4. ท่าตะแคงข้าง (Side Lying)
ท่านี้อาจเหมาะสำหรับคุณแม่ที่ผ่าคลอด เนื่องจากจะทำให้ตัวของลูกน้อยไม่นอนทับบริเวณแผลหน้าท้องคุณแม่ ซึ่งคุณแม่อาจเริ่มต้นด้วยการนอนตะแคงข้าง แล้วจับตัวลูกให้ตะแคงข้างหันเข้าหาเต้านม โดยให้จมูกของลูกอยู่ในตำแหน่งตรงกับหัวนมของแม่ ใช้แขนที่อยู่ด้านล่างโอบประคองด้านหลังของลูก เพื่อให้ลูกน้อย และตัวคุณแม่รู้สึกสบายมากขึ้น
เคล็ดลับเพื่อความสบายในการให้นมลูก
-
ร่างกายควรอยู่ในท่าที่ผ่อนคลายที่สุด
กรณีที่คุณแม่ประสงค์จะนั่งบนเก้าอี้ในระหว่างการให้นมลูก ควรเลือกเก้าอี้ที่นั่งสบาย มีที่วางแขน พร้อมทั้งนำหมอน หรือเบาะมารองหลัง และเท้าร่วม เพื่อที่จะได้ไม่ต้องก้มหลังลงมาหาลูกมากนัก ไม่เช่นนั้นอาจทำให้ปวดหลังได้ แต่ไม่ว่าจะอยู่ในท่าใดก็ตาม ควรยกตัวลูกเข้าหาตัวของคุณแม่และเต้านมแทนการก้มหลังลงมาหาลูกรัก หากไม่อยากให้เกิดอาการปวดหลังระยะยาว
ปกติแล้วเต้านมของแม่จะใหญ่และหนักขึ้นในระหว่างการให้นมลูก การใช้มือช่วยประคองเต้านมเอาไว้ จะช่วยให้รู้สึกสบายขึ้น โดยควรวางนิ้วสี่นิ้วที่ด้านใต้ของเต้านม และนิ้วโป้งอยู่ด้านบน
นอกจากแขนแม่ที่ประคองตัวลูกน้อยอยู่แล้ว ยังอาจเลือกใช้หมอนช่วยหนุนพยุงร่างกายของลูกเอาไว้ เพื่อให้เด็กอยู่ใกล้เต้านม และกินนมจากเต้าคุณแม่ได้ถนัดขึ้น
-
ทดลองใช้หลาย ๆ ท่าในการให้นม
ควรลองนั่งหลายๆ ท่าเพื่อทดสอบว่าท่าให้นมท่าไหนที่คุณแม่ถนัด และรู้สึกสบายที่สุด อีกทั้งยังเป็นช่วยเลี่ยงการเกิดปัญหาเต้านมอุดตันได้ เนื่องจากท่าดูดนมแต่ละท่าจะมีแรงกดต่อเต้านมต่างกันออกไป และทำให้ไม่เกิดปัญหาหัวนมแตก จากการดูดซ้ำ ๆ กัน
คำแนะนำเพิ่มเติมเกี่ยวกับท่าให้นม
หากคุณแม่มีความกังวลเกี่ยวกับท่าให้นม อาจลองเข้าขอรับคำปรึกษาแพทย์เพิ่มเติม หรือรับการฝึกท่าทางที่เหมาะสมได้ตามความถนัด เพื่อเป็นการสร้างความปลอดภัยตลอดระยะเวลาที่ลูกน้อยยังดูดนมจากเต้า รวมไปถึงสร้างความสะดวกสบาย ปราศจากอาการปวดเมื่อย หรือผลข้างเคียงอื่น ๆ แก่ร่างกายของคุณแม่ และลูกรัก ที่อาจตามมาได้ในอนาคต
ความคิดเห็นทั้งหมด
แบ่งปันความคิดเห็นของคุณ
ร่วมแสดงความคิดเห็นของคุณกับ Hello คุณหมอ
สมัครสมาชิก หรือ เข้าสู่ระบบ เพื่อร่วมการพูดคุย