backup og meta

ยูริสแตต® (Uristat®)

ยูริสแตต® (Uristat®)

ข้อบ่งใช้ ยูริสแตต®

ยูริสแตต® (Uristat®) ใช้สำหรับ

ยูริสแตต® (Uristat®) (ยาฟีนาโซไพริดีน) มีส่วนประกอบของตัวยา ฟีนาโซไพริดีน (Phenazopyridine) เป็นยาบรรเทาอาการปวดที่ส่งผลต่อทางเดินปัสสาวะช่วงล่าง (กระเพาะปัสสาวะและท่อปัสสาวะ) ใช้เพื่อรักษาอาการที่เกี่ยวข้องกับการปัสสาวะ เช่น อาการปวดหรืออาการแสบร้อน ปัสสาวะที่เพิ่มขึ้น การกระตุ้นให้ปัสสาวะเพิ่มขึ้น อาการเหล่านี้อาจเกิดได้จากการติดเชื้อ การบาดเจ็บ การผ่าตัด การสวนด้วยสายยาง หรือสภาวะอื่น ๆ ที่ทำให้เกิดการระคายเคืองในกระเพาะปัสสาวะ

ยูริสแตต® ใช้รักษาอาการที่เกี่ยวข้องกับการปัสสาวะ แต่ไม่ได้รักษาการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ ควรใช้ยาปฏิชีวนะที่แพทย์สั่งเพื่อรักษาการติดเชื้อ นอกจากนี้ ยังอาจใช้เพื่อจุดประสงค์อื่นนอกเหนือจากในคู่มือการใช้ยา ควรปรึกษากับแพทย์และเภสัชกรสำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

วิธีใช้ยูริสแตต® (ฟีนาโซไพริดีน)

  • ควรใช้ยาตามที่กำหนดบนฉลากยาหรือตามที่แพทย์กำหนดอย่างเคร่งครัด อย่าใช้ยาในขนาดที่มากกว่า น้อยกว่า หรือนานกว่าที่แนะนำ
  • ใช้ยานี้หลังมื้ออาหาร
  • ควรดื่มน้ำให้มากขณะที่กำลังใช้ยานี้
  • ยายูริสแตตนมักทำให้ปัสสาวะเปลี่ยนเป็นสีส้มหรือสีแดง อาการนี้ไม่มีอันตรายใด ๆ ปัสสาวะที่สีเข้มขึ้นนั้นอาจจะทำให้เกิดรอยเปื้อนถาวรที่กางเกงในได้
  • ยานี้สามารถทำให้เกิดรอยเปื้อนถาวรในคอนแทคเลนส์ คุณจึงไม่ควรสวมคอนแทคเลนส์ขณะที่กำลังใช้ยานี้
  • อย่าใช้ยานี้นานกว่า 2 วัน เว้นแต่แพทย์จะสั่งให้ทำเช่นนั้น
  • ยานี้สามารถทำให้ผลการตรวจปัสสาวะผิดปกติได้ โปรดแจ้งให้แพทย์ทราบหากคุณกำลังใช้ยานี้อยู่

การเก็บรักษายายูริสแตต® (ฟีนาโซไพริดีน)

ควรเก็บยายูริสแตต® ที่อุณหภูมิห้อง ให้พ้นแสงและความชื้น เพื่อป้องกันไม่ให้ตัวยาเสื่อมสภาพ ไม่ควรเก็บยานี้ในห้องน้ำหรือช่องแช่แข็ง หากมีข้อสงสัยควรอ่านคำแนะนำบนบรรจุภัณฑ์หรือสอบถามเภสัชกรเสมอ และโปรดเก็บยาให้พ้นจากมือเด็กและสัตว์เลี้ยงเพื่อความปลอดภัย

ไม่ควรทิ้งยายูริสแตต® ลงในชักโครก หรือเทยาลงในท่อระบายน้ำ เว้นเสียแต่จะได้รับคำแนะนำให้ทำเช่นนั้น หากยาหมดอายุ หรือไม่มีความจำเป็นต้องใช้ยา ควรกำจัดยาด้วยวิธีที่ถูกต้อง โดยสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้จากเภสัชกร

ข้อควรระวังและคำเตือน

ข้อควรรู้ก่อนใช้ยูริสแตต® (ฟีนาโซไพริดีน)

ก่อนใช้ยานี้ แจ้งให้แพทย์ทราบหาก

  • กำลังตั้งครรภ์ หรือให้นมบุตร เนื่องจากในช่วงที่ตั้งครรภ์ หรือกำลังให้นมบุตร ควรใช้ยาตามที่แพทย์แนะนำเท่านั้น
  • กำลังใช้ยาอื่นอยู่ ไม่ว่าจะเป็นยาตามใบสั่งแพทย์ ยาที่ซื้อได้เอง สมุนไพร เป็นต้น
  • แพ้สารออกฤทธิ์หรือไม่ออกฤทธิ์ของยูริสแตต® หรือยาอื่น ๆ
  • มีอาการป่วย มีความผิดปกติ หรือมีสภาวะทางการแพทย์อื่น ๆ โดยเฉพาะโรคไต

ความปลอดภัยต่อการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร

ยังไม่มีงานวิจัยที่น่าเชื่อถือ เกี่ยวกับความเสี่ยงในสตรีที่ใช้ยานี้ ในช่วงการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร โปรดปรึกษาแพทย์เพื่อหาประโยชน์และความเสี่ยงก่อนการใช้ยานี้

ยายูริสแตต® จัดอยู่ในประเภทของยาที่มีความเสี่ยงต่อสตรีมีครรภ์ ประเภท B โดยองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา (FDA)

การจัดประเภทของยาที่มีความเสี่ยงต่อสตรีมีครรภ์โดยองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกามีดังนี้

  • A = ไม่มีความเสี่ยง
  • B = ไม่พบความเสี่ยงในการวิจัยบางชิ้น
  • C = อาจจะมีความเสี่ยง
  • D = มีหลักฐานแสดงถึงความเสี่ยง
  • X = ห้ามใช้
  • N = ไม่ทราบแน่ชัด

ผลข้างเคียง

ผลข้างเคียงของการใช้ยูริสแตต® (ฟีนาโซไพริดีน)

รับการรักษาพยาบาลฉุกเฉินทันทีหากคุณมีสัญญาณของอาการแพ้ ได้แก่ ลมพิษ หายใจติดขัด บวมที่ใบหน้า ริมฝีปาก ลิ้น หรือลำคอ

หยุดใช้ยานี้และติดต่อแพทย์ทันทีหากคุณมีอาการดังต่อไปนี้

  • ปัสสาวะน้อยหรือไม่ปัสสาวะเลย
  • ตัวบวม น้ำหนักขึ้นอย่างรวดเร็ว
  • สับสน เบื่ออาหาร มีอาการปวดที่ด้านข้างหรือหลังส่วนล่าง
  • เป็นไข้ ผิวซีด หรือผิวเหลือง ปวดท้อง คลื่นไส้ และอาเจียน
  • ผิวเป็นสีน้ำเงินหรือสีม่วง

ผลข้างเคียงที่พบได้ทั่วไปมีดังนี้

  • ปวดศีรษะ
  • วิงเวียน
  • ท้องไส้ปั่นป่วน

ผลข้างเคียงที่กล่าวมาข้างต้น อาจไม่ได้เกิดกับทุกคน หรือบางคนอาจมีอาการอื่นนอกเหนือจากนี้ หากคุณมีข้อสงสัยใดๆ เกี่ยวกับผลข้างเคียง โปรดปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกร

ปฏิกิริยาของยา

ปฏิกิริยากับยาอื่น

ยานี้อาจเกิดปฏิกิริยากับยาอื่นที่คุณกำลังใช้อยู่ ซึ่งอาจส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดผลข้างเคียง เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น คุณควรแจ้งแพทย์หรือเภสัชกรด้วยว่า คุณกำลังใช้ยาอะไรอยู่บ้าง ไม่ว่าจะเป็นยาตามใบสั่งแพทย์ ยาที่ซื้อได้เอง สมุนไพร เป็นต้น และเพื่อความปลอดภัย คุณไม่ควรเริ่ม หยุด หรือเปลี่ยนขนาดยาเองโดยไม่ได้รับความเห็นชอบจากแพทย์

ปฏิกิริยากับอาหารหรือแอลกอฮอล์

ยูริสแตต® อาจมีปฏิกิริยากับอาหาร หรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดผลข้างเคียง โปรดปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกรก่อนเสมอ

ปฏิกิริยากับอาการโรคอื่น

ยูริสแตต® อาจส่งผลให้อาการโรคของคุณแย่ลง หรือส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา โปรดแจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบถึงสภาวะโรคของคุณก่อนใช้ยาเสมอ

โรคที่อาจจะมีปฏิกิริยากับยานี้ ได้แก่

  • โรคตับ
  • โรคเบาหวาน
  • ภาวะขาดเอนไซม์ทางพันธุกรรมที่เรียกว่า ภาวะพร่องเอนไซม์จี 6 พีดี (glucose-6-phosphate dehydrogenase deficiency)

ขนาดยา

ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกรทุกครั้ง เพื่อรับทราบข้อมูลเพิ่มเติม

ขนาดยูริสแตต® (ฟีนาโซไพริดีน) สำหรับผู้ใหญ่

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาภาวะปัสสาวะขัด (Dysuria)

  • 190-200 มก. รับประทานวันละ 3 ครั้งหลังอาหาร อย่าใช้ยามากกว่า 2 วัน เมื่อใช้ยาต้านการติดเชื้อแบคทีเรียในปัสสาวะ

ขนาดยูริสแตต® (ฟีนาโซไพริดีน) สำหรับเด็ก

ขนาดยาสำหรับเด็กเพื่อรักษาปัสสาวะขัด

อายุมากกว่าหรือเท่ากับ 6 ปี-18 ปี

  • 12 มก./กก./วัน แบ่งรับประทาน 3 ครั้ง เป็นเวลา 2 วัน ขนาดยาสูงสุดคือ 600 มก./วัน

รูปแบบของยา

ความแรงและรูปแบบของยามีดังนี้

  • ยาเม็ด
  • ยาผง

กรณีฉุกเฉินหรือใช้ยาเกินขนาด

หากเกิดเหตุฉุกเฉินหรือใช้ยาเกินขนาด ควรแจ้งเหตุฉุกเฉินหรือนำส่งห้องฉุกเฉินใกล้บ้านโดยทันที

กรณีลืมใช้ยา

หากคุณลืมใช้ยาควรรีบใช้ในทันทีที่นึกได้ หรือถ้าหากใกล้ถึงเวลาใช้ยาครั้งต่อไป ให้ข้ามรอบไปใช้ยาตามตารางปกติได้เลย ไม่ควรเพิ่มปริมาณยา

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรคหรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Uristat®. https://www.drugs.com/mtm/uristat.html. Accessed November 16, 2017

Uristat®. https://www.webmd.com/drugs/2/drug-56980/uristat-oral/details. Accessed November 16, 2017

Phenazopyridine. https://www.drugs.com/mtm/phenazopyridine.html. Accessed November 16, 2017

URISTAT. https://www.hendricks.org/HealthLibrary/default.aspx?sid=1&pTitle=%2CDrug&ContentTypeID=26&ContentID=1508&alpha=U&AdditionalTitle=Uristat. Accessed November 16, 2017

เวอร์ชันปัจจุบัน

11/06/2020

เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย เภสัชกรอาชานนท์ สมศักดิ์

อัปเดตโดย: Pattarapong Khuaphu


บทความที่เกี่ยวข้อง

ไม่อยากติดเชื้อ ระบบทางเดินปัสสาวะ สาวๆ ต้องระวังเรื่องพวกนี้

โรคติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ คุณอยู่ในกลุ่มเสี่ยงของโรคนี้หรือไม่?


ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

เภสัชกรอาชานนท์ สมศักดิ์

ยาและอาหารเสริม · Hello Health Group


เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 11/06/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา