ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย เภสัชกรอาชานนท์ สมศักดิ์ · ยาและอาหารเสริม · Hello Health Group
ยา บูโพรพิออน (Bupropion) ใช้เพื่อรักษาโรคซึมเศร้า (depression) ยานี้สามารถช่วยพัฒนาอารมณ์ และทำให้รู้สึกมีความสุขมากขึ้น ยา บูโพรพิออน (Bupropion) ใช้เพื่อรักษาโรคซึมเศร้า โดยการทำงานของยา จะเป็นการช่วยฟื้นฟูความสมดุลของสารบางชนิดภายในสมอง อย่างเช่น สารสื่อประสาท (neurotransmitters)
ยาบูโพรพิออนยังอาจใช้เพื่อรักษาโรคสมาธิสั้น (attention deficit hyperactivity disorder) หรือช่วยในการเลิกบุหรี่ โดยการลดความอยากสูบบุหรี่ และผลจากอาการถอนนิโคติน (nicotine withdrawal effects)
ยานี้อาจใช้เพื่อป้องกันโรคซึมเศร้าในฤดูใบไม้ร่วง-ฤดูหนาว อย่างภาวะซึมเศร้าจากการเปลี่ยนแปลงของฤดูกาล (seasonal affective disorder) และยังอาจใช้ยานี้ร่วมกับยาอื่น เพื่อรักษาโรคอารมณ์สองขั้ว (bipolar disorder) ในระยะซึมเศร้า (depressive phase)
รับประทานยานี้พร้อมกับอาหารหรือรับประทานแยกต่างหาก ตามปกติคือวันละ 3 ครั้ง คุณอาจจะรับประทานยาพร้อมกับอาหารได้หากเกิดอาการท้องไส้ปั่นป่วน ควรรับประทานยาแต่ละครั้ง ห่างกันอย่างน้อย 6 ชั่วโมง หรือตามที่แพทย์กำหนด เพื่อช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดอาการชัก
อย่ารับประทานยามากกว่า น้อยกว่า หรือบ่อยกว่าที่กำหนด การรับประทานยาบูโพรพิออนในขนาดที่มากกว่าที่แนะนำนั้น อาจจะเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดอาการชัก อย่ารับประทานยามากกว่า 150 มก. ภายในหนึ่งครั้ง และอย่ารับประทานยาเกิน 450 มก.
ขนาดยานั้นขึ้นอยู่กับสภาวะทางการแพทย์ และการตอบสนองต่อการรักษา แพทย์อาจจะค่อยๆ เพิ่มขนาดยา เพื่อจำกัดผลข้างเคียง เช่น อาการนอนไม่หลับ และเพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดอาการชัก เพื่อหลีกเลี่ยงอาการนอนไม่หลับ ไม่ควรใช้ยานี้ใกล้กับเวลานอนมากเกินไป โปรดแจ้งให้แพทย์ทราบ หากอาการนอนไม่หลับของคุณนั้นเป็นปัญหา
ใช้ยานี้เป็นประจำเพื่อให้ได้ประโยชน์จากยาสูงสุด เพื่อให้ง่ายต่อการจำควรรับประทานยาในเวลาเดียวกันทุกวัน
อย่าหยุดใช้ยานี้โดยไม่ปรึกษาแพทย์ สภาวะบางอย่างอาจจะมีอาการรุนแรงขึ้นหากหยุดใช้ยากะทันหัน ควรค่อยๆ ลดขนาดยาของคุณลงมา
อาจต้องใช้เวลานานกว่า 4 สัปดาห์ขึ้นไป กว่าที่คุณจะสังเกตเห็นประโยชน์ของยาอย่างเต็มที่ ควรใช้ยาอย่างต่อเนื่องตามที่แพทย์กำหนดแม้ว่าคุณจะรู้สึกดีขึ้นแล้ว โปรดปรึกษาแพทย์หากอาการของคุณไม่ดีขึ้นหรือแย่ลง
ยาบูโพรพิออนควรเก็บที่อุณหภูมิห้อง หลีกเลี่ยงแสงหรือความชื้น เพื่อป้องกันไม่ให้ตัวยาเกิดความเสียหาย ไม่ควรเก็บยานี้ในห้องน้ำหรือช่องแช่แข็ง ยาบูโพรพิออนบางยี่ห้ออาจจะต้องเก็บรักษาแตกต่างกัน จึงควรตรวจสอบฉลากยาหรือสอบถามเภสัชกรเสมอ เพื่อความปลอดภัย โปรดเก็บยาให้ห่างจากมือเด็กและสัตว์เลี้ยง
ไม่ควรทิ้งยาบูโพรพิออนลงในชักโครก หรือเทลงในท่อระบายน้ำ เว้นแต่ได้รับคำแนะนำให้ทำเช่นนั้น ควรกำจัดยาด้วยวิธีที่ถูกต้องเมื่อยาหมดอายุ หรือไม่มีความจำเป็นต้องใช้งาน โปรดสอบถามเภสัชกรเพิ่มเติม เกี่ยวกับวิธีการกำจัดยาที่ถูกต้อง
ก่อนใช้ยานี้ แจ้งให้แพทย์ทราบหาก
โปรดแจ้งให้แพทย์ทราบหากคุณกำลังใช้ยาในกลุ่ม MAOI (monoamine oxidase inhibitor) เช่น ยาไอโซคาร์โบซาซิด (isocarboxazid) อย่าง มาร์แพลน (Marplan) ยาลีเนโซลิด (linezolid) อย่าง ไซวอกซ์ (Zyvox) ยาเมทิลีน บลู (methylene blue) ยาเฟเนลซีน (phenelzine) อย่าง นาร์ดิล (Nardil) ยาเซเลจิลีน (selegiline) อย่าง เอลเดพริล (Eldepryl) เอ็มแซม (Emsam) หรือเซลาพาร์ (Zelapar) และยาทรานิลซัยโปรมีน (tranylcypromine) อย่าง พาร์เนต (Parnate) หรือหากคุณเพิ่งจะหยุดใช้ยาในกลุ่ม MAOI ภายใน 14 วันที่ผ่านมา แพทย์อาจจะไม่ให้คุณใช้ยาบูโพรพิออน
อย่าใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนประกอบของยาบูโพรพิออน มากกว่าหนึ่งชนิดภายในคราวเดียว เพราะคุณอาจจะได้รับยามากเกินไป และมีผลข้างเคียงที่รุนแรง
แจ้งให้แพทย์ทราบ หากคุณมีหรือเคยมีอาการชัก โรคอะนอเร็กเซียเนอร์โวซา (anorexia nervosa) หรือโรคบูลิเมีย (bulimia) ซึ่งเป็นความผิดปกติเกี่ยวกับการรับประทานอาหาร และควรแจ้งให้แพทย์ทราบหากคุณดื่มสุราในปริมาณมาก คาดว่าจะหยุดดื่มกะทันหัน หรือกำลังใช้ยาระงับประสาท (sedatives) แพทย์อาจจะไม่ให้คุณใช้ยาบูโพรพิออน
โปรดแจ้งให้แพทย์ทราบ หากคุณใช้ยาเสพติด หรือใช้ยาในทางที่ผิด และหากคุณเคยเป็นโรคหัวใจวาย มีการบาดเจ็บที่หัว เนื้องอกในสมองหรือกระดูกสันหลัง ความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน หรือโรคตับ โรคไต หรือโรคหัวใจ
คุณควรจะทราบว่ายาบูโพรพิออนอาจทำให้มีอาการง่วงซึม อย่าขับรถหรือใช้เครื่องจักร จนกว่าคุณจะทราบว่ายาส่งผลต่อคุณอย่างไร
โปรดปรึกษากับแพทย์ถึงความปลอดภัยในการดื่มสุรา ขณะที่กำลังใช้ยาบูโพรพิออน แอลกอฮอล์นั้นสามารถทำให้ผลข้างเคียงของยาบูโพรพิออนรุนแรงขึ้นได้
คุณควรจะทราบว่า ยาบูโพรพิออนอาจเพิ่มระดับของความดันโลหิตได้ แพทย์อาจจะต้องทำการตรวจวัดระดับความดันโลหิต ก่อนเริ่มต้นการรักษา และทำการตรวจเป็นประจำในช่วงที่กำลังใช้ยานี้ โดยเฉพาะหากคุณกำลังทำการบำบัดนิโคตินทดแทน (nicotine replacement therapy)
คุณควรจะทราบว่า ยาบูโพรพิออนนั้น อาจจะทำให้เกิดโรคต้อหินมุมปิด (angle-closure glaucoma) ซึ่งเป็นโรคที่น้ำภายในดวงตาเกิดการอุดตันอย่างกะทันหัน หรือน้ำไม่สามารถไหลออกจากดวงตาได้ ทำให้เกิดการเพิ่มขึ้นของความดันภายในดวงตาอย่างรวดเร็วและรุนแรง ซึ่งอาจนำไปสู่การสูญเสียการมองเห็น โปรดปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับการรับการตรวจดวงตาก่อนเริ่มต้นใช้ยานี้ หากคุณมีอาการคลื่นไส้ ปวดตา การมองเห็นเปลี่ยนแปลง เช่น มองเห็นรัศมีที่มีสีรอบๆ กับแสง และอาการบวมหรือแดงภายในดวงตาหรือบริเวณโดยรอบ โปรดติดต่อแพทย์ หรือรับการรักษาพยาบาลฉุกเฉินในทันที
ยังไม่มีงานวิจัยที่น่าเชื่อถือเกี่ยวกับความเสี่ยงในสตรีที่ใช้ยานี้ ในช่วงการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร โปรดปรึกษาแพทย์เพื่อหาประโยชน์และความเสี่ยงก่อนการใช้ยานี้
ยาบูโพรพิออนจัดอยู่ในประเภทของยาที่มีความเสี่ยงต่อสตรีมีครรภ์ ประเภท C โดยองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา (FDA)
การจัดประเภทของยาที่มีความเสี่ยงต่อสตรีมีครรภ์โดยองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกามีดังนี้
ผลข้างเคียงที่พบได้ทั่วไปมีดังนี้ ปากแห้ง เจ็บคอ คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง หน้าแดง ปวดหัว เบื่ออาหาร ท้องผูก นอนไม่หลับ เหงื่อออกมากขึ้น มีรสชาติแปลกๆ ภายในปาก ปวดข้อต่อ วิงเวียน หรือมองเห็นไม่ชัด นอกจากนั้น ยาต้านซึมเศร้า (Antidepressants) อาจจะเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดความคิดและพฤติกรรมที่จะฆ่าตัวตายในเด็ก วัยรุ่น และผู้ที่อยู่ในวัยหนุ่มสาว โปรดแจ้งให้แพทย์ทราบหากเกิดอาการเหล่านี้
ผลข้างเคียงที่รุนแรงน้อยกว่าอาจมีดังต่อไปนี้
โปรดติดต่อแพทย์ในทันทีหากคุณมีอาการดังต่อไปนี้
รับการรักษาพยาบาลฉุกเฉินทันที หากคุณมีสัญญาณของอาการแพ้ ได้แก่ ลมพิษ หายใจติดขัด บวมที่ใบหน้า ริมฝีปาก ลิ้น หรือลำคอ
โปรดแจ้งให้แพทย์ทราบ หากมีอาการใหม่หรืออาการที่รุนแรงขึ้น เช่น มีความเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์หรือพฤติกรรม วิตกกังวล อาการแพนิคกำเริบ (panic attacks) นอนไม่หลับ หรือหากคุณรู้สึกหุนหันพลันแล่น หงุดหงิด กระวนกระวายใจ ไม่เป็นมิตร ก้าวร้าว ร้อนรน อยู่ไม่สุข (ทั้งทางอารมณ์หรือจิตใจ) ซึมเศร้ามากขึ้น หรือมีความคิดที่จะฆ่าตัวตายหรือทำร้ายตัวเอง
ไม่ใช่ทุกคนจะเจอกับผลข้างเคียงเหล่านี้ หรืออาจจะมีอาการอย่างอื่นนอกเหนือจากที่กล่าวมาข้างต้น ถ้าคุณมีข้อสงสัยใดๆ เกี่ยวกับผลข้างเคียง โปรดปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกร
ยาบูโพรพิออนอาจเกิดปฏิกิริยากับยาอื่นที่คุณกำลังใช้อยู่ ซึ่งอาจส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดผลข้างเคียง เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น คุณควรแจ้งแพทย์หรือเภสัชกรของคุณว่า คุณกำลังใช้ยาอะไรอยู่บ้าง (ทั้งยาตามใบสั่งแพทย์ ยาที่ซื้อได้เอง และสมุนไพรต่างๆ) เพื่อความปลอดภัย โปรดอย่าเริ่ม หยุด หรือเปลี่ยนขนาดยาใดๆ โดยไม่ได้รับความเห็นชอบจากแพทย์
ยาบูโพรพิออนอาจมีปฏิกิริยากับอาหารหรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดผลข้างเคียง โปรดปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกรก่อนเสมอ
ยาบูโพรพิออนอาจส่งผลให้อาการโรคของคุณแย่ลง หรือส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา โปรดแจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบถึงสภาวะโรคของคุณก่อนใช้ยาเสมอ
โรคที่อาจมีปฏิกิริยากับยานี้ได้แก่
ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกรทุกครั้งเพื่อรับทราบข้อมูลเพิ่มเติม
ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาโรคซึมเศร้า
ยารูปแบบออกฤทธิ์ทันที (Immediate release tablets)
ยารูปแบบออกฤทธิ์นาน (Sustained release tablets)
ยารูปแบบออกฤทธิ์นาน (Extended release tablets) อย่างเวลบูทริน เอ็กซ์แอล (Wellbutrin XL)
ยารูปแบบออกฤทธิ์นาน อย่างอะเพลนซิน (Aplenzin)
ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาภาวะซึมเศร้าจากการเปลี่ยนแปลงของฤดูกาล
ควรเริ่มต้นการรักษาภาวะซึมเศร้าจากการเปลี่ยนแปลงของฤดูกาลในฤดูใบไม้ร่วงก่อนที่จะเริ่มมีอาการ
เวลบูทริน เอ็กซ์แอล
อะเพลนซิน
ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อการเลิกสูบบุหรี่
ยังไม่มีการพิสูจน์ความความปลอดภัยและประสิทธิภาพของขนาดยานี้สำหรับผู้ป่วยเด็ก ยานี้อาจเป็นอันตรายต่อเด็กได้ ดังนั้น จึงควรทำความเข้าใจกับความปลอดภัยของยาก่อนการใช้ยา สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดติดต่อกับแพทย์หรือเภสัชกร
ความแรงและรูปแบบของยามีดังนี้
หากเกิดเหตุฉุกเฉินหรือใช้ยาเกินขนาด ควรแจ้งเหตุฉุกเฉินหรือนำส่งห้องฉุกเฉินใกล้บ้านโดยทันที
หากคุณลืมใช้ยาควรรีบใช้ในทันทีที่นึกได้ หรือถ้าหากใกล้ถึงเวลาใช้ยาครั้งต่อไป ให้ข้ามรอบไปใช้ยาตามตารางปกติได้เลย ไม่ควรเพิ่มปริมาณยา
Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรคหรือการรักษาโรคแต่อย่างใด
Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด
ความคิดเห็นทั้งหมด
แบ่งปันความคิดเห็นของคุณ
ร่วมแสดงความคิดเห็นของคุณกับ Hello คุณหมอ
สมัครสมาชิก หรือ เข้าสู่ระบบ เพื่อร่วมการพูดคุย