backup og meta

Fluorometholone (ฟลูออโรเมโธโลน) ข้อบ่งใช้ และผลข้างเคียง

Fluorometholone (ฟลูออโรเมโธโลน) ข้อบ่งใช้ และผลข้างเคียง

Fluorometholone (ฟลูออโรเมโธโลน) มักใช้เพื่อรักษาสภาวะของดวงตาบางอย่าง เช่น การอักเสบหรือการบาดเจ็บ ยาฟลูออโรเมโธโลนทำงานโดยบรรเทาอาการ เช่น​ อาการบวม อาการแดง และอาการคัน

[embed-health-tool-bmi]

ข้อบ่งใช้

Fluorometholone ใช้สำหรับ

Fluorometholone (ฟลูออโรเมโธโลน) มักใช้เพื่อรักษาสภาวะของดวงตาบางอย่าง เช่น การอักเสบหรือการบาดเจ็บ ยาฟลูออโรเมโธโลนทำงานโดยบรรเทาอาการ เช่น​ อาการบวม อาการแดง และอาการคัน ยานี้อยู่ในกลุ่มของยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ (corticosteroids)

วิธีการใช้ยาฟลูออโรเมโธโลน

นอกเหนือจากแพทย์สั่ง ไม่ควรสวมคอนแทคเลนส์ ขณะที่กำลังใช้ยานี้ ฆ่าเชื้อที่คอนแทคเลนส์ตามที่ผู้ผลิตแนะนำ และควรสอบถามแพทย์ก่อนใช้คอนแทคเลนส์อีกครั้ง

หากแพทย์อนุญาตให้คุณใส่คอนแทคเลนส์ ขณะที่กำลังใช้ยานี้ ควรถอดคอนแทคเลนส์ก่อนใช้ยาหยอดตานี้ สารกันบูดในยานี้อาจจะซึมเข้าในคอนแทคเลนส์ ควรรออย่างน้อย 15 นาทีหลังจากใช้ยาหยอดตา แล้วจึงสวมคอนแทคเลนส์

ก่อนทายา ควรล้างมือให้สะอาด เขย่าขวดยาให้ดีก่อนใช้ เพื่อหลีกเลี่ยงการปนเปื้อน ไม่ควรสัมผัสกับปลายขวดยาหรือให้ปลายขวดยาสัมผัสกับดวงหรือพื้นผิวอื่นๆ

หงายหน้าขึ้น มองขึ้นไปด้านบน แล้วดึงเปลือกตาล่างลงมาให้เป็นกระพุ้ง ถือขวดยาหยอดตาไว้เหนือดวงตา แล้วหยอดยาหนึ่งหยดลงไปในกระพุ้งตา โดยปกติแล้วคือวันละสองครั้ง หรือตามที่แพทบ์กำหนด มองลงมาแล้วค่อยๆ หลับตานาน 1 ถึง 2 นาที ใช้นิ้วกดลงไปเบาๆ ที่หัวตา บริเวณใกล้กับจมูก เพื่อป้องกันไม่ให้ยาไหลออก พยายามอย่ากระพริบตา และอย่าขยี้ตา ทำตามขั้นตอนนี้ซ้ำที่ดวงตาอีกข้างหากได้รับสั่ง หรือใช้มากกว่า 1 หยด ควรใช้ยานี้ตามที่แพทย์กำหนด อย่าล้างขวดยาหยอดตาและปิดฝาหลังจากใช้งาน

หากคุณกำลังใช้ยาอื่นสำหรับดวงตา เช่น ยาหยอดตาหรือขี้ผึ้งทาตา ควรรออย่างน้อย 5 ถึง 10 นาทีก่อนใช้ยาอื่น ใช้ยาหยอดตาก่อนยาขี้ผึ้ง เพื่อให้ยาสามารถเข้าดวงตาได้

ใช้ยานี้เป็นประจำเพื่อให้ได้ประโยชน์จากยาสูงสุด เพื่อให้ง่ายต่อการจำควรใช้ยาในเวลาเดียวกันทุกวัน

ขนาดยาและระยะเวลาในการรักษา ขึ้นอยู่กับสภาวะทางการแพทย์ และการตอบสนองต่อการรักษา ไม่ควรใช้ยานี้บ่อยกว่า หรือนานกว่าที่กำหนด เพราะอาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดผลข้างเคียง

ใช้ยานี้อย่างต่อเนื่องจนครบกำหนด อย่าหยุดใช้ยาโดยไม่ปรึกษาแพทย์ บางสภาวะอาจจะมีอาการรุนแรงขึ้น หากหยุดใช้ยากะทันหัน ควรค่อยๆ ลดขนาดยา

อย่าใช้ยานี้หากมีการปนเปื้อน เช่น ยาหยอดตาเปลี่ยนสีเป็นสีคล้ำ การใช้ยาหยอดตาที่ปนเปื้อนอาจทำให้เกิดการติดเชื้อ การบาดเจ็บรุนแรงที่ดวงตา หรือสูญเสียการมองเห็นได้ โปรดติดต่อแพทย์หรือเภสัชกรสำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

แจ้งให้แพทย์ทราบ หากอาการของคุณไม่ดีขึ้นหลังจากผ่านไป 2 วัน หรืออาการแย่ลง

การเก็บรักษา Fluorometholone

ยาฟลูออโรเมโทโลนควรเก็บที่อุณหภูมิห้อง หลีกเลี่ยงแสงหรือความชื้น เพื่อป้องกันไม่ให้ตัวยาเกิดความเสียหาย ไม่ควรเก็บยานี้ในห้องน้ำหรือช่องแช่แข็ง ยาฟลูออโรเมโธโลนบางยี่ห้ออาจจะต้องเก็บรักษาแตกต่างกัน จึงควรตรวจสอบฉลากยาหรือสอบถามเภสัชกรเสมอ เพื่อความปลอดภัย โปรดเก็บยาให้ห่างจากมือเด็กและสัตว์เลี้ยง

ไม่ควรทิ้งยาฟลูออโรเมโธโลนลงในชักโครก หรือเทยาลงในท่อระบายน้ำ เว้นเสียแต่จะได้รับคำแนะนำให้ทำ ควรกำจัดยาด้วยวิธีที่ถูกต้อง เมื่อยาหมดอายุ หรือไม่มีความจำเป็นต้องใช้งาน โปรดสอบถามเภสัชกรเพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีการกำจัดยาที่ถูกต้อง

ข้อควรระวังและคำเตือน

ข้อควรรู้ก่อนใช้ Fluorometholone

ก่อนใช้ยานี้ แจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบเกี่ยวกับประวัติทางการแพทย์ของคุณ โดยเฉพาะการติดเชื้อที่ดวงตา พึ่งผ่านการผ่าตัดดวงตา โรคต้อกระจก โรคต้อหิน (มุมเปิด) สายตาสั้นอย่างรุนแรง โรคเบาหวาน

หลังจากใช้ยานี้ อาจจะมีอาการมองเห็นไม่ชัดเจนชั่วคราว อย่าขับรถ ใช้เครื่องจักร หรือทำกิจกรรมที่ต้องการการมองเห็นที่ชัดเจน จนกว่าคุณจะมั่นใจว่าสามารถทำได้อย่างปลอดภัย

ก่อนการผ่าตัด แจ้งให้แพทย์หรือทันตแพทย์ทราบเกี่ยวกับยาทั้งหมดที่คุณใช้ ทั้งยาที่แพทย์สั่ง ยาที่หาซื้อเอง และสมุนไพรต่างๆ

หากคุณเกิดอาการติดเชื้อ การบาดเจ็บ หรือจำเป็นครั้งผ่าตัดครั้งใหม่ที่ดวงตา ควรสอบถามแพทย์ว่า คุณควรใช้ยา ฟลูออโรเมโธโลน ขวดนี้ต่อหรือเริ่มใช้ยาขวดใหม่

ในช่วงระหว่างการตั้งครรภ์ ควรใช้ยานี้เมื่อจำเป็นเท่านั้น โปรดปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับความเสี่ยง และประโยชน์ของการใช้ยา

ยังไม่ทราบแน่ชัดว่ายานี้สามารถเข้าสู่น้ำนมแม่ได้หรือไม่ โปรดปรึกษาแพทย์ก่อนให้นมบุตร

ความปลอดภัยต่อการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร

ยังไม่มีงานวิจัยที่น่าเชื่อถือ เกี่ยวกับความเสี่ยงในสตรีที่ใช้ยานี้ในช่วงการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร โปรดปรึกษาแพทย์เพื่อหาประโยชน์และความเสี่ยงก่อนการใช้ยานี้

ยาฟลูออโรเมโธโลนจัดอยู่ในประเภทของยาที่มีความเสี่ยงต่อผู้ตั้งครรภ์ หมวด C โดยองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา (FDA)

การจัดประเภทของยาที่มีความเสี่ยงต่อผู้ตั้งครรภ์โดยองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกามีดังนี้

  • A= ไม่มีความเสี่ยง
  • B= ไม่พบความเสี่ยงในการวิจัยบางชิ้น
  • C= อาจจะมีความเสี่ยง
  • D= มีหลักฐานแสดงถึงความเสี่ยง
  • X= ห้ามใช้
  • N= ไม่ทราบแน่ชัด

ผลข้างเคียง

ผลข้างเคียงของการใช้ Fluorometholone

การใช้ยานี้ในระยะยาวหรือใช้ในขนาดยาสูง อาจทำให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับตาที่รุนแรง เช่น มีความดันภายในดวงตาสูงและโรคต้อกระจก ควรแจ้งให้แพทย์ทราบในทันที หากเกิดผลข้างเคียงที่ไม่ค่อยเกิดขึ้นแต่รุนแรงดังต่อไปนี้ ได้แก่ การมองเห็นมีปัญหา ปวดตา

ยานี้อาจบดบังสัญญาณของการติดเชื้อที่ดวงตา และยังอาจเพิ่มความเสี่ยงในการติดเชื้อที่ดวงตามากขึ้น โดยเฉพาะหากคุณใช้ยาเป็นเวลานาน แจ้งให้แพทย์ทราบ หากเกิดอาการใหม่หรืออาการที่รุนแรงขึ้น เช่น ดวงตามีสารคัดหลั่ง บวม หรือแดง การมองเห็นมีปัญหา หรืออาการปัจจุบันไม่ดีขึ้น แพทย์อาจจำเป็นต้องปรับการรักษาของคุณ

แจ้งให้แพทย์ทราบในทันที หากเกิดผลข้างเคียงที่ไม่ค่อยจะเกิดขึ้น แต่รุนแรงดังต่อไปนี้ ได้แก่ ปวดหัว วิงเวียน

การแพ้ยาที่รุนแรงต่อยานี้ ค่อนข้างเกิดขึ้นได้ยาก แต่จำเป็นต้องได้รับการรักษาที่ทันท่วงที อาการแพ้รุนแรงมีดังนี้ ผดผื่น คันหรือบวม โดยเฉพาะบริเวณใบหน้า ลิ้น และลำคอ วิงเวียนขั้นรุนแรง หายใจติดขัด

ไม่ใช่ทุกคนจะเจอกับผลข้างเคียงเหล่านี้ และอาจจะมีอาการอย่างอื่นนอกเหนือจากที่กล่าวมาข้างต้น ถ้าคุณมีข้อสงสัยใดๆ เกี่ยวกับผลข้างเคียง โปรดปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกร

ปฏิกิริยาของยา

ปฏิกิริยากับยาอื่น

ยาฟลูออโรเมโธโลนอาจเกิดปฏิกิริยากับยาอื่นที่คุณกำลังใช้อยู่ ซึ่งอาจส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดผลข้างเคียง เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น คุณควรแจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบว่าคุณกำลังใช้ยาอะไรอยู่บ้าง ทั้งยาตามใบสั่งแพทย์ ยาที่ซื้อได้เอง และสมุนไพรต่างๆ เพื่อความปลอดภัย โปรดอย่าเริ่ม หยุด หรือเปลี่ยนยาโดยไม่ได้รับความเห็นชอบจากแพทย์

ปฏิกิริยากับอาหารหรือแอลกอฮอล์

ยาฟลูออโรเมโธโลนอาจมีปฏิกิริยากับอาหารหรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดผลข้างเคียง โปรดปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกรก่อนเสมอ

ปฏิกิริยากับอาการโรคอื่น

ยาฟลูออโรเมโธโลนอาจส่งผลให้อาการโรคของคุณแย่ลง หรือส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา โปรดแจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบถึงสภาวะโรคของคุณก่อนใช้ยาเสมอ

ขนาดยา

ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกรทุกครั้ง เพื่อรับทราบข้อมูลเพิ่มเติม

ขนาดยาฟลูออโรเมโธโลนสำหรับผู้ใหญ่

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาการอักเสบที่ตอบสนองต่อสเตียรอยด์

  • ยาแขวนตะกอนฟลูออโรเมโทโลน 0.1% หรือ 0.25% หยอดยา 1 หยดเข้าสู่ดวงตา 2 ถึง 4 ครั้งต่อวัน
  • ยาแขวนตะกอนฟลูออโรเมโทโลนอะซิเตต: 1 ถึง 2 หยด หยอดตาวันละ 4 ครั้ง
  • ยาขี้ผึ้ง ทายาขี้ผึ้งปริมาณเล็กน้อย (ประมาณ 1.5 นิ้ว ริบบิ้น) ทาลงในช่องตาวันละ 1 ถึง 3 ครั้ง

คำแนะนำ

  • ยาฟลูออโรเมโธโลนอะซิเตต เริ่มต้นการรักษา 24 ถึง 48 ชั่วโมง อาจเพิ่มขนาดยาอย่างปลอดภัย 2 หยด ทุกๆ 2 ชั่วโมง
  • ยาฟลูออโรเมโธโลนแบบแขวนตะกอนและขี้ผึ้ง เริ่มต้นการรักษา 24 ถึง 48 ชั่วโมง อาจเพิ่มความถี่ในการใช้ยา 1 ครั้ง ทุกๆ 4 ชั่วโมง
  • การหยุดใช้ยานี้ควรทำโดยการค่อยๆ ลดความถี่ในการใช้ยา
  • หากสัญญาณและอาการไม่ดีขึ้น หลังจากผ่านไป 2 วัน ควรประเมินผู้ป่วยใหม่

การใช้งาน

  • เพื่อรักษาการอักเสบ ที่ตอบสนองต่อยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ที่บริเวณเยื่อตา ส่วนหนังตา และเยื่อบุตาด้านนอกกระจกตา และส่วนหน้าของลูกตา

คำแนะนำอื่นๆ

คำแนะนำการใช้ยา

  • ควรเขย่าขวดก่อนใช้ยา

คำแนะนำสำหรับผู้ป่วย

  • ควรหลีกเลี่ยงไม่ให้ปลายขวดยาสัมผัสกับดวงตาหรือพื้นผิวอื่นๆ
  • เพื่อลดการดูดซึมยาหยอดตาทั่วร่างกาย ควรกดหัวตาทันทีหลังจากให้ยา

การเก็บรักษา

  • อย่าแช่แข็ง
  • เก็บขวดยาโดยตั้งขวดยา

ขนาดยาฟลูออโรเมโธโลนสำหรับเด็ก

ขนาดยาสำหรับเด็กเพื่อรักษาการอักเสบที่ตอบสนองต่อสเตียรอยด์

อายุ 2 ปีขึ้นไป

  • ยาแขวนตะกอนฟลูออโรเมโทโลน 0.1% หรือ 0.25% หยอดยา 1 หยดเข้าสู่ดวงตา 2 ถึง 4 ครั้งต่อวัน
  • ยาขี้ผึ้ง ทายาขี้ผึ้งปริมาณเล็กน้อย ความยาวประมาณ 1.5 นิ้ว ทาลงในช่องตาวันละ 1 ถึง 3 ครั้ง

คำแนะนำ

  • ยาฟลูออโรเมโธโลนอะซิเตต เริ่มต้นการรักษา 24 ถึง 48 ชั่วโมง อาจเพิ่มขนาดยาอย่างปลอดภัย 2 หยด ทุกๆ 2 ชั่วโมง
  • ยาฟลูออโรเมโธโลนแบบแขวนตะกอนและขี้ผึ้ง เริ่มต้นการรักษา 24 ถึง 48 ชั่วโมง อาจเพิ่มความถี่ในการใช้ยา 1 ครั้ง ทุกๆ 4 ชั่วโมง
  • การหยุดใช้ยานี้ควรทำโดยการค่อยๆ ลดความถี่ในการใช้ยา
  • หากสัญญาณและอาการไม่ดีขึ้นหลังจากผ่านไป 2 วัน ควรประเมินผู้ป่วยใหม่

การใช้งาน

  • เพื่อรักษาการอักเสบที่ตอบสนองต่อยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ที่บริเวณเยื่อตาส่วนหนังตาและเยื่อบุตาด้านนอกกระจกตาและส่วนหน้าของลูกตา

ข้อควรระวัง

  • ยังไม่มีการพิสูจน์ความปลอดภัยและประสิทธิภาพของยาแขวนตะกอนฟลูออโรเมโธโลน 0.1% หรือ 0.25% และยาขี้ผึ้ง ในผู้ป่วยที่อายุน้อยกว่า 2 ปี
  • ยังไม่มีการพิสูจน์ความปลอดภัยและประสิทธิภาพของยาฟลูออโรเมโธโลนอะซิเตต ในผู้ป่วยที่อายุน้อยกว่า 18 ปี

รูปแบบของยา

ความแรงและรูปแบบของยามีดังนี้

  • ยาขี้ผึ้งทาตา
  • ยาแขวนตะกอนสำหรับหยอดตา
  • ยาผงสำหรับผสม

กรณีฉุกเฉินหรือใช้ยาเกินขนาด

หากเกิดเหตุฉุกเฉินหรือใช้ยาเกินขนาด ควรแจ้งเหตุฉุกเฉิน หรือนำส่งห้องฉุกเฉินใกล้บ้านโดยทันที

กรณีลืมใช้ยา

หากคุณลืมใช้ยาควรรีบใช้ในทันทีที่นึกได้ หรือถ้าหากใกล้ถึงเวลาใช้ยาครั้งต่อไป ให้ข้ามรอบไปใช้ยาตามตารางปกติได้เลย ไม่ควรเพิ่มปริมาณยา

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Fluorometholone Ophthalmic Dosage. https://www.drugs.com/dosage/fluorometholone-ophthalmic.html. Accessed February 1, 2018.

Fluorometholone Suspension, Drops (Final Dose Form). https://www.webmd.com/drugs/2/drug-12354-185/fluorometholone-ophthalmic-eye/fluorometholone-suspension-ophthalmic/details. Accessed February 1, 2018.

Fluorometholone Suspension, Drops (Final Dose Form)
https://www.webmd.com/drugs/2/drug-12354-185/fluorometholone-ophthalmic-eye/fluorometholone-suspension-ophthalmic/details

Fluorometholone (Ophthalmic Route). https://www.mayoclinic.org/drugs-supplements/fluorometholone-ophthalmic-route/proper-use/drg-20060781?p=1. Accessed August 18, 2023.

Fluorometholone. https://pubchem.ncbi.nlm.nih.gov/compound/Fluorometholone. Accessed August 18, 2023.

Fluorometholone. https://www.sciencedirect.com/topics/medicine-and-dentistry/fluorometholone. Accessed August 18, 2023.

เวอร์ชันปัจจุบัน

01/10/2024

เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย เภสัชกรวิสสุตา ชั้นประเสริฐ

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

คอนแทคเลนส์ และสิ่งที่ไม่ควรทำ หากไม่อยากให้ดวงตามีปัญหา

แค่ "ขยี้ตา" ก็อาจกลายเป็นปัญหาสุขภาพได้นะ


ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

เภสัชกรวิสสุตา ชั้นประเสริฐ

ยาและอาหารเสริม · Hello Health Group


เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 3 วันก่อน

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา