backup og meta

ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับอาการท้องผูก ที่คุณควรรู้ไว้

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ธีรวิทย์ บุญราศรี · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

    ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับอาการท้องผูก ที่คุณควรรู้ไว้

    อาการท้องผูกเป็นภาวะที่มีการขับถ่ายน้อยกว่าที่ควรจะเป็น ทุกคนต่างเคยมีอาการท้องผูกกันบ้าง หรือบางคนอาจจะท้องผูกจนเป็นปกติ แต่ยังมี ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับอาการท้องผูก บางอย่าง ที่คนส่วนใหญ่ไม่ค่อยทราบหรือเข้าใจผิด  ดังนั้น Hello คุณหมอ จึงมีบทความเกี่ยวกับเรื่องนี้มาฝากกัน เพื่อช่วยไขข้อข้องใจ ให้คำแนะนำแก่คนทั่วไป และแก้ปัญหาเกี่ยวกับอาการท้องผูกเบื้องต้นได้ดียิ่งขึ้น

    ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับอาการท้องผูก

    ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับอาการท้องผูก ที่คุณอาจจะยังมีความเข้าใจผิดกันอยู่บ้าง โดยข้อเท็จจริงต่างๆ มีดังนี้

    • เราไม่จำเป็นต้องขับถ่ายทุกวัน แต่ควรต้องขับถ่ายไม่ให้น้อยกว่า 3 ครั้ง/สัปดาห์ ไม่อย่างนั้นจะถือเป็นอาการท้องผูก
    • มีคนจำนวนมากที่เชื่อว่า หากอุจจาระตกค้างอยู่ในร่างกายเป็นเวลานานเกินไป จะทำให้เกิดสารพิษต่างๆ สิ่งนี้เป็นเพียงสิ่งที่เล่าต่อกันมา ยังไม่มีการศึกษาหรือการทดลอง ที่สนับสนุนการกล่าวอ้างนี้ ดังนั้นการล้างลำไส้ การใช้ยาถ่ายหรือยาระบาย ไม่อาจป้องกันโรคมะเร็ง และโรคอื่นๆที่เกิดจากอาการท้องผูกได้
    • ภาวะทางอารมณ์ สามารถทำให้เกิดอาการท้องผูกได้โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่อยู่ในภาวะซึมเศร้า หรือมีความเครียดสูง

    ปัจจัยที่ทำให้เกิดอาการท้องผูก

    สำหรับการเกิดอาการท้องผูก ยังไม่สามารถระบุสาเหตุได้อย่างแน่ชัด แต่ก็มีหลายปัจจัยด้วยกัน ที่ทำให้เกิดอาการท้องผูก ซึ่งปัจจัยต่างๆ มีดังนี้

    • ทานไฟเบอร์ในปริมาณที่ยังไม่เพียงพอ
    • มีการเปลี่ยนกิจวัตรประจำวัน การใช้ชีวิต หรือเปลี่ยนพฤติกรรมทานอาหารเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ครบ 5 หมู่ ลดปริมาณอาหารที่มีแป้งสูง และเพิ่มอาหารที่มีกากใย เช่น ผักและผลไม้ เพื่อช่วยให้การขับถ่ายให้คล่องมากขึ้น
    • ไม่มีการกระตุ้นให้รู้สึกอยากถ่ายอุจจาระ หรือภาวะเร่งรีบ กังวลใจ
    • ผลข้างเคียงของยาบางชนิด เช่น ยาแก้ปวด ยาต้านอาการซึมเศร้า และยาที่ใช้รักษาความดันโลหิตสูง
    • การดื่มน้ำในปริมาณที่ไม่เพียงพอ เพราะน้ำเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของร่างกาย ในการช่วยขับถ่ายของเสียให้สะดวกยิ่งขึ้น

    ท้องผูกขนาดไหน ถึงควรไปพบแพทย์

    ผู้ที่กังวลว่า อาการท้องผูกนานขนาดไหน ถึงควรจะไปพบแพทย์เพื่อรับการรักษา ควรลองสังเกตอาการเหล่านี้ของตัวเองดู

    • อาการรุนแรงและนานเกิน 3 สัปดาห์ จนรู้สึกอึดอัด อาหารไม่ย่อย และขับถ่ายไม่ได้เลย
    • ลองสังเกตอาการที่เปลี่ยนแปลงล่าสุด และที่สำคัญพฤติกรรมของลำไส้ เช่น มีอาการท้องผูกสลับกับท้องเสีย
    • มีอาการปวดรุนแรงในทวารหนัก เมื่อมีการเคลื่อนตัวของลำไส้
    • มีอาการอื่นๆ นอกเหนือจากอาการท้องผูกเข้ามาร่วมด้วย เช่น ความเหนื่อยล้า อ่อนเพลีย ไม่สามารถอดทนต่อสภาพอากาศที่หนาวเย็นได้

    ภาวะที่เกิดขึ้นนี้อาจมีสาเหตุมาจากการทำงานของต่อมไทรอยด์ ซึ่งต่อมไทยรอยด์อาจมีการทำงานต่ำ นอกจากอาการที่กล่าวไปข้างต้นแล้ว หากมีอาการเหล่านี้เกิดขึ้นเมื่อมีอาการท้องผูก แนะนำว่าควรรีบไปพบแพทย์โดยด่วน เพราะร่างกายอาจจะกำลังส่งสัญญาเตือนถึงโรคร้ายแรงบางอย่าง เช่น โรคมะเร็งลำไส้

    • มีเลือดออกทางทวารหนัก
    • ปวดก้นและเป็นริดสีดวงทวาร
    • มีอาการปวดอย่างรุนแรงในพื้นที่บริเวณทวารหนัก ในระหว่างการถ่ายอุจาระ
    • อาเจียนซ้ำๆ เมื่อมีอาการท้องผูกและปวดท้อง
    • มีอาการปวดท้องอย่างรุนแรง และมีไข้ขึ้นด้วย

    ดังนั้นการดื่มน้ำปริมาณมากๆ ช่วยบรรเทาอาการท้องผูกได้ เพราะน้ำจะช่วยในการช่วยกระตุ้นการขับถ่ายของเสีย อย่างไรก็ตาม หากมีอาการท้องผูกเรื้อรัง ควรไปพบหมอเพื่อรับการรักษา และห้ามรับประทานยาถ่าย เพื่อรักษาอาการท้องผูกด้วยตัวเอง เนื่องจากการรับประทานยาถ่ายมากเกินไป อาจทำให้อาการแย่ลงได้

    สำหรับผู้ที่มีอาการท้องผูกนานๆ ควรไปปรึกษาแพทย์ เพื่อเข้ารับการรักษาอย่างถูกต้อง และยังเป็นการป้องกันโรคอื่นๆ เช่น ริดสีดวงทวารหนัก ที่อาจจะส่งผลต่อสุขภาพระยะยาวตามมาอีกได้

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค และการรักษาโรคแต่อย่างใด

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย ธีรวิทย์ บุญราศรี · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา