backup og meta

แคลเซียมสำหรับเด็กวัยเรียน มีความสำคัญอย่างไร

แคลเซียมสำหรับเด็กวัยเรียน มีความสำคัญอย่างไร

แคลเซียมสำหรับเด็กวัยเรียน จำเป็นต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของเด็ก ช่วยเสริมสร้างกระดูกและฟันให้แข็งแรง ทั้งยังสำคัญต่อระบบการทำงานของร่างกายในส่วนอื่น ๆ เช่น การทำงานของกล้ามเนื้อ ฮอร์โมน การเต้นของหัวใจ ดังนั้น การรู้ถึงความสำคัญของแคลเซียม อาจช่วยให้พ่อแม่ส่งเสริมสุขภาพของเด็กวัยเรียนให้ดียิ่งขึ้น

แคลเซียมสำหรับเด็กวัยเรียน สำคัญอย่างไร

วัยเด็กเป็นวัยที่ต้องการแคลเซียม เพื่อเสริมสร้างกระดูกและฟันให้แข็งแรง หากไม่มีการสะสมเพิ่มเติมแคลเซียมในกระดูกจะถูกดึงออกเพื่อใปใช้ในส่วนอื่น ๆ และเมื่อเวลาผ่านไปกระดูกจะอ่อนแอลงและเปราะบาง ซึ่งอาจส่งผลต่อโรคกระดูกพรุนในอนาคตได้ นอกจากนี้ แคลเซียมยังมีความสำคัญต่อระบบการทำงานของร่างกายในส่วนอื่น ๆ เช่น การทำงานของกล้ามเนื้อ ฮอร์โมน การเต้นของหัวใจ

ปริมาณแคลเซียมที่เด็กวัยเรียนควรได้รับ      

ปริมาณแคลเซียมที่ควรได้รับอาจแตกต่างกันในแต่ละช่วงวัย ซึ่งปริมาณแคลเซียมที่เด็กวัยเรียนควรได้รับ มีดังนี้

  • เด็กอายุ 1-3 ปี ควรได้รับแคลเซียม 700 มิลลิกรัม/วัน ประมาณ 2-3 มื้อ
  • เด็กอายุ 4-8 ปี ควรได้รับแคลเซียม 1,000 มิลลิกรัม/วัน ประมาณ 2-3 มื้อ
  • เด็กและวัยรุ่นอายุ 9-18 ปี ควรได้รับแคลเซียม 1,300 มิลลิกรัม/วัน ประมาณ 4 มื้อ

อาหารที่อุดมไปด้วย แคลเซียมสำหรับเด็กวัยเรียน

อาหารดังต่อไปนี้เป็นอาหารที่อุดมไปด้วยแคลเซียมที่เหมาะสำหรับเด็กวัยเรียน

  • ผักใบเขียว เช่น บร็อคโคลี่ ผักกาดขาว ผักโขม คะน้า กระหล่ำปลี
  • ถั่วและเมล็ดพืช เช่น อัลมอนด์ เมล็ดงา ถั่วเหลือง เมล็ดเจีย ถั่วเขียว ถั่วขาว ถั่วแดง ถัวแระญี่ปุ่น
  • ผลิตภัณฑ์เสริมแคลเซียมจากถั่วเหลือง เช่น เต้าหู้ นมถั่วเหลือง
  • ปลา เช่น ปลาซาร์ดีน ปลากระป๋อง
  • ผลิตภัณฑ์นม เช่น นมวัว โยเกิร์ต นมอัลมอลด์ ชีส
  • ผลไม้ เช่น ส้ม มะเดื่อ ลูกพรุน

คุณพ่อแม่อาจนำอาหารเหล่านี้มาปรุงเป็นมื้ออาหารเสริมแคลเซียมให้กับเด็กได้ นอกจากนี้ คุณพ่อคุณแม่ยังควรให้เด็กได้รับวิตามินมากเพียงพอ เพื่อช่วยให้ร่างกายดูดซึมแคลเซียมได้ดีขึ้น

ข้อควรระวังในการบริโภคแคลเซียม

แม้ว่าการเสริมแคลเซียมให้ด็กวัยเรียนจะเป็นสิ่งที่ดี แต่ถ้าเด็กได้รับแคลเซียมในปริมาณที่มากเกินไปอาจส่งผลทำให้เกิดโรคนิ่วในทางเดินปัสสาวะ เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจ โรคทางเดินสมองบางชนิด นอกจากนี้ ยังอาจมีอาการท้องผูก แน่นท้อง มวนท้อง ปวดหัว ปวดกระดูก เหนื่อยล้า ปัสสาวะบ่อย คลื่นไส้อาเจียน เบื่ออาหาร ปวดกล้ามเนื้อ และอาจมีปัญหาเกี่ยวกับความจำ

ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่ควรควบคุมปริมาณของแคลเซียมที่เด็กจะได้รับให้เหมาะสม โดยไม่ให้มากเกินกว่าความต้องการของร่างกายตามช่วงวัย และหากเด็กเริ่มมีอาการที่กล่าวมาข้างต้น ควรให้เด็กกินอาหารเสริมแคลเซียม และพาไปพบคุณหมอทันที

[embed-health-tool-vaccination-tool]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Nutrition: School-Age. https://www.stanfordchildrens.org/en/topic/default?id=school-aged-child-nutrition–90-P02280. Accessed July 22, 2021

Calcium. https://healthy-kids.com.au/food-nutrition/nutrients-in-food/calcium/. Accessed July 22, 2021

Dietary Calcium Intake in Sample of School Age Children in City of Rabat, Morocco. https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/29850234/. Accessed July 22, 2021

Calcium. https://kidshealth.org/en/parents/calcium.html#:~:text=1%20year%20old.-,Kids%20and%20Teens,a%20day%20(4%20servings). Accessed July 22, 2021

Better Kid Care. https://extension.psu.edu/programs/betterkidcare/knowledge-areas/k7/lunch-and-snack-ideas/calcium. Accessed July 22, 2021

เวอร์ชันปัจจุบัน

31/08/2022

เขียนโดย ทัตพร อิสสรโชติ

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย แพทย์หญิงอนงค์พร ผาภูมิ

อัปเดตโดย: เนตรนภา ปะวะคัง


บทความที่เกี่ยวข้อง

เมนูข้าวกล่อง ไป โรงเรียน ง่ายๆ ดีต่อสุขภาพ

ให้นมลูก นานเกิน 1 ปี มีประโยชน์อย่างไรบ้าง


ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

แพทย์หญิงอนงค์พร ผาภูมิ

พ่อแม่เลี้ยงลูก · โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช (ศรีนครินทร์)


เขียนโดย ทัตพร อิสสรโชติ · แก้ไขล่าสุด 31/08/2022

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา