backup og meta

ทารกแรกเกิดหายใจเร็ว เป็นเรื่องน่ากังวลหรือไม่

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย พลอย วงษ์วิไล


เขียนโดย ชลธิชา จันทร์วิบูลย์ · แก้ไขล่าสุด 25/01/2024

    ทารกแรกเกิดหายใจเร็ว เป็นเรื่องน่ากังวลหรือไม่

    ทารกแรกเกิดหายใจเร็ว และถี่กว่าผู้ใหญ่ ถือเป็นเรื่องปกติ เพราะบางครั้งทารกต้องการเพิ่มออกซิเจนเข้าปอด เนื่องจากร่างกายต้องใช้แรงมากขึ้น จึงมักหายใจเร็ว สลับกับการหายใจในจังหวะที่ปกติ อย่างไรก็ตาม คุณพ่อคุณแม่ควรสังเกตลักษณะการหายใจของทารก และศึกษาข้อมูลว่าการหายใจของทารกในลักษณะใดที่ควรปรึกษาคุณหมอ เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาสุขภาพเกี่ยวกับการหายใจที่เป็นอันตราย

    ทารกแรกเกิดหายใจเร็ว เกิดจากอะไรได้บ้าง

    ทารกแรกเกิดหายใจเร็วถือเรื่องปกติ เนื่องจากร่างกายของทารกต้องการออกซิเจนเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะเมื่อออกแรงมากกว่าปกติ เช่น คลาน ร้องไห้  โดยปกติแล้ว ทารกแรกเกิดหายใจเร็วไม่ใช่เรื่องอันตราย แต่ทั้งนี้ อาจมีสาเหตุอื่น ๆ ที่ทำให้ทารกแรกเกิดหายใจเร็ว เช่น

    ภาวะหายใจลำบากชั่วขณะในทารกแรกเกิด (Transient tachypnea of the newborn หรือ TTNB)

    ภาวะหายใจลำบากชั่วขณะในทารกแรกเกิด มักเกิดในทารกที่มีอายุไม่เกิน 9-10 เดือน โดยปกติแล้วทารกแรกเกิดจะขับของเสียออกจากปอดหลังคลอด แต่สำหรับทารกที่มีภาวะหายใจลำบากชั่วขณะจะขับของเสียของจากปอดได้ไม่ดี ทำให้ร่างกายรับออกซิเจนไม่เพียงพอ จนส่งผลให้หายใจเร็ว เพื่อให้ได้รับออกซิเจนเข้าสู่ร่างกายมากขึ้น

    อารมณ์เสีย

    ทารกแรกเกิดหายใจเร็ว เมื่อรู้สึกอารมณ์ไม่ดี ไม่ว่าจะเกิดจากโมโห โกรธ หรือฉุนเฉียว โดยทารกแรกเกิดที่หายใจเร็วเนื่องจากอารมณ์เสียจะหายใจมากกว่า 60 ครั้งต่อนาที ซึ่งไม่มีอันตราย ตราบใดที่การหายใจนั้นกลับเข้าสู่ภาวะปกติตามสภาพอารมณ์ที่ดีขึ้น

    อุณหภูมิร้อนเกินไป

    เมื่ออุณหภูมิในร่างกายสูงเกินไป อาจทำให้ทารกแรกเกิดหายใจเร็วขึ้นได้ ทั้งนี้ อุณหภูมิในร่างกายที่สูงเกินไปถือเป็นเรื่องอันตรายและอาจทำให้เกิดภาวะขาดน้ำได้ คุณพ่อคุณแม่จึงควรตรวจสภาพอุณหภูมิของห้องหรือสภาพที่อยู่รอบ ๆ ตัวทารกเป็นประจำ ไม่ควรให้อุณหภูมิร้อนหรือหนาวเกินไป

    ปัญหาระบบทางเดินหายใจ

    หากทารกแรกเกิดหายใจเร็วอย่างต่อเนื่อง หรือมีอาการบ่อย ๆ อาจมีสาเหตุจากปัญหาระบบทางเดินหายใจ ซึ่งเป็นผลมาจากภาวะดังต่อไปนี้

    • ภาวะคลอดก่อนกำหนด เด็กที่คลอดก่อนกำหนดบางคนอาจมีปัญหาปอดพัฒนาได้ไม่เต็มที่ ส่งผลทำให้หายใจลำบาก
    • การติดเชื้อและการบาดเจ็บ เมื่อร่างกายติดเชื้อหรือมีอาการเจ็บป่วยบางอย่าง อาจส่งผลต่อการหายใจ เช่น การติดเชื้อในปอดและระบบทางเดินหายใจ

    ทารกหายใจเร็ว เสียงหายใจ บ่งบอกภาวะสุขภาพได้

    คุณพ่อคุณแม่และบุคคลใกล้ชิดควรหมั่นสังเกตการหายใจของทารกแรกเกิด ทั้งเสียงและรูปแบบการหายใจ เพราะสามารถบ่งบอกได้ว่าทารกมีภาวะสุขภาพผิดปกติหรือไม่ ดังนี้

    • เสียงหวีด อาจเกิดจากโพรงจมูกอุดตัน เนื่องจากมีน้ำมูกมากเกินไป อาจต้องรีบดูดน้ำมูกออกเพื่อให้ทารกหายใจสะดวกขึ้น
    • หายใจครืดคราด เกิดจากหลอดลมอุดตัน หลอดลมตีบ ที่อาจเป็นผลมาจากโรคหอบหืด โรคปอดบวม หรือการติดเชื้อไวรัส ควรสังเกตอาการให้ดี และหากลมหายใจแผ่ว หรือสะดุด ควรพาไปพบคุณหมอเพื่อตรวจร่างกายโดยเร็ว
    • กรน มักเกิดจากทารกแรกเกิดมีเมือกในโพรงจมูก แต่ในบางกรณีอาจเป็นสัญญาณของปัญหาสุขภาพเรื้อรัง เช่น ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ภาวะต่อมทอนซิลโต ซึ่งควรพาไปพบคุณหมอทันที ไม่ควรปล่อยทิ้งไว้

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    พลอย วงษ์วิไล


    เขียนโดย ชลธิชา จันทร์วิบูลย์ · แก้ไขล่าสุด 25/01/2024

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา