า ทารกตอบสนองต่อเสียงของคุณพ่อคุณแม่อย่างไร โดยอาจสังเกตได้จากเวลาที่ทารกกำลังร้องไห้อยู่ในเปล ให้ดูว่าเสียงที่คุณพ่อคุณแม่กำลังจะเดินเข้าไปหาที่เปลนั้นทำให้เสียงร้องของทารกเงียบลงหรือไม่ ดูว่าทารกสบตาเวลาที่พูดด้วยหรือไม่ ทารกอาจมีการขยับร่างกาย เช่น ขยับแขนหรือขา แสดงออกทางใบหน้าเวลาที่กำลังพูดด้วย บางครั้งคุณพ่อคุณแม่อาจสังเกตเห็นว่า ทารกกำลังยิ้มให้ ซึ่งรอยยิ้มอาจเป็นอีกหนึ่งสัญญาณการสื่อสารจากทารกได้เช่นกัน

การสื่อสารกับทารก ทำได้อย่างไรบ้าง

แม้ว่าทารกจะไม่สามารถตอบโต้ออกมาเป็นรูปประโยค คำ หรือวลีสั้น ๆ กับคุณพ่อคุณแม่ได้ แต่การสื่อสารกับทารกเป็นประจำทุกวันอาจช่วยกระตุ้นให้ทารกมีพัฒนาการด้านการสื่อสาร และพัฒนาการด้านการพูดที่ดีขึ้นได้ ซึ่งทักษะการพูดและการใช้ภาษาเกี่ยวข้องกับการพัฒนาการอ่าน การเขียน และทักษะมนุษยสัมพันธ์ตั้งแต่ในวัยทารกไปจนกระทั่งเมื่อลูกโตขึ้น โดนคุณพ่อคุณแม่อาจใช้วิธีการเหล่านี้ในการสื่อสารกับทารก

  • ยิ้มให้ทารกบ่อย ๆ พร้อมกับส่งเสียง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อทารกกำลังอ้าปากค้าง หรือกำลังหัวเราะ
  • มีสมาธิ ใส่ใจกับทารกด้วยการมอง เวลาที่ทารกกำลังหัวเราะ หรือกำลังส่งเสียงตามประสาของทารก คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรหันหน้าหนีหรือพูดคุยกับผู้อื่นในระหว่างนี้
  • พยายามทำความเข้าใจกับลักษณะ ท่าทางต่าง ๆ ที่ทารกกำลังทำ แม้ว่าจะมีเพียงสีหน้า เสียงร้อง หรือการขยับร่างกาย
  • พูดคุยกับทารกบ่อย ๆ แม้ว่าทารกจะไม่สามารถตอบกลับเป็นภาษาใดที่คุณพ่อคุณแม่สามารถเข้าใจได้
  • หมั่นตอบโต้กับทารกเป็นประจำ แม้ว่าคุณพ่อคุณแม่จะไม่เข้าใจในเสียงที่ทารกกำลังส่งเสียงออกมา
  • เปิดเพลงให้ทารกฟัง อาจเป็นเพลงสำหรับทารก เพื่อเสริมสร้างพัฒนาการที่สำคัญในวัยนี้
  • ร้องเพลงให้ทารกฟัง โดยอาจปรับระดับเสียงให้เป็นเสียงเล็กเสียงน้อย

เมื่อไหร่ควรไปพบคุณหมอ

  • เมื่อสังเกตเห็นว่าทารกมีพัฒนาการด้านการสื่อสารช้ากว่าทารกในวัยเดียวกัน เช่น ไม่ค่อยส่งเสียง พูดช้า
  • ทารกร้องไห้เสียงดังเป็นเวลานานผิดปกติโดยไม่มีสาเหตุ
  • หายใจติดขัดผิดปกติ คล้ายอาการหอบหืด และร้องไห้ไม่หยุด
  • ทารกส่งเสียงร้องตอนกลางคืนบ่อยครั้ง

อย่างไรก็ตามคุณพ่อคุณแม่อาจสังเกตได้ว่ามีสิ่งแปลกปลอมเกิดขึ้นกับทารกหรือไม่ เช่น

  • ผ้าอ้อมเปียกชื้นเกินไปหรือไม่
  • มีแมลง หรือสัตว์ตัวเล็ก ๆ กัดหรือไม่
  • อุณหภูมิในห้องเหมาะสมหรือไม่
  • ทารกหิวนมหรือไม่
  • ทารกขับถ่ายหรือไม่

เมื่อไปหาคุณหมอ คุณหมออาจตรวจพบสาเหตุต่าง ๆ ที่คุณพ่อคุณแม่อาจไม่ได้สังเกต เช่น ทารกอาจกำลังมีไข้ เป็นหวัด ตัวร้อน มีอาการระคายเคืองตา กำลังเจ็บปวด ไม่สบายตัวจากผ้าอ้อมที่ใช้หรือเสื้อผ้าที่ใส่ ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่ควรใส่ใจและหมั่นสังเกตทารกอย่างละเอียด เพราะทารกต้องการการดูแลที่มากเป็นพิเศษ หากพบเห็นอาการผิดปกติใด ๆ ควรรีบพาไปปรึกษากับคุณหมอโดยทันที

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


เขียนโดย กัญญ์วรา ยุทธ์ธนพิริยะ · แก้ไขล่าสุด 04/04/2023

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา