backup og meta

ลิโดเคน (Lidocaine)

ข้อบ่งใช้

ลิโดเคน ใช้สำหรับ

ลิโดเคน (Lidocaine) เป็นยาที่ใช้กับดวงตา เพื่อทำให้เกิดอาการชาหรือไร้ความรู้สึก ก่อนการทำหัตถการใดๆ ยานี้เป็นยาระงับความรู้สึกเฉพาะที่ (ยาชา)

วิธีใช้ยา ลิโดเคน

ยาเนื้อเจลหรือยาหยอดตา

  • พยาบาลหรือบุคลาการทางการแพทย์ที่ผ่านการฝึกอบรมจะเป็นผู้ใช้ยานี้กับคุณ ก่อนการทำหัตถการใดๆ โดยการหยอดยาลงไปที่ดวงตาของคุณ

การเก็บรักษายาลิโดเคน

ยาลิโดเคนควรเก็บที่อุณหภูมิห้อง หลีกเลี่ยงแสงหรือความชื้น เพื่อป้องกันไม่ให้ตัวยาเกิดความเสียหาย ไม่ควรเก็บยานี้ในห้องน้ำหรือช่องแช่แข็ง ยาลิโดเคนบางยี่ห้ออาจจะต้องเก็บรักษาแตกต่างกัน จึงควรตรวจสอบฉลากยาหรือสอบถามเภสัชกรเสมอ เพื่อความปลอดภัยโปรดเก็บยาให้ห่างจากมือเด็กและสัตว์เลี้ยง

ไม่ควรทิ้งยาลิโดเคนลงในชักโครก หรือเทลงในท่อระบายน้ำ เว้นแต่ได้รับคำแนะนำให้ทำเช่นนั้น ควรกำจัดยาด้วยวิธีที่ถูกต้อง โปรดสอบถามเภสัชกรเพิ่มเติม เกี่ยวกับวิธีการกำจัดยาที่ถูกต้อง

ข้อควรระวังและคำเตือน

ข้อควรรู้ก่อนใช้ยาลิโดเคน

ก่อนใช้ยาลิโดเคน ให้แจ้งแพทย์หากคุณมีอาการดังต่อไปนี้

  • ปฏิกิริยาการแพ้ยาลิโดเคน หรือส่วนผสมอื่นในตัวยา โปรดดูรายละเอียดในเอกสารกำกับยา
  • การแพ้ยา อาหาร สีผสมอาหาร วัตถุกันเสียในอาหาร หรือสัตว์
  • หากใช้ยานี้กับเด็ก
  • หากใช้ยานี้กับผู้สูงอายุ
  • หากคุณเป็นโรคอื่น หรือใช้ยาที่อาจจะมีปฏิกิริยากับยาลิโดเคน

ความปลอดภัยต่อการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร

ไม่มีข้อมูลที่เพียงพอเกี่ยวกับความปลอดภัยในการใช้ยาลิโดเคนในระหว่างการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร โปรดปรึกษาแพทย์เสมอเพื่อพิจารณาประโยชน์และความเสี่ยงก่อนการใช้ยาลิโดเคน

ผลข้างเคียง

ผลข้างเคียงจากยาลิโดเคน

ในระหว่างการใช้ยาประเภทอื่นๆ ร่วมด้วย การใช้ยาลิโดเคนสามารถก่อให้เกิดอาการข้างเคียงบางประการได้ อาการข้างเคียงส่วนใหญ่เกิดขึ้นได้น้อย และไม่จำเป็นต้องรักษาเพิ่มเติม อย่างไรก็ตาม คุณควรจะปรึกษาแพทย์เสมอ หากมีอาการผิดปกติหลังจากใช้ยานี้ อาการข้างเคียงบางประการได้แก่

  • การมองเห็นพร่ามัวหรือมีความเปลี่ยนแปลงอื่นๆ เกี่ยวกับการมองเห็น
  •  ความรู้สึกแสบร้อนในบริเวณที่ใช้ยา
  • ตาขาวหรือภายในหนังตาเป็นสีแดง
  • ปวดศีรษะ

ไม่ใช่ทุกคนจะเจอกับผลข้างเคียงเหล่านี้อาจจะมีอาการอย่างอื่นนอกเหนือจากที่กล่าวมาข้างต้น ถ้าคุณมีข้อสงสัยใดๆ เกี่ยวกับผลข้างเคียง โปรดปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกร

ปฏิกิริยาของยา

ปฏิกิริยากับยาอื่น

ยาลิโดเคนอาจเกิดปฏิกิริยากับยาชนิดอื่นที่คุณใช้อยู่ ซึ่งสามารถเปลี่ยนแปลงการออกฤทธิ์ของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงสำหรับอาการข้างเคียงที่รุนแรงขึ้น เพื่อหลีกเลี่ยงปฏิกิริยาของยาที่อาจเกิดขึ้น คุณควรแจ้งรายการยาที่ใช้อยู่ทั้งหมด (ยาที่สั่งโดยแพทย์ ยาที่ไม่ได้สั่งโดยแพทย์ และยาสมุนไพร) และแจ้งแก่แพทย์หรือเภสัชกร เพื่อความปลอดภัยของคุณ ห้ามเริ่ม หยุด หรือเปลี่ยนขนาดยา โดยไม่ได้รับความเห็นชอบจากแพทย์

ปฏิกิริยากับอาหารหรือแอลกอฮอล์

ยาลิโดเคนอาจทำปฏิกิริยากับอาหารหรือแอลกอฮอล์ได้ โดยการเปลี่ยนแปลงการออกฤทธิ์ยา หรือเพิ่มความเสี่ยงสำหรับอาการข้างเคียงที่รุนแรงขึ้น โปรดปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรเกี่ยวกับปฏิกิริยาที่อาจเกิดขึ้นของยากับอาหารหรือแอลกอฮอล์ ก่อนการใช้ยา

ปฏิกิริยากับอาการโรคอื่นๆ

ยาลิโดเคนอาจทำปฏิกิริยากับสภาวะทางสุขภาพของคุณ ปฏิกิริยาดังกล่าวอาจทำให้สภาวะทางสุขภาพเสื่อมลง หรือเปลี่ยนแปลงการออกฤทธิ์ของยา เป็นสิ่งสำคัญที่ต้องแจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบเสมอ เกี่ยวกับสภาวะทางสุขภาพทั้งหมดของคุณในปัจจุบัน ตัวอย่างเช่น

  • สัญญาณไฟฟ้าหัวใจถูกขัดขวาง (Heart block)
  • อาการช็อคขั้นรุนแรง
  • การติดเชื้อในบริเวณที่ใช้ยาหรือบริเวณโดยรอบ
  • แผลขนาดใหญ่ ผิวหนังแตก หรือบาดแผลรุนแรงที่ผิวหนังในบริเวณที่ใช้ยา
  • โรคตับขั้นรุนแรง

ขนาดยา

ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกรทุกครั้งเพื่อรับทราบข้อมูลเพิ่มเติม

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่

โปรดปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเกี่ยวกับขนาดของยาลิโดเคน

ขนาดยาที่แนะนำสำหรับผู้ป่วยบางราย

  • ขี้ผึ้ง ใช้รักษาอาการปวดและอาการคัน ที่เกิดจากปัญหาผิวที่ไม่รุนแรง ให้ทายาในบริเวณที่มีอาการ เป็นเวลาสามหรือสี่ครั้งต่อวัน ปริมาณสูงสุดสำหรับการใช้หนึ่งครั้ง คือ 5 กรัม
  • แผ่นแปะผิวหนังเฉพาะที่ เพื่อใช้รักษาอาการปวดที่เกิดจากโรคงูสวัด ให้ใช้ 1 ถึง 3 แผ่น แปะบริเวณที่ปวด เป็นเวลาถึง 12 ชั่วโมงต่อวัน
  • ยาน้ำเฉพาะที่ สำหรับปากหรือคอที่ระคายเคืองหรือเป็นแผล ขนาดใช้ยาขึ้นอยู่กับน้ำหนักร่างกาย และตามที่แพทย์กำหนด โดยปกติจะใช้ยา 15 มิลลิลิตร เป็นเวลาทุก 3 ชั่วโมง แพทย์อาจปรับขนาดยาตามความจำเป็น ห้ามใช้ยาเกิน 8 ครั้ง ในเวลา 24 ชั่วโมง

ขนาดยาสำหรับเด็ก

โปรดปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเกี่ยวกับขนาดของยาลิโดเคน

ขนาดใช้ยาที่แนะนำสำหรับผู้ป่วยบางราย 

  • ขี้ผึ้ง ขนาดยาขึ้นอยู่กับน้ำหนักร่างกายและตามที่แพทย์กำหนด
  • แผ่นแปะผิวหนังเฉพาะที่ เพื่อใช้รักษาอาการปวดที่เกิดจากโรคงูสวัด ขนาดยาขึ้นอยู่กับน้ำหนักร่างกายและตามที่แพทย์กำหนด
  • ยาน้ำใช้เฉพาะที่ สำหรับปากหรือคอที่ระคายเคืองหรือเป็นแผล ขนาดใช้ยาขึ้นอยู่กับน้ำหนักร่างกายและแพทย์ต้องเป็นผู้กำหนด โดยปกติจะใช้ยา 15 มิลลิลิตร เป็นเวลาทุก 3 ชั่วโมง แพทย์อาจปรับขนาดใช้ยาตามที่จำเป็น ห้ามใช้ยาเกิน 8 ครั้ง ในเวลา 24 ชั่วโมง

สำหรับเด็กอายุ 3 ปี หรือมากกว่า ขนาดยาขึ้นอยู่กับน้ำหนักร่างกายและตามที่แพทย์กำหนด

สำหรับเด็กอายุต่ำกว่า 3 ปี ขนาดใช้ยาขึ้นอยู่กับน้ำหนักร่างกายและตามที่แพทย์กำหนด ขนาดยาไม่ควรเกินกว่า 1.2 มิลลิลิตร ทายาด้วยก้านสำลีในบริเวณที่มีอาการ ให้เว้นระยะเวลา 3 ชั่วโมงระหว่างการใช้ยาแต่ละรอบ และห้ามใช้ยาเกิน 4 รอบ ภายในเวลา 12 ชั่วโมง

รูปแบบยา

ยาลิโดเคน มีรูปแบบการใช้และปริมาณตัวยา ดังต่อไปนี้ เนื้อเจล 3.5 %.

กรณีฉุกเฉินหรือใช้ยาเกินขนาด

หากเกิดเหตุฉุกเฉินหรือใช้ยาเกินขนาด ควรแจ้งเหตุฉุกเฉินหรือนำส่งห้องฉุกเฉินใกล้บ้านโดยทันที

กรณีลืมใช้ยา

หากคุณลืมใช้ยาควรรีบใช้ในทันทีที่นึกได้ หรือถ้าหากใกล้ถึงเวลาใช้ยาครั้งต่อไป ให้ข้ามรอบไปใช้ยาตามตารางปกติได้เลย ไม่ควรเพิ่มปริมาณยา

Hello Health Group มิได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค และการรักษาโรคแต่อย่างใด

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Lidocaine. http://www.webmd.com/drugs/2/drug-76896/lidocaine-hc-topical/details.   Accessed September 25, 2016.

Lidocaine. http://www.mayoclinic.org/drugs-supplements/lidocaine-topical-application-route/before-using/drg-20072776. Accessed September 25, 2016.

Lidocaine. https://www.drugs.com/pro/lidocaine.html. Accessed September 25, 2016.

เวอร์ชันปัจจุบัน

11/05/2020

เขียนโดย ธีรวิทย์ บุญราศรี

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย เภสัชกรอาชานนท์ สมศักดิ์

อัปเดตโดย: Nattrakamol Chotevichean


บทความที่เกี่ยวข้อง

ตาพร่ามัว เกิดจากสาเหตุใดได้บ้าง และเมื่อไหร่ที่ต้องกังวล

วัคซีนป้องกันงูสวัด เหมาะสำหรับใคร ฉีดแล้วเกิดผลข้างเคียงอะไรบ้าง


ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

เภสัชกรอาชานนท์ สมศักดิ์

ยาและอาหารเสริม · Hello Health Group


เขียนโดย ธีรวิทย์ บุญราศรี · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา