3. เก็บยาไว้ในอุณหภูมิที่พอเหมาะ ยาแต่ละชนิดอาจมีการจัดเก็บที่แตกต่างกันไป แต่โดยส่วนใหญ่แล้วมักมีการแบ่งการจัดเก็บในอุณหภูมิที่เหมาะสม ดังนี้
· ยาหยอดตา อินซูลินสำหรับฉีดในผู้ป่วยเบาหวาน ควรเก็บไว้ตู้เย็น หรืออุณหภูมิที่ 2-8 องศาเซลเซียส
· ยาที่มีลักษณะผิวภายนอกเป็นเจล และแคปซูล ควรเก็บไว้ในอุณหภูมิที่ค่อนข้างแห้ง ไร้ความชื้น และความร้อนจากแสงแดด ประมาณ 8-15 องศาเซลเซียส
ที่สำคัญยาทุกประเภทควรเก็บไว้ให้พ้นจากเด็กเล็ก รวมไปถึงสัตว์เลี้ยง เพราะอาจก่อให้เกิดอันตรายได้เมื่อมีการเผลอหยิบจับเข้าปาก และหากคุณมีข้อสงสัยใด ๆ เกี่ยวกับวิธีการจัดเก็บยาสามัญประจำบ้าน โปรดสอบถามอย่างละเอียดอีกครั้งได้จากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญที่คุณทำการรับยา และเภสัชกรตามร้านขายยาใกล้บ้านคุณที่มีใบรับรองได้เพิ่มเติม
การกำจัดยา ที่ไม่ได้ใช้งาน เพื่อความปลอดภัย
เมื่อคุณทำการตรวจสอบแล้วว่ายาสามัญประจำบ้านของคุณที่ได้รับจากแพทย์หมดอายุการใช้งานอย่างสิ้นเชิง จนต้องทำให้คุณตัดสินใจทำการกำจัดเพื่อลดความเสี่ยงต่อความเข้าใจผิด และป้องกันมิให้บุคลอื่นในบ้านมารับประทานต่อ แต่การทิ้งที่ถูกวิธีที่สามารถช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดอันตรายต่อบุคคลภายนอกก็ย่อมสำคัญไม่แพ้กัน เพราะบางครั้งสารเคมีบางตัวอาจส่งผลเสียแก่ผู้ที่ได้รับการสัมผัสยาโดยตรงได้
ทางองค์การอาหารและยา ประเทศสหรัฐอเมริกา (Food and Drug Administration ; FDA) จึงได้ออกมาให้ข้อแนะนำแก่ทุกคนให้ทราบไว้ ดังนี้
1. ขูดฉลากบนขวนยาในกรณีที่มีชื่อคุณติดแปะอยู่
2. นำยาที่หมดอายุใส่ภาชนะ หรือถุงซิปล็อคที่ปิดแน่นสนิท ป้องกันการรั่วไหลของยา
3. จากนั้นนำทิ้งลงไปในถังขยะตามปกติ หรือทิ้งลงในถังขยะแยกที่ทำการระบุไว้ถึงประเภทของขยะ
เนื่องจากยาแต่ละประเภทอาจมีวิธีการกำจัดยาที่แตกต่างกันออกไป คุณอาจจำเป็นที่ต้องสอบถามรายละเอียดอีกครั้งจากแพทย์ในวันรับยา หรือวันที่คุณมีการซื้อยา โดยเฉพาะยาสำหรับผู้ป่วยที่ใช้เครื่องพ่นยาในการรักษาอาการหอบหืด และยาที่มีส่วนประกอบของโอปิออยด์ เช่น แผ่นแปะผิวหนังบรรเทาอาการปวดเรื้อรัง หรือยาเฟนทานิล (Fentanyl) เป็นต้น
ความคิดเห็นทั้งหมด
แบ่งปันความคิดเห็นของคุณ
ร่วมแสดงความคิดเห็นของคุณกับ Hello คุณหมอ
สมัครสมาชิก หรือ เข้าสู่ระบบ เพื่อร่วมการพูดคุย